Uncategorized

130 ปี มหาจุฬาฯ

130b130 130a

พระพรหมบัณฑิต ศ.ดร. อธิการบดี มจร ปาฐกถา มีใจความว่า การจัดงานวันมหาวิทยาลัยครบรอบ ๑๓๐ ปี ของมหาจุฬาฯ สภามหาวิทยาลัยได้อนุมัติเป็นปีแรก ในการจัดงานเป็นมหกรรมนิทรรศการ มีการจัดการความรู้เป็นเชิงเอกสารและเชิงการบรรยายให้คนรุ่นหลังรับทราบว่ามหาวิทยาลัยเป็นมาอย่างไร มาถึงวันนี้ได้อย่างไร ? จึงถือโอกาสนี้แบ่งปันจากบูรพาจารย์  มีมหาจุฬาฯวันนี้เพราะใคร ? เราเหลียวลังไปดูอดีตไปหาบทเรียนเพื่อจะแลหน้ากำหนดวิสัยทัศน์ต่อไป การจะเดินทางต่อไปต้องมองข้างหลัง สุภาษิต ว่า “อย่าหลงของเก่า อย่าเมาของใหม่” การจะเริ่มสิ่งใหม่เรียกว่าประดิษฐกรรม ผลิตขึ้นมาใหม่ แต่มหาจุฬาเป็นนวัตกรรม เพราะพัฒนามาจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว นำเอาของเดิมมาบูรณาการในการแก้ปัญหา จงมองว่าอะไรเป็นนวัตกรรม ที่สังคมนำไปใช้และส่งต่อไป  มหาจุฬาฯมีนวัตกรรมอะไรบ้าง ต้องสานต่อนวัตกรรมของบุรพาจารย์ มหาจุฬาฯสอดรับการพัฒนาประเทศอย่างไร ? ในยุค ๔.๐ การพัฒนาทุกอย่างต้องมีนวัตกรรม อะไรคือ กับดักของการพัฒนา มหาจุฬาฯแบ่งออกเป็น ๔ ยุค คือ ยุค๑.๐ คือ ยุคมหาธาตุวิทยาลัย  ยุค๒.๐ คือ ยุคมหาวิทยาลัยสงฆ์ ยุค๓.๐ คือ ยุคมหาวิทยาลัยของรัฐ ยุค๔.๐ คือ ยุคมหาวิทยาลัยนานาชาติ แต่ละยุคมีประวัติความเป็นมา  อดีตมหาจุฬาเรียนเฉพาะบาลีและพระไตรปิฎก จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ พระองค์ทรงให้เรียนศาสตร์สมัยใหม่  สำหรับการเรียนของบรรพชิตและคฤหัสถ์ ยังเกิดนวัตกรรมสมัยใหม่ในรัชกาลที่ ๕ คือ การพิมพ์พระไตรปิฎกออกครั้งแรก ปัจจุบันพระไตรปิฏกฉบับนี้อยู่ที่ญี่ปุ่นเก็บไว้ในห้องแอร์อย่างดี รัชกาลที่ ๕ จึงถือว่าเป็นผู้สร้างนวัตกรรมด้านการศึกษามหาจุฬาฯ รวมถึงสนับสนุนให้พระสงฆ์เรียนศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อเท่าทันเหตุการณ์สังคมปัจจุบัน มหาจุฬาฯจึงเป็นมหาวิทยาลัยที่ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง งานเขียนของบุรพาจารย์จึงเป็นการจัดการความรู้ ทำให้ทราบความเป็นมาในอดีตส่งผลถึงปัจจุบัน รัชกาลที่ ๕ ทรงมีปณิธานการจัดการศึกษาชั้นสูงให้คณะพระสงฆ์ โดยมีพระสงฆ์ ๕๗ รูปร่วมรับทราบ โดยใช้บทสวดชยันโตเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาทุกระดับ เริ่มจาก พ.ศ.๒๔๙๐ ท่านอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ  เป็นรุ่นแรก จึงถือว่าคณะพุทธศาสตร์เป็นคณะแรกของมหาจุฬาฯ พระพิมลธรรมส่งท่านโชดกไปเรียนกรรมฐานที่เมียนมาร์ ถือว่าเป็นนวัตกรรม จึงมีการเรียนวิปัสสนากรรมฐานมาจนถึงปัจจุบัน มหาจุฬาฯตั้งแต่เริ่มสร้างมาจากคำว่า ” นัตถิปัจจัย ” ได้เงินจากภาครัฐครั้งแรก ๖๐,๐๐๐ บาทเริ่มจากการเรียน ๒๐๐ หน่วยกิต ต่อมาการศึกษามหาจุฬาฯเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์ คณะสงฆ์รับรอง ปี ๒๕๔๐ มี พรบ.มหาจุฬาฯ โดยภาครัฐรับรอง พรบ.จึงทำให้มีงบประมาณในการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย ทำให้มหาจุฬาฯพัฒนาก้าวกระโดดอย่างมาก จึงมีการสร้างมหาจุฬาฯที่วังน้อย ในปี ๒๕๔๒ โดยคุณหญิงสมปองเป็นผู้ถวายที่ดินจำนวน ๘๔ ไร่ ต่อมาคณะสงฆ์เข้ามาช่วยด้านงบประมาณ เพราะเป็นมหาวิทยาลัยของคณะสงฆ์ โดยสมเด็จวัดปากน้ำให้กำลังใจและร่วมสร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์ หลวงพ่อปัญญานันนทะก็มาช่วยสร้าง สนับสนุนงบประมาณ ปัจจุบันมีพื้นที่ จำนวน ๓๒๓ ไร่ หลวงพ่อปัญญานันทะจึงมีคุณประโยชน์ต่อมหาจุฬาฯอย่างมาก รวมถึงการสร้างโบสถ์กลางน้ำ พระมหาเถระหลายรูปได้ร่วมสร้างมหาวิทยาลัย มหาจุฬาฯจึงเป็นมหาวิทยาลัยของคณะสงฆ์ไทย  มหาจุฬาฯได้รวบรวมงานวิชาการเรื่อง ” จากนาลันทาสู่มหาจุฬา ” โดยรองอธิการฝ่ายวิชาการ  ปัจจุบันมีการพัฒนาถึงนานาชาติ มีการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสากล รวมกันระหว่างมหายาน วัชรยาน และเถรวาท มหาจุฬาฯต้องการให้คนทั่วโลกมารวมกันเพื่อทำงานวิจัย มาศึกษาพระพุทธศาสนา สาเหตุที่จัดงานนานาชาติ เช่น วิสาขบูชาโลกนั้น เพราะมหาจุฬาฯเป็นมหาวิทยาลัยน้องใหม่ยากจะเท่าเทียมกับมหาวิทยาลัยอื่น เราจึงต้องจัดงานนานาชาติระดับโลกเพื่อให้นานาชาติยอมรับเราก่อน แล้วในประเทศจะยอมรับเอง มหาจุฬาฯจึงต้องทำงานกับคนทั่วโลก  ต้องสานต่อปณิธานรัชกาลที่ ๕ ด้วยการศึกษาพระไตรปิฎกและศาสตร์สมัยใหม่…

เมื่อวันพุธ ที่ 13 กันยายน 2560 ณ หอประชุมตึก มวก. 48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Close