กิจกรรมข่าวประชาสัมพันธ์

พุทธศาสตรบัณฑิตกับประเทศไทย ๔.๐

stu3

ob2

 

พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร ปาฐกถาพิเศษเรื่องพุทธศาสตรบัณฑิตกับประเทศไทย ๔.๐ มีใจความว่า เป็นวันแห่งความสำเร็จของบัณฑิตทุกท่าน มหาวิทยาลัยจึงจัดงานเพื่อเฉลิมเป็นการปลุกเสกให้ทุกท่าน เพราะเวลาเราสร้างพระพุทธรูป เราจะมีพิธีพุทธภิเษก เหตุใดจึงต้องทำพิธี ซึ่งการก่อสร้างพระพุทธรูปช่างสามารถปรับตกแต่งได้ตลอด แต่พอเข้าสู่พิธีการพุทธาภิเษกปลุกเสกแล้ว ช่างจะไม่ปรับแก้ได้ เพราะเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า ครูอาจารย์เปรียบเสมือนช่างในการปรับแต่งบัณฑิตทุกระดับ กล่าวตักเตือน ชี้แนะ จนสำเร็จการศึกษา วันรับปริญญาเป็นวันที่หมดเขตการว่ากล่าวตักเตือน แต่ยังมีเยื้อใยความสัมพันธ์ครูศิษย์อยู่ แต่เงื่อนไขสัญญาก็หมดลงในการว่ากล่าวตักเตือน ทุกท่านเปรียบเสมือนนกที่โบยบินไปจากรังเพื่อไปสร้างอนาคตของตนเอง อนาคตคือ สิ่งที่เราต้องสร้าง เดินไปสู่อนาคตกับสร้างอนาคต มีความแตกต่างกัน คำว่า เดินไปสู่อนาคตยังไม่แน่นอน แต่ถ้าสร้างอนาคต ทุกอย่างอยู่ในกำมือของเรา เหมือนประเทศไทยกำลังเดินไปสู่อนาคตด้วยไทยแลนด์ ๔.๐ เป็นภาพอนาคตที่อยากไปหรืออยากสร้าง ถ้าเป็นภาพที่อยากไปก็แล้วแต่พาหนะจะพาเราไป เหมือนเรือจะพาเราไป แล้วแต่กระแสน้ำ เรือที่คนไทยทั้งประเทศนั่งอยู่ เรามีส่วนช่วยกันพายหรือไม่ นี่คือประเด็นสำคัญ เราต้องมีส่วนช่วยกันพายหรือสร้าง พระพุทธเจ้าไม่ได้ให้นั่งนอนรอ

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ประโยชน์เป็นฤกษ์งามยามดีอยู่ในตัว ดวงดาวทั้งหลายจะทำอะไรได้ ประโยชน์ล่วงเลยคนโง่เท่านั้นมัวแต่มองฤกษ์ยามอยู่ ถ้าเรามัวแต่นอนรอให้ ๔.๐ เกิดขึ้น คงไม่เกิด เพราะ ๔.๐ คือภาพอนาคตไม่ใช่ภาพปัจจุบัน เป็นความฝันจะไปให้ถึง ต้องสร้างมิใช่เกิดขึ้นเอง ปัจจุบันเป็นห่วงคนไทย เพราะมัวแต่ฝันอยู่ เกิดจาก World Bank คือ ธนาคารโลก ปี ๒๕๕๔ ยกระดับประเทศไทยให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง ( Upper-middle-income group ) ในกลุ่มเศรษฐกิจโลกซึ่งตอนนี้ไทยเราในกลุ่มเดียวกันกับ จีน รัสเชีย มาเลเชีย ซึ่งกลุ่มที่มีรายได้สูง คือ สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทยเราต้องการไปถึงระดับกลุ่มที่มีรายได้สูง เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาประเทศไปถึงไทยแลนด์ ๔.๐ ซึ่งไทยมีโมเดล ๓ ระดับ คือ ๑.๐ คือ ทำเกษตรกรรม ๒.๐ คือ พึ่งพาเกษตรกับอุตสาหกรรม ๓.๐ คือ อุตสาหกรรม เป็นการผลิตสิ่งของต่างๆ ทำให้ไทยมีรายได้ปานกลางระดับสูง แต่ปัจจุบันไทยเรายังมืดมนเหมือนรถวิ่งไปเจอสะพานขาด ต้องหยุดกะทันหัน ไทยไม่สามารถไปกลุ่มที่ ๑ จึงคิดการขับเคลื่อนประเทศไทย ๔.๐ ปัจจุบันเรา ๓.๐ ทำงานหนักมากแต่ได้เงินน้อย แต่ ๔.๐ ทำงานน้อยแต่ได้เงินมาก เราอยู่ในภาคอุตสาหกรรมแต่คนเป็นเจ้าของ คือ คนต่างชาติ มีชื่อยี่ห้อต่างชาติทั้งหมด พวกเราได้แต่ค่าแรง หนักและเหนื่อยแล้วยังได้เงินน้อย สมัยก่อนคนจะเป็นมหาเศรษฐีต้องเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมหนัก แต่ปัจจุบันคนเป็นมหาเศรษฐีของโลก ทำงานเบา คือ ” บิลเกต ” เพราะเป็นคนคิดใหม่ ทำใหม่ คิดนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นเจ้าของกิจการของตนเอง ประกอบการเอง เราเรียนจบจากมหาวิทยาลัยต้องคิดนวัตกรรมไม่ต้องไปเป็นลูกจ้างใคร เราไม่ต้องเป็นนักประดิษฐกรรม (Invention) เป็นการผลิตสิ่งใหม่ แต่นิสิตมหาจุฬาฯต้องฝึกตนเองเป็นนักนวัตกรรม (Innovation) คือ การปรับปรุงสิ่งใหม่สิ่งที่มีแล้ว เพราะ โทรศัพท์ กล้อง คอมพิวเตอร์ อินเทอเน็ต เครื่องบันทึกเสียง เหล่านี้มีอยู่แล้ว แต่สติ๊ปจ๊อปนำมาสร้างนวัตกรรมเป็น Ipad Iphone ขายรวยมหาศาล ทำสิ่งที่มีอยู่แล้วดีกว่า นวัตกรรม คือ หาสิ่งที่ทำอยู่แล้วมาปรับปรุงให้ดีขึ้น หรือ ตำราที่เขาแต่งไว้แล้วมาทำให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
มหาจุฬาฯ มีนวัตกรรมด้านตำรา คือ พระไตรปิฎกฉบับสากล ไม่เคยมีมาก่อนในโลก ใช้เวลา ๗ ปี ในการรวบรวมเรียบเรียง โดยมีพระพรหมบัณฑิตเป็นประธานในการเขียน นวัตกรรมของมหาจุฬาฯ คือ พระไตรปิฏกฉบับสากล เราจึงมีนวัตกรรม ๔ ประเภท คือ ” ด้านการผลิต ด้านการบริการ ด้านกระบวนการ และด้านการจัดการ ” การเรียนปริญญาโท เอก ในต่างประเทศใช้เวลานิดเดียว เพราะเขาใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วย การเรียนการสอนอาจารย์เป็นเพียงผู้แนะนำเท่านั้น เราต้องใช้กระบวนการลดขั้นตอน ทุกสาขาวิชาคุณภาพต้องเท่ากัน ต้องใช้เทคโนโลยีมาช่วย ใช้นวัตกรรมมาช่วย ถ้าไม่ใช้ คุณภาพไม่เท่ากัน ส่วนกลางกับวิทยาลัยเขตต้องคุณภาพเท่ากัน ปัจจุบันเราจึงมีความเหลื่อมล้ำทางด้านคุณภาพ เราจึงสามารถแบ่งมหาจุฬาฯออกได้ คือ มจร ๑.๐ ยุคราชวิทยาลัย เรียนเฉพาะบาลี ใช้เวลา ๖๐ ปี มจร ๒.๐ ยุค เราเรียนบาลีกับศาสตร์สมัยใหม่ ใช้ระบบหน่วยกิต มหาวิทยาลัยคณะสงฆ์ เรียน ๒๐๐ หน่วยกิต ปริญญายังไม่รับรอง มจร ๓.๐ ยุคมหาวิทยาลัยของรัฐ มีการรับรองปริญญา มีวิทยาลัยเขต มีเครือข่ายทั่วประเทศ มจร ๔.๐ ยุคมหาวิทยาลัยนานาชาติ ได้ไปถึงทั่วโลก เราเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนานานาชาติ ย้ายจากวัดมหาธาตุมาอยู่ที่วังน้อย ตั้งวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ปัจจุบันมหาจุฬาฯ เราใช้นวัตกรรม สิ่งที่อธิการบดีทำจึงเป็นมหาจุฬาฯ ๔.๐ ท่านต้องใช้ภาษาอังกฤษเพื่อทำงานระดับนานาชาติ
อธิการบดีสมัยจบมาใหม่ๆ ต้องสร้างนวัตกรรมด้วยการสร้างหลักสูตรปริญญาโท สาขาพระพุทธศาสนาและสาขาปรัชญา ตั้งบัณฑิตวิทยาลัย ด้วยการหาเงินเอง เพื่ออยากให้พระภิกษุสามเณรมีวิสัยทัศน์มีความรู้ในด้านพระพุทธศาสนา อยากให้นิสิตมหาจุฬาฯพัฒนาตนเองสู่การเป็นนิสิตของมหาจุฬาฯ ๔.๐ ด้วยการพัฒนาภาษาเพื่อเชื่อมโยงกับนานาชาติ เพื่อการสื่อสารธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า…
ติดตามชมได้ที่…

 

 

Close