Uncategorized

ปริศนาธรรมของธงกฐิน

ka1 ka2 ka3

ความหมายและปริศนาธรรมของธงกฐินทั้ง ๔
๑. ธงจระเข้ หมายถึง ความโลภ ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพ สัตว์ปากใหญ่กินไม่รู้จักอิ่ม
๒. ธงตะขาบ หมายถึง ความโกรธ ซึ่งสะท้อนให้เห็นสภาพสัตว์มีพิษ พิษที่เผ็ดร้อน เหมือนความโกรธ ที่แผดเผาจิตใจคน
๓. ธงนางมัจฉา หมายถึง ความหลง ซึ่งสะท้อนถึงเสน่ห์แห่งความงาม ที่ชวนให้หลงใหล ให้เคลิบเคลิ้ม
๔. ธงเต่า หมายถึง สติ ที่คอยระวังรักษา อายตนะทั้ง ๖ ซึ่งสะท้อนถึงเต่าที่มีกระดองแข็งคอยคุ้มกันป้องกันภัยเมื่อรู้ว่ามีภัยก็จะหดอวัยวะ ซ่อนในกระดองทันที
-“ธงจระเข้” ใช้ประดับ ในการแห่ มีตำนานว่าเศรษฐีเกิดเป็นจระเข้ว่ายน้ำตามขบวนกฐินจนขาดใจตาย ใช้ประดับวัดที่ทอดกฐินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ญาติโยมที่เดินผ่านไปมาเห็นเข้าก็จะยกมือไหว้อนุโมทนาสาธุ
-“ธงตะขาบ” ใช้ประดับ เพื่อแจ้งว่า วัดนี้ มีคนมา จองกฐินแล้ว ให้ผู้จะมา ปวารณา ทอดกฐิน ผ่านไปวัดอื่นเลย ไม่ต้อง เสียเวลามาถาม
-“ธงนางมัจฉา” ใช้ประดับงานพิธีถวายผ้ากฐิน เป็นตัวแทน หญิงสาว ตามความเชื่อว่า อานิสงส์ จากการ ถวายผ้าแก่ภิกษุสงฆ์ จะมีรูปงาม
-“ธงเต่า” ใช้ประดับ เพื่อแจ้งว่า วัดนี้ ทอดกฐิน เรียบร้อยแล้ว
ในปัจจุบัน จะเห็นเพียง ธงจระเข้ และ นางมัจฉา ที่จะปรากฎ ในงานกฐิน ส่วนธงตะขาบ และเต่า พบเห็นได้น้อย จะมีเป็นบางวัด ที่ยังคงรักษา ธรรมเนียมเก่าอยู่

Close