Uncategorized

ศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน เพชรบูรณ์

ฟด1af2 af3 af4 af5 af6 af7 af8 af9 af10 af11 af12

ประวัติและพัฒนาการศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน

 

ความเป็นมา

ศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน  ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ตำบลแคมป์สน  อำเภอเขาค้อ  จังหวัดเพชรบูรณ์  ซึ่งห่างจากกรุงเทพมหานครถึงแคมป์สน  ที่หลักกิโลเมตร  ๔๑๒  บนเส้นทางพิษณุโลก-หล่มสัก  ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุ  กรมธนารักษ์  กระทรวงการคลัง เลขที่  ๒๐  หมู่ที่  ๔  บ้านแคมป์สน  ตำบลแคมป์สน  อำเภอเขาค้อ  จังหวัดเพชรบูรณ์  ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.  ๒๕๑๘  โดยการริเริ่มของอาจารย์พร  รัตนสุวรรณ  ซึ่งเป็นอาจารย์บรรยายวิชาธรรมประยุกต์ของ  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในสมัยนั้น

มูลเหตุการณ์สร้างศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สนขึ้น  ณ  ตำบลแคมป์สน  บนที่พื้นที่ดินของราชพัสดุ  กรมธนารักษ์  จังหวัดเพชรบูรณ์  ในพื้นที่  ๙๘๔  ไร่  ด้วยเห็นว่าสถานที่แห่งนี้  อยู่ห่างไกลชุมชน  ไม่พลุกพล่านของผู้คน  เป็นที่สัปปายะเงียบสงัด  อากาศเย็นสบาย  มีภูเขารายรอบ  มีต้นไม้นานาพรรณ  มีต้นไม้ใหญ่เรียงราย  โดยเฉพาะไม้สนภูเขา  คือสน ๒ ใบ ๓ ใบ อันที่เป็นต้นไม้ประจำถิ่น  ขณะที่เข้ามาศึกษาสำรวจ  พ.ศ  ๒๕๑๗-๒๕๑๘  นั้น  มีราษฎรมาบุกรุกต้นไม้และทำลายป่าเกือบทั้งหมด  ที่แห่งนี้เป็นลักษณะภูเขาหัวโล้นโดยทั่วไป  และเป็นพื้นที่สีชมพู (ผู้ก่อการร้าย) ตามแผนยุธศาสตร์ รูปตัว L ที่ตัดผ่าน ๑๗ จังหวัด อิสาน-เหนือ  โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ ณ ยุทศาสตร์เขาค้อ  เมื่อ  อาจารย์พร  รัตนสุวรรณ  มาพบสถานที่นี้  มีความประสงค์อย่างยิ่ง  ที่จะสร้างสถานที่แห่งนี้ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาทางพระพุทธศาสนา    ฝึกสมาธิปฏิบัติธรรม  และสอนธรรมเผยแผ่แก่นิสิตและประชาชนทั่วไปที่สนใจในธรรม  นอกจากนี้แล้วยังต้องการพัฒนาที่แห่งนี้  เพื่อจะทำการปลูกป่าให้ร่มรื่นสร้างบริเวณนี้ให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งคณะสงฆ์ไทย  ท่านอาจารย์พร  ได้วางรากฐานสร้างสาธารณูปโภค  สิ่งอำนวยความสะดวกไว้พร้อมสรรพ  อาทิ  กุฏิปฏิบัติธรรมพระสงฆ์  บ้านพักผู้ปฏิบัติธรรม  ถนน  ไฟฟ้า  น้ำประปา  เพื่อเป็นการบริการและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่เข้ามาศึกษาและปฏิบัติธรรมในสถานที่แห่งนี้

ในปี พ.ศ ๒๕๑๘ อาจารย์พร  รัตนสุวรรณ  ได้นำเรื่องการสร้างศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน  ไปกราบเรียนท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์  ปัจจุบันเป็นเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธจารย์

(เกี่ยว อุปเสโน)  ขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย      ในพระบรมราชูปถัมภ์ในสมัยนั้น  ท่านอาจารย์พร  รัตนสุวรรณ  ได้ปรารภกับเจ้าคุณเลขาธิการว่า  การที่ไปสร้างศูนย์พัฒนาศาสนาที่แคมป์สนขึ้นนั้น  เพื่อสร้างเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมของพระสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  โดยอยู่ในการความดูแลและดำเนินงานของมหาวิทยาลัยสงฆ์  ในช่วงหนึ่งท่านเจ้าคุณเลขาธิการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  (พระพรหมคุณภรณ์)  สมัยนั้น ได้เดินทางไปเยี่ยมอาจารย์พร  รัตนสุวรรณ  ที่ศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน  เพื่อเป็นการให้กำลังใจ  ซึ่งข้าพเจ้า (พร รัตนสุวรรณ) เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งศูนย์  และขอยืนยันให้ทราบว่า  ศูนย์พัฒนาศาสนาแห่งนี้ เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยสงฆ์  (วิญญาณ ฉบับ ๓-๔ มีนาคม  ๒๕๑๘)

อาจารย์พร  รัตนสุวรรณ  ได้สร้างอนุสรณ์สถานและอดีตพระมหากษัตริย์  ที่มีคุณูปการแก่แผ่นดินไทย  ประจำไว้ ณ ศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน คือ อนุสาวรีย์พระรูปหล่อเหมือน พ่อขุนผาเมือง  เจ้าเมืองราด  และพระเจดีย์อิสรภาพ  อนุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช  เพื่อให้เป็นศูนย์รวมแห่งความยึดเหนี่ยวจิตใจและความสามัคคีของประชาชนในชาติ  ได้น้อมระลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ไทยทั้งสองพระองค์  ที่พระองค์ได้สร้างประเทศชาติและทรงกอบกู้เอกราชให้กับผืนแผ่นดินไทย

อาจารย์พร  รัตนสุวรรณ  ได้มอบศูนย์พัฒนาศาสนาให้กับมหาวทิยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในวันที่  ๑๒  ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๑๙  ศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สนแห่งนี้  เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  โดยมีวัตถุประสงค์  เพื่อการศึกษาค้นคว้า  วิจัย  ฝึกอบรม  ปฏิบัติธรรมสำหรับพระนิสิต  นักศึกษาของมหาวิทยาลัย  การให้การบริการและอำนวยความสะดวกในการจัดฝึกอบรมแก่นักเรียน  นักศึกษา  ประชาชนทั่วไป  และพัฒนาศูนย์เพื่อการทำการปลูกป่า  รักษาป่า  อนุรักษ์สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศชาติอีกด้วย

อาจารย์พร  รัตนสุวรรณ  ได้รับการแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้เป็นผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สนเป็นคนแรก  จนถึงวาระสุดท้ายของการจากไปของอาจารย์พร  รัตนสุวรรณ  เมื่อวันที่  ๒๔  เดือนกุมภาพันธ์  พ.ศ ๒๕๓๖

๒.  วัตถุประสงค์ในการสร้างศูนย์

การสร้างศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก  คือ

๑.  เพื่อการศึกษา  การค้นคว้า วิจัย ฝึกอบรมสัมมนาและการปฏิบัติธรรมสำหรับนิสิต นักศึกษา เด็กเยาวชนและเจ้าหน้าที่คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยและประชาชนโดยทั่วไป

๒.  เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธสาสนาและแหล่งศึกษาธรรมชาติโดยภาคปฏิบัติ

๓.  เพื่อส่งเสริมการปลูกป่า พัฒนาป่า อนุรักษ์ป่าธรรมชาติและแหล่งต้นน้ำลำธารให้อุดมสมบูรณ์

๔.  เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ชุมชน สังคม ให้มีความรักหวงแหนป่าไม้และรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศ

๕.  เพื่อการปลูกป่าและพืชสมุนไพรสำหรับแพทย์แผนไทย เพื่อการวิจัย

๓.  สาระสำคัญการใช้พื้นที่

๑.  สร้างสถานที่แห่งนี้ขึ้น  เพื่อเป็นแหล่งวิทยาการการเรียนรู้  ฝึกอบรม  ปฏิบัติธรรมสำหรับนิสิต  นักศึกษา  เด็กเยาวชน  ทั้งของมหาวิทยาลัยและประชาชนโดยทั่วไป

๒.  ฝ่ายพัฒนาศาสนาแคมป์สน  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ได้เช่าที่ดินจากราชพัสดุ  กรมธนารักษ์  พื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์  จำนวน  ๒  แปลง  คือ  ๑,๙๖๔-๒-๖๗  ไร่  และ ๙๘๔ ไร่  แต่ใช้ทำประโยชน์และพัฒนาสร้างศูนย์เพียงหนึ่งแปลง  จำนวน  ๙๘๔ ไร่  ส่วนอีกแปลงหนึ่งนั้น  ถูกราษฎรบุกยึดพื้นที่  อาจารย์พร  มาขอเช่าพื้นที่เพื่อทำการปลูกป่าและพืชสมุนไพร  รักษาแหล่งต้นน้ำลำธาร การรักษาสภาพป่า และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ป่าธรรมชาติ  ตลอดจนการักษาสภาพแวดล้อมในชุมชน  รวมพื้นที่ที่เป็นป่ามีจำนวนถึง ๘๐ % ของพื้นที่ใช้สอย  สร้างกุฏิ  อาคาร  ที่พักผู้ปฏิบัติธรรม และสวนหย่อมเป็นต้น

๓.  ฝ่ายพัฒนาศาสนาแคมป์สน  ได้สร้างอาคาร  บ้านพักของผู้ปฏิบัติธรรม  และกุฏิพระสงฆ์  ซึ่งสามารถแบ่งส่วนได้ดังนี้

ก.  ส่วนที่พักฆราวาสผู้ปฏิบัติธรรม มี

– เรือนพักหรือบ้านพักฆราวาสผู้ปฏิบัติธรรม  ซึ่งอยู่บริเวณแคมป์ เป็นบ้านพักของการทางเดิม มีจำนวน ๘ หลัง จำนวน ๑๖ ห้อง

– อาคารตึกขาวมี ๓ ชั้น รับรองคนได้จำนวน ๑๐๐ คน และเป็นที่เก็บสัมภาระต่างๆ

– โรงอาหารประจำศูนย์  สำหรับทำครัวเลี้ยงพระนิสิต  ผู้ปฏิบัติธรรมและสัมมนาเข้าค่ายทำกิจกรรมต่างๆ

ข.  ส่วนที่เป็นสังฆาวาส คือ กุฏิและอาคาร มี

– กุฏิสงฆ์ จำนวน ๒๕ หลัง

– กุฏิอนุสรณ์พระธรรมทูตสายต่างประเทศ

ซึ่งเริ่มสร้างตั้งแต่  รุ่นที่ ๕ เป็นต้นมาในแต่ละปีก็จะสร้างกุฎิไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับพระธรรมทูตแต่ละรุ่น  ดังนี้

๑.  พระธรรมทูตสายต่างประเทศ  รุ่นที่ ๕ กุฏิพระพรหมโมลี

๒.  พระธรรมทูตสายต่างประเทศ  รุ่นที่ ๖ กุฏิพระธรรมปิฎก

๓.  พระธรรมทูตสายต่างประเทศ  รุ่นที่ ๗ กุฏิพระสุเมธาธิบดี

๔.  พระธรรมทูตสายต่างประเทศ  รุ่นที่ ๘ กุฏิสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( อาจ  อาสโภ)

๕.  พระธรรมทูตสายต่างประเทศ  รุ่นที่ ๙ กุฏิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว  อุปเสโน)

๖.  พระธรรมทูตสายต่างประเทศ  รุ่นที่ ๑๐ กุฏิพระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์  เขมงฺกโร)

๗.  พระธรรมทูตสายต่างประเทศ  รุ่นที่  ๑๑  พระพรหมรัชมังคลาจารย์  (ปั่น  ปญฺญานนฺโท)

๘.  พระธรรมทูตสายต่างประเทศ  รุ่นที่  ๑๒  พระราชรัตนโมลี  (นคร  เขมปาลีเถร)

๙.  พระธรรมทูตสายต่างประเทศ  รุ่นที่  ๑๓  กุฎิพระธรรมวโรดม   (บุญมา  คุณสมฺปนฺโน)

๑๐.  พระธรรมทูตสายต่างประเทศ  รุ่นที่  ๑๔  กุฎิพระธรรมโกศาจารย์  (อธิการบดี)

๑๑.  พระธรรมทูตสายต่างประเทศ  รุ่นที่  ๑๕  สร้างลานไทร  ลานธรรม

๑๒.  พระธรรมทูตสายต่างประเทศ  รุ่นที่  ๑๖  สร้างแท็งค์พักน้ำ

๑๓.  พระธรรมทูตสายต่างประเทศ  รุ่นที่  ๑๗  กุฎิธรรมมิกราช  ๘๔  พรรษา

๑๔.  พระธรรมทูตสายต่างประเทศ  รุ่นที่  ๑๘  กุฎิพุทธชยันตี

๑๕. พระธรรมทูตสายต่างประเทศรุ่นที่ ๑๙  กุฏิพระพรหมสิทธิ (ธงชัย  สุขญาโณ)

– หอประชุมพร  รัตนสุวรรณ สร้างเมื่อปี พ.ศ ๒๕๑๘ จุคนได้ ๕๐๐ รูป/คน  (ปรับปรุงใหม่พ.ศ.  ๒๕๔๘)

– กุฎิพระสังฆเถระ

– หอประชุมพร  รัตนสุวรรณ (เนินสังฆเถระ)  จุคนได้  ๒๐๐  รูป/คน

– หอฉันจันทร์ศุภฤกษ์  จุคนได้ ๒๐๐ รูป/คน  (ปรับปรุงใหม่  พ.ศ.  ๒๕๕๓)

– หอพระธรรมคัมภีร์ จุคนได้ ๒๐๐ รูป/คน

-ศาลากรรมฐานพุทธานุภาพ จุคนได้ ๑๐๐ รูป/คน

ตึกแดงมี ๓ ชั้น จุคนได้ ๒๐๐  รูป/คน

อนึ่ง ในปีงบประมาณ ปี พ.ศ ๒๕๔๘  ทางฝ่ายพัฒนาศาสนาแคมป์สน ได้ทำการปรับปรุงซ่อมแซมหอประชุมใหญ่ ซึ่งสร้างแต่ปี พ.ศ ๒๕๑๘ รวมเวลา ๓๐ ปี มีการชำรุดทรุดโทรมไปมาก เพื่อปรับปรุงโดยจะขยายให้กว้างและยาวขึ้น และจะสามารถรองรับผู้เข้าใช้ได้ประมาณ ๕๐๐-๑,๐๐๐ คน

๔.  ลักษณะภูมิประเทศบริเวณฝ่ายพัฒนาศาสนาแห่งนี้  เป็นสภาพป่าดงดิบและมีไม้เบญจพรรณนานาชนิด  มีภูเขาสูงต่ำสลับกันไป  มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์  บรรยากาศร่มรื่น  เย็นเงียบสงบเหมาะแก่การปลีกวิเวกและปฏิบัติธรรม

๕.  ฝ่ายพัฒนาศาสนาแคมป์สน  ส่วนธรรมนิเทศ  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ได้จัดสร้างลานปฏิบัติธรรม  สวนพุทธธรรม  สวนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ลานปฏิบัติธรรม  ลานนันทนาการ และสวนหย่อมเป็นต้น พร้อมจัดเครื่องสาธารณูปโภคพร้อม

๖.  ฝ่ายพัฒนาศาสนาแคมป์สน ได้ตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้นมาในปีพ.ศ.  ๒๕๔๕  ซึ่งนักเรียนของโรงเรียนโรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม โรงเรียนบ้านเหล่าหญ้า โรงเรียนบ้านขอนหาด และโรงเรียนบ้านเข็กน้อย เข้ามาศึกษาเล่าเรียน ปีละ จำนวน ๑๒๐-๑๕๐ คนโดยมีหัวหน้าฝ่ายคือ  พระนิคม  ขมจิตฺโต  เป็นผู้อำนวยการและพระเจ้าหน้าที่ของฝ่ายฯ  และครูโรงเรียนต่างๆ  มาช่วยสอน

๗.  ได้จัดตั้งสถานีวิทยุศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน ขึ้น ณ ฝ่ายศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน ส่วนธรรมนิเทศ และได้ทำการทดลองออกอากาศเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๘ โดยมีพระเดชพระคุณพระเทพโสภณ (ปัจจุบันเป็นพระธรรมโกศาจารย์) อธิการบดี เป็นประธานพิธีเปิด นับว่าเป็นสถานีวิทยุชุมชนแห่งแรกของมหาวิทยาลัยที่ได้จัดตั้งขึ้น

๘.  ส่วนที่เป็นอนุสรณ์สถานที่เคารพนับถือของชุมชนและผู้คนในประเทศชาติคือ

– พระเจดีย์อิสรภาพอนุสรณ์พระนเรศวรมหาราช

– อนุสาวรีย์พระรูปปั้นหล่อเหมือนพ่อขุนผาเมือง

– และอนุสรณ์ อาจารย์พร  รัตนสุวรรณ ผู้ก่อตั้งศูนย์

๙.  ศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สนแห่งนี้ มีความมั่นคงและยอมรับของสังคม  และภาคภูมิใจแก่พสกนิกรทุกหมู่เหล่า  เมื่อ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมงกฎราชกุมาร เสด็จแทนพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีสวมฉัตรเก้าชั้นยอดนภศูล พระเจดีย์อิสรภาพอนุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยมี  ฯพณฯ พลเอกชวลิต   ยงใจยุทธ  ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด  ขอพระราชทานกราบบังคมทูลละอองพระบาท  ทรงประกอบพิธีสวมฉัตร ๙ ชั้น  ยอดนภศูลและเจดีย์อิสรภาพอนุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อวันอังคารที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๓ ณ ศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

๔.  เป้าหมาย

๑.  มีนิสิตของหน่วยงานรัฐ  เอกชน นักศึกษา นักเรียน เด็กเยาวชน เจ้าหน้าที่คณาอาจารย์ของมหาวิทยาลัยและการโรงเรียนต่างๆ เข้ามาใช้บริการฝึกอบรม สัมมนา ปฏิบัติธรรม เฉลี่ยต่อปีมีจำนวน  ๑๐,๐๐๐  รูป/คน

๒.  มีเจ้าหน้าที่  ผู้บริหารในหน่วยงานหรือองค์กรของรัฐบาลและเอกชน  เข้ามาศึกษา ฝึกอบรม  สัมมนาและปฏิบัติธรรม  เฉลี่ยต่อปี  จำนวน  ๒,๐๐๐ รูป/คน

3. โครงการที่ทางกลุ่มงานให้การสนับสนุนสถานที่ มีดังนี้.

(1.) โครงการปฏิบัติธรรมประจำปีของพระนิสิตระดับปริญญาตรี

(2) โครงการฝึกอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ

(3) โครงการปฏิบัติธรรมของนิสิตปริญญาโท, ปริญญาเอก

 

ภาพแห่งความดีงามที่ควรรำลึกถึง จากรุ่นสู่รุ่นเพื่อความเจริญรุ่งเรืองแห่งพระศาสนา

ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะ ผู้เป็นศาสดาเอกของโลก

 

 

Close