Uncategorized

21 มีนาคม 2561

meet1 meet2 meet3

21 มีนาคม 2561

พิธีเปิดโครงการสัมมนานิสิตปฏิบัติศาสนกิจ รุ่นที่ 63  ประชุมภาคกลาง  โดยมี พระเดชพระคุณ พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม, อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ปาฐกถาพิเศษ  ณ อาคารหอประชุม มวก.48 พรรษา มจร วังน้อย อยุธยา มีใจความว่า 

มหาวิทยาลัยได้ทำตามปรัชญามากแค่ไหน ในการพัฒนาจิตใจและสังคม ในการลงไปสู่การปฏิบัติงานองค์ความรู้เพียงพอหรือไม่ ศาสตร์สมัยใหม่ช่วยทำให้ทำงานดีขึ้นไหม สภาพจิตใจของท่านเป็นอย่างไร จะมีส่วนช่วยพัฒนาจิตใจและสังคมอย่างไร เป็นโอกาสในการมองภาพรวม อะไรที่ขาดก็เติมให้เต็ม หลวงพ่อปัญญานันทะ กล่าวว่า “คนสร้างงาน งานสร้างคน” คนสร้างงานขึ้นมาด้วยการปฏิบัติศาสนกิจ ในรอบหนึ่งปีงานหล่อหลอมบุคลิกภาพของนิสิต ในรอบปีเป็นอย่างไร  ในงานของคณะสงฆ์เราสร้างงานอะไรบ้าง ตั้งแต่ปกครองจนถึงศาสนสงเคราะห์ เราไม่ได้ถนัดทั้งหมด ถามว่าเราถนัดด้านใด ถ้าเราถนัดเรามีความรู้เหมาะสม ประสบการณ์ ทักษะ ความรู้เพียงพอเท่าใด มีทัศนคติในการเป็นผู้ให้อย่างไร เราทำงานมาหนึ่งปีมีประสบการณ์เท่าใด  การจะทำงานคณะสงฆ์ ๖ ด้าน เราขาดความรู้เรื่องอะไร ควรไปศึกษาเพิ่มเติมไหม? เรียนจบปริญญาตรีเพียงพอหรือไม่  เราควรเรียนต่อปริญญาโท-เอก เพื่อนำความรู้ไปทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคม   ต้องประเมินตนเองในการทำงาน 

สมัยที่เริ่มจัดฝึกอบรมพระนักเทศน์ที่วัดประยูรฯ ปรากฎว่าทำงานยากมาก เพราะว่าไม่ใช่นักเทศน์ ชั่วโมงบินไม่พอ เครียดมาก วันไหนวิทยากรไม่มา เราต้องเป็นวิทยากรจำเป็น มันก็มีข้อจำกัด เพราะเราไม่ใช่นักพูดนักเทศน์ พึ่งฝึกใหม่ ประสบการณ์ก็ไม่เพียงพอ เครียด ความรู้ที่จะไปถ่ายทอดให้เขาก็แค่หางอึ่ง ถ้าไม่ทำงานนี้ จะไม่รู้เลยว่าข้อจำกัดของเราอยู่ตรงไหน เรารู้เราวัดตัวเราเองได้ เมื่อเราลงสู่สนาม … เรื่องเจตคติ เรื่องความเครียดมันก็ตามมา ทนไม่ได้ต้องไปปฏิบัติกรรมฐาน ๗ วัน ที่วิเวกอาศรม ชลบุรี เพื่อสร้างความสงบ ความอดทน ฝึกฝนตนเอง ทำไมต้องไปเพราะเรารู้ว่าเราจัดการกับความเครียดไม่ได้ ต้องอาศัยกรรมฐาน สมัยโน้นเขาไม่มีหลักสูตรกรรมฐานสำหรับนิสิตมหาจุฬาฯ อย่างทุกวันนี้ การทำงานจะบอกเราเอง

แต่ต้องซื่อตรงต่อตนเอง พอทำงานเราจะทราบว่าขาดอะไร พยายามถามครูอาจารย์ว่าจะทำอย่างไรต่อเมื่อเรียนจบปริญญาตรี ซึ่งอาจารย์ตอบว่าควรจะไปหาความรู้เพื่อการทำงานใหญ่  เราต้องสะสมความประสบการณ์ ด้วยการไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเดลี ประเทศอินเดีย ด้วยการไปบ่มเพาะความรู้จนจบปริญญาเอก ด้วยการฝึกภาษาอังกฤษ ต้องพัฒนาตนเหมือนผีเสื้อ ซึ่งมีวงจร ๔ ขั้นตอน วงจรชีวิตเราเหมือนผีเสื้อ ผีเสื้อกว่าจะมาโบยบินขั้นตอนแรกเป็นไข่ก่อน ลูกออกมาเป็นหนอนผีเสื้อจะกินใบไม้ หน้าที่ของหนอนผีเสื้อคือกิน กินจนถึงจุดหนึ่งจะหยุดและชักใยล้อมตนเองไว้เป็นดักแด้ ผีเสื้อห่อหุ้มตนเองด้วยไหม เวลาผ่านไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากหนอนเป็นผีเสื้อ เปลี่ยนสภาพมีปีก เวลาที่จะออกมาจากการเป็นผีเสื้อ ต้องใช้กำลังมากในการออกจากไหม แต่ถ้ามีคนนำอะไรไปตัดจะทำเกิดเป็นผีเสื้อพิการ จะไม่สามารถบินได้ เหมือนนิสิตเราต้องทำด้วยตนเอง ถ้าใครปฏิบัติศาสนกิจก็ไม่ค่อยทำ มีคนช่วยจนตนเองไม่ได้ทำ จะกลายเป็นผู้พิการไม่สามารถทำหน้าที่สร้างโลกสวยได้เลย ต้องฝึกตนจากความลำบาก เพราะจะเป็นผีเสื้อที่สมบูรณ์ ถ้าเราไม่สมบูรณ์ต้องเรียนต่อ พระพุทธเจ้ากว่าจะสำเร็จต้องเป็นดักแด้จำนวน ๖ ปี มันไม่มีใครไม่ผ่านกระบวนการพัฒนาตนแล้วมายิ่งใหญ่ พระพุทธเจ้ามีกระบวนการสร้างตนเอง ๖ ปี หลังจากนั้น ๔๕ ปี เป็นผีเสื้อที่โบยบินจาริกสอนทั่วชมพูทวีป ถ้าไม่มี ๖ ปีที่เข้มงวดก็ไม่มี ๔๕ ปี ที่งดงาม ถ้าเราไม่ผ่านการเรียนของมหาจุฬา ก็ไม่เป็นผีเสื้อที่งดงาม หนักเอาเบาสู้ เพราะไม่ทีทางลัดไปสู่ความยิ่งใหญ่ เพราะกระบวนการสร้างตนเองไปสู่ความยิ่งใหญ่ต้องผ่านการฝึก  การเป็นเจ้าอาวาสต้องสะสมประสบการณ์ เหมือนเราไปปฏิบัติศาสนกิจผิดพลาดก็ยังให้อภัย มหาจุฬาฯรับรอง  เมื่อไปทำงานแล้วอย่าให้ผิดพลาด การสะสมประสบการณ์เพื่อสร้างตนเอง  จะทำงานที่สำคัญของชีวิตถ้าไม่พร้อมจงไปเรียนเพิ่ม ประสบการณ์ไม่พร้อมหาประสบการณ์เพิ่ม  ถ้าจะคิดช่วยสังคม จะช่วยในด้านใด ยิ่งมีการปฏิรูปจะมีส่วนปฏิรูปได้อย่างไร ต้องวิเคราะห์ตนเองว่าถนัดด้านใด ชีวิตที่ผ่านมามีจุดเเข็ง-จุดอ่อนอย่างไร จะลงสู่สนามพร้อมไหม?  จุดอ่อนคืออะไร จุดแข็งคืออะไร  เคยได้ยินประโยคนี้ไหม “สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ”  เราต้องเป็นอัศวินขี่ม้าขาวด้วยการไปช่วย เขาเรียกว่า โอกาส โอกาสสร้างวีรบุรุษ  สถานที่จะทำให้เรามีโอกาสในการทำงาน แต่ถ้าความรู้ความสามารถเราไม่พร้อมจะลำบาก ปัจจุบันมหาจุฬาฯมีความพร้อมทุกอย่างเพื่อให้เราได้ทำงาน  จะใช้จุดเด่นในการทำงานอย่างไร? จะช่วยการปฏิรูปพระพุทธศาสนาอย่างไร?  อยากเห็นการยกเครื่องพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในการพัฒนาหลักสูตรปฏิรูปโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เรื่องการเผยแผ่ได้รับการท้าทายมากในยุคไทยแลนด์ ๔.๐ ควรเขียนหนังสือเป็นอีบุ๊ค การเผยแผ่ธรรมมีการถ่ายทอดสดคนดูเป็นจำนวนมาก  การเผยแผ่มีผลกระทบต่อพระพุทธศาสนา การทำงานต้องยึดนโยบาย ๕ ประการ คือ “ตกปลานอกบ้าน ประสานสิบทิศ ผูกมิตรทั่วหล้า บริหารปัญญา สาริกาป้อนเหยื่อ”  (๑) การตกปลานอกบ้าน คือ การหาคนเก่งๆ มาช่วยงานเป็นการตกปลานอกบ้าน (๒)ประสานสิบทิศ คือ อย่าทำงานคนเดียว อย่าเก่งคนเดียว ต้องเอาทุกฝ่ายมาช่วยในการทำงาน (๓)ผูกมิตรทั่วหล้า คือ อย่าไปสร้างความขัดแย้งกับใคร สร้างมิตรไว้เยอะๆ (๔)บริหารปัญญา คือ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ปัญญาเราต้องบริหารเพราะกระจัดกระจาย ใช้ปัญญาของคนอื่นมาช่วย ศึกษางานวิจัยที่คนอื่นทำไว้เพื่อจะได้เข้าใจ รุ่นพี่ต้องส่งต่อให้รุ่นน้อง จะได้ง่ายในการทำงาน เราต้องมีศูนย์สอนภาษาเมื่อเราไปทำงานปฏิบัติศาสนกิจ เช่น ชาวเขา ภาษาเราต้องสื่อสารได้ (๕)สาริกาป้อนเหยื่อ คือ ต้องรู้จักสื่อสารรู้จักเทศน์รู้จักสอน สอนให้ตรงตามความต้องการของชุมชนสังคมนั้นๆ รุ่นพี่ที่ออกไปปฏิบัติศาสนกิจจะต้องส่งต่อถึงรุ่นน้องให้เกิดความชัดเจน จะได้ง่ายในรุ่นต่อไป กองกิจการนิสิตจะต้องตอบโจทย์ข้อนี้ให้ได้ “รุ่นพี่ส่งต่อรุ่นน้อง”การจะเห็นความสามารถของตนเองต่อเมื่อได้ทำงาน  การเตรียมความรู้ความสามารถของตนเองไว้ เพื่อจะส่งไม้ต่อกันด้วยการปฏิรูปการทำงานของตน ดังคำกล่าวของหลวงพ่อปัญญานันทะที่ว่า “คนสร้างงาน งานสร้างคน”

 

(หมายเหตุ : ที่มาของภาพและข่าว : Fb ส่วนธรรมนิเทศ มจร)

https://www.facebook.com/pg/%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8-%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3-103100053179927/photos/?tab=album&album_id=954338274722763

 

Close