Uncategorized

มองเป็นเห็นธรรมคิดเป็นเห็นทาง

phraSi03

มองเป็นเห็นธรรมคิดเป็นเห็นทาง

การส่งต่องานพระกรรมฐานในยุค 4.0 ดำรงวิถีปัจจุบัน รู้เท่าทันโลกตามจริง

__________________

นะมัตถุ รัตตะนะตะยัสสะขอถวายความนอบน้อม แด่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระองค์ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงไว้ซึ่งพระปัญญาธิคุณ ตรัสรู้ดี ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ทรงไว้ซึ่งพระวิสุทธิคุณ ทรงบริสุทธิ์หมดจดปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย ทรงไว้ซึ่งพระมหากรุณาธิคุณ ทรงสั่งสอนเวเนยยนิกรทุกถ้วนหน้า

ขอถวายความนอบน้อมแด่พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นสวานิกธรรม เป็นสัจธรรม ที่ทรงตรัสไว้ดีแล้ว เป็นพระธรรมอันประเสริฐ ประกอบด้วยเหตุและผล ทนต่อการพิสูจน์ ทุกกาลสมัย เป็นมิยานิกะธรรม ทำให้คนพ้นทุกข์ประสบความสันติสุขได้จริงถวายความนอบน้อมแด่พระสงฆ์ แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เป็นผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติควร ปฏิบัติชอบ และสั่งสอนให้ผู้อื่นปฏิบัติดีปฏิบัติชอบด้วย นมัสการคณะพระวิปัสสนาจารย์ ท่านพระมหาไพโรจน์ กนโก พระสงฆ์ทุกรูปและโยคีผู้ปฏิบัติธรรม

การส่งต่องานพระกรรมฐานในยุค 4.0 ดำรงวิถีปัจจุบัน รู้เท่าทันโลกตามจริง

ในค่ำคืนนี้จะพูดในเรื่อง งานส่งต่อพระกรรมฐานในยุค 4.0 ดำรงวิถีปัจจุบันรู้เท่าทันโลกตามจริง ทราบว่า โยคาวจรส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ ผู้ชำนาญการทุกระดับ เป็นผู้บริหาร ดังนั้นเมื่อพูดถึงการปฏิบัติพระกรรมฐาน ท่านทั้งหลายก็จะมองว่าเป็น เรื่องเฉพาะสำหรับพระคุณเจ้าหรือพระภิกษุ ทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่เรื่องงานพระพุทธศาสนาทั้งหมด พระบรมศาสดาของเรา ได้วางรากฐานแล้วก็ส่งต่อแก่ชาวโลก โดยผู้ขับเคลื่อนคือพุทธบริษัททั้ง 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ไม่จำกัดเฉพาะ ภิกษุหรือภิกษุณีเท่านั้น

ในมหาปรินิพพานสูตรที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสยอมรับเงื่อนไขที่พญามารได้กราบทูลขอให้พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานนั้น ทุกครั้งที่ผ่านมา พระองค์ไม่ทรงรับเงื่อนไข แต่ครั้งนี้ทรงรับเงื่อนไขว่า ดูก่อนพญามารผู้มีบาปถ้าพุทธบริษัท คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือสหธรรมิกทั้ง7 เพิ่มที่ สามเณร สามเณรรี นางสิกขมนา ที่ว่ามาทั้งหมด มีหน้าที่หลักก็คือ การศึกษา ศึกษาพุทธธรรม ศึกษาธรรมวินัย ศึกษาพระพุทธศาสนา ศึกษาแล้วทำความเข้าใจ และปฏิบัติได้จริงแล้วก็ส่งต่อ ส่งต่อให้โลก ให้สังคม ให้ได้รับความสุขสงบเย็นดังเช่นที่ตนเองได้สัมผัส สุดท้ายก็คือ ถ้ามีปัญหาก็ต้องรวมตัวกัน เพื่อแก้ไข อันนี้ประเด็นนี้สำคัญมาก หรือเรียกย่อๆว่า ศึกษา ปฏิบัติ สัมผัสผล เผยแผ่และร่วมกันแก้ไขปัญหา

พญามารเอ๋ยแม้พุทธบริษัททั้ง 4 ของเรา จะว่า กระจายเป็นข้อๆ มีทักษะ ในการทรงจำหลักธรรมการสั่งสอน ศึกษาแต่ไม่สามารถนำไปสู่ภาคปฏิบัติ หรือเข้าใจหรือได้ผล เราก็ยังไม่รับคำอาราธนาของท่าน ถึงกระนั้นแล้ว พุทธบริษัททั้ง 4 ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาของเรา หมั่นในการศึกษาทรงจำการสั่งสอนธรรมวินัย ปฏิบัติและได้รับผลในการปฏิบัติ มีสุข สุขวิหาร มีสุขเป็นเครื่องอยู่ แต่ถ้าพุทธบริษัทเหล่านั้น ยังไม่มีความสามารถในการเทศน์ ในการสอน ในการเผยแผ่ ในการขับเคลื่อน ในการส่งต่อ ตถาคตก็ยังไม่รับคำอาราธนาของท่าน ประเด็นสุดท้ายก็คือ แม้พุทธบริษัทจะมีความทรงจำในการศึกษาพระไตรปิฎก เข้าใจปฏิบัติได้รับผล และช่วยการขับเคลื่อนพระพุทธศาสนาด้วยการเผยแผ่ แต่แก้ปัญหาไม่ได้หรือแก้ปัญหาไม่เป็น ตถาคตก็ยังจะเป็นหลักอยู่ มารเอย บัดนี้ พุทธบริษัททั้ง 4 ภิกษุภิกษุณีอุบาสกอุบาสิกา เอาเรื่องการศึกษาเอาเรื่องการปฏิบัติ มีการศึกษาดีแล้วมีสัมมาปฏิบัติ เป็นอริยบุคคล เป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามีหรือพระอรหันต์ ส่งต่อพระพุทธศาสนาสู่สังคมโลก ดังที่ทรงตรัสว่า

จรถ ภิกฺขเว จาริกํ พหุชนหิตาย พหุชนสุขาย โลกานุกมฺปาย อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสานํ. (วิ. มหา. 4/32/ 40)

เธอทั้งหลาย จงจาริกไป เพื่อประโยชน์และความสุขแก่คนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลาย

———————————————

เมื่อได้รับประโยชน์จากธรรมะแล้วก็ช่วยกันส่งต่อ สุดท้ายก็คือแก้ปัญหาเป็น ร่วมกันแก้ปัญหา นี่คือสิ่งที่เป็นมรดกธรรม เป็นพินัยกรรมที่วางไว้ สาวก สาวิกา พุทธบริษัท ได้กำหนดจดจำและส่งต่อพระพุทธศาสนาให้แก่โลก ดังนั้นงานพระกรรมฐานก็คืองานส่งต่อ

พระพุทธศาสนามีดีอย่างไร คนปฏิบัติแล้วมีผลอย่างไร แล้วจะส่งต่ออย่างไร นี่คือเรื่องที่เราเข้ามาฝึกพระกรรมฐาน เพราะฉะนั้นในเบื้องต้น จะต้องเตรียม เตรียมตัวเอง มาเพื่อพิสูจน์ กันได้ ตามข้อกำหนดกฎเกณฑ์ 3 วัน 5 วัน 7 วันหรือ 10 วัน จะได้ผลเป็นอย่างไร คือ มาแล้วจะต้องได้ผล ตอบคำถามได้ไหม เท่านั้นเอง คือได้แล้วมันจะต้องไปส่งต่อไปพูดต่อไปบอกต่อ แค่พูดให้ฟังก็งานเผยแผ่แล้ว ดังนั้น การปฏิบัติธรรมยังมีองค์ประกอบเป็นเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง เป็นปัจจัยสำคัญ เขาเรียกว่า สัปปายะ

  1. เสนาสนะสัปายะ(อาวาสสัปปายะ) คือสถานที่ปฏิบัติธรรมนั้นสัปปายะเท่าที่จะทำได้ เพื่องานปฏิบัติ หรือผู้เข้าปฏิบัติจะได้สะดวกสัปปายะ ก็คือสบายสะดวก
  2. อาหารสัปปายะ อาหารเป็นที่สบาย เมื่อมีที่อยู่ที่สบายต้องคำนึงถึงอาหาร ในสมัยก่อนเป็นหน้าที่ของพระภัตตุเทศ ปัจจุบันเป็นหน้าที่ของเจ้าสำนัก การจัดสวัสดิการด้านอาหารจึงควรเป็นภาระของฝ่ายสาธารณูปการรวมเรื่องต่าง ๆ เช่น การกำหนดเส้นทางโคจรบิณฑบาตมีการเปลี่ยนเวรกันเพื่อเจริญศรัทธาของผู้ทำบุญและป้องกันการติดในตัวบุคคล มีการจัดฉันรวมกันเป็นที่แห่งเดียว เพื่อประโยชน์คือทำให้เกิดความเป็นธรรมในอดิเรกลาภ ก่อให้เกิดความสามัคคีธรรม เป็นที่เจริญศรัทธาของผู้ถวายและสามารถแนะนำอบรมได้ง่ายในเวลาก่อนและหลังอาหาร

3. ปุคคลสัปปายะ คือบุคคลที่เราต้องการก็คือกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ รวมทั้งผู้บริหารโครงการ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่เดินเข้าเดินออกในพื้นที่ที่เราปฏิบัติธรรม ก็เป็นกัลยาณมิตรที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมของโยคี นี่คือปัจจัยที่สำคัญและที่สำคัญอีกก็คือ ตัวเรา มีความพร้อมที่จะเข้ามาปฏิบัติอย่างจริงจัง เรามีคำในยุคของพระองค์ที่ถามว่าผู้ที่จะรู้ธรรมเห็นธรรมของพระองค์ จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร จึงจะสามารถปฏิบัติธรรมได้ ฟังธรรมได้ รู้ธรรมได้ พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า ต้องประกอบด้วยองค์คุณของการปฏิบัติธรรม ต้องทำความเพียร ทำให้สุด ขุดให้ถึง มาทุกสมัย มีแต่คนโง่เท่านั้นที่เถียงว่า ใต้พื้นดิน ไม่มีน้ำ ไม่ต้องขุดบ่อ แต่ถามว่า ลงมือทำจริงจังหรือยัง ก็ตอบว่า ยัง หรือทำก็ทำครึ่งๆกลางๆประเมินผลไม่ได้ นี่คือ ประเด็นเรื่องความเพียรเป็นหลัก สุดท้ายก็ต้องมีปัญญา ปัญญาที่สามารถนำตัวเองมาสู่สถานที่ ที่สัปปายะดังกล่าว เพื่อพบปะครูอาจารย์ รู้ถูกชั่วดี รู้หน้าที่ หน้าที่บริหารเป็นเรื่องของคนอื่น แต่หน้าที่ปฏิบัติเป็นเรื่องของเรา ไม่ก้าวก่ายกันทำตามหน้าที่ของตน ไม่ล่วงล้ำผู้อื่น และที่สำคัญก็คือ สามารถฟังแนวทางเพื่อการดับทุกข์ได้ เข้าใจได้ พอเข้าใจ มันก็เหมือนกับว่า มันจะเข้าถึง ก็ทำเป็น ในอริยมรรคมีองค์ 8 สัมมาทิฏฐิต้องมาก่อน ความเข้าใจจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ส่วนปัญญาการรอบรู้ในกองสังขารตามจริง จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขกระบวนการของการฝึก การอบรม การภาวนาของโยคี ท่านบอกว่า ถ้าทำจริงๆ 7 วันขึ้นไปก็จะสามารถได้ผลเป็นที่พึงพอใจ ในสติปัฏฐานก็ยืนยันเอาไว้อย่างนั้น แต่เราไม่มี มีแต่หลักสูตร 3 วัน 5 วัน 7 วันเป็นระยะสั้น แต่ถ้าเข้าใจเนื้อหาและทำตามได้ ตัวศรัทธาก็จะเกิดเอง อันนี้เป็นเรื่องที่สามารถพิสูจน์ได้ เพราะฉะนั้นปัจจัยเรื่อง บุคคลสัปปายะทั้งตัวเราและผู้อื่น ผู้เกี่ยวข้องรวมทั้งครูบาอาจารย์

4. สุดท้ายคือธรรมะสัปปายะ ที่อาจารย์ แนะนำแนวทางเพื่อความดับทุกข์ที่ง่ายๆไม่ซับซ้อน สามารถปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวันได้ตามจริง เอาไปใช้ได้จริง นี่คือเรื่องของวิปัสสนากรรมฐาน เน้นการเจริญสติ เน้นการบริหารจัดการตัวเองและบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ได้ ในห้องกรรมฐาน และในที่ปฏิบัติ แต่ไปอยู่ในที่ส่วนบุคคลก็ แก้ปัญหาอย่างเดียวกัน ทำอย่างเดียวกัน ตัดสินใจอย่างเดียวกัน ใช้สติปัญญา ใช้ทักษะ อย่างเดียวกัน โยคีออกไปแล้วไปอยู่ในวิถีชีวิตตามจริงในหน้าที่ราชการ ในชีวิตปกติก็ทำแบบเดียวกันบริหารจัดการแบบเดียวกันใช้สติ ปัญญา ใช้การตัดสินใจเหมือนกันทุกอย่าง ไม่ใช่เรื่องที่ยากอะไร เพียงแต่รอเวลาที่มันตกผลึกตกผลึกหรือเก็บเกี่ยวประสบการณ์ให้เกิดทักษะเท่านั้น นี่คือหน้าที่ของโยคี แนวทางที่ครูบาอาจารย์แนะนำก็คือ แนะช่องทางเพื่อความดับทุกข์ และหลักสูตรที่อยากนำเสนอจะจัด 3 วัน 7 วัน ที่ได้ผลทำเป็นตำราได้เป็นหลักสูตรได้ ต้องประกอบด้วย ก. 5 ก. หรือการ 5 การ

1. ก. วิชาการ หลักการ

2. ก. วิธีการหรือเทคนิค หรือกระบวนการ ที่จะให้เท่าทันอารมณ์ปัจจุบัน แก้ปัญหาได้ เน้น การรู้เท่าทัน เมื่อรู้เท่าทันแล้ว ก็จะแก้ปัญหาได้ ที่ทำมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อแก้ปัญหาให้เป็นนั่นเอง ในห้องกรรมฐานหรือห้องส่วนบุคคล เมื่อกลับไปแล้วก็ทำเหมือนกันเน้นเทคนิคตรงนี้ กระบวนการ และเทคนิควิธี

3. ก. ปฏิบัติการ เดินจงกรมจริงๆ เดินอย่างมีสติจริงๆ ดื่มทำพูดคิด ยืนเดินนั่งนอน ตีโจทย์ได้แตก อยู่อย่างมีสติกำหนดทานอาหารได้ทีละคำ เคี้ยวหนอนเคี้ยวหนอ คนที่กำหนดก็จะรู้ว่าฟัน ฟันที่เคี้ยว เป็นฟันล่างหรือฟันบน คนกำหนดก็จะรู้เอง จึงไม่มีเวลาไปคิดเรื่องอื่นรู้เรื่องอื่น กินอย่างมีสติ รับประทานอย่างมีสติ ฉันยังมีสติ ถอดบทเรียนให้ได้ เขียนเป็นหนังสือ เขียนเป็นตำราเป็นเล่มๆได้เราอ่านหนังสือ งานเขียนของชาวต่างชาติ เราเป็นเจ้าของศาสนาแท้ๆ เราต้องอยู่อย่างมีสติเดินอย่างมีสติกินอย่างมีสติ ถ้าเมื่อไหร่เราเกิดทักษะมันก็จะมีรายละเอียด เขียนเรื่องราวอันนั้นให้เป็นบทบันทึกทางธรรม ธรรมะเรื่องน้อยก็จะเกิดขึ้น ภาคปฏิบัติการจึงเป็นเรื่องใหญ่ แต่ต้องมีกระบวนการมีเทคนิควิธีมีหลักการวิชาการ ที่ชัดเจนที่แม่นในหลัก ยึดโยงกับรูปนามในขันธ์ 5 นี้เป็นหลัก ไม่ทิ้งมัน ทำจนเกิดทักษะ

4. ก. ประสบการณ์ เมื่อทำจนมีทักษะ มันก็เกิด ทันทีที่ได้ประสบการณ์ตรง มันก็จะยิงไปสู่ เราก็จะรู้สึกว่า มันเป็นอย่างนี้ เราทำอย่างนี้จึงเป็นอย่างนี้ นี่ก็คือประสบการณ์ตรง

  1. ก. สิทธิการ ภาคสรุป สรุปว่า 3 วัน 7 วันที่เราทำนั้นเราได้อะไร ที่มันตกผลึก แม้ท่านพระวิปัสสนาจารย์เขาไม่ได้ให้เราบันทึกอะไรหรอกแล้วก็ไม่จำเป็นต้องบันทึกด้วย เพื่อเน้นในสิ่งที่จะเข้ามาใหม่ๆในเชิงชั้นของวิปัสสนา มิติของศาสนาหรือในมุมมองของวิปัสสนา ก็ไม่ต้องจำเพราะมันเป็นประสบการณ์เชิงประจักษ์แล้ว สรุปได้อะไรและอยากฝากอะไร ภายใต้ข้อจำกัดของวันเวลา แต่พูดปฏิบัติก็ได้ ทำเต็มที่ จึงบันทึกไว้เพื่อเตือนความจำตัวเอง ไม่กี่บรรทัดเพียงไม่กี่หน้า เราสามารถที่จะขยายเป็นหนังสือเล่มใหญ่ได้งานธรรมดา กึ่งวิชาการ กึ่งทางการ หรืองานวิชาการ จะพัฒนาเป็นวิทยานิพนธ์ในชั้น ปริญญาโท หรือดุษฎีบัณฑิตก็ได้หมด เขาไม่ต้องการเยอะเขาต้องการแค่ 5 บทเท่านั้นเอง 5 บท 5 ภาค 5 ตอน วิธีการ ขบวนการ ปฏิบัติการประสบการณ์ และภาคสรุป จำบทเรียนได้อย่างนี้ถอดบทเรียนได้อย่างนี้ ถ้าทำได้มันก็จะส่งงานออกไปทั่วโลก หัวข้อว่างานพระกรรมฐานในยุค 4.0 ต้องเป็นอย่างนี้ ในเรื่องการขับเคลื่อน ในเรื่องสัปปายะ งานพระศาสนาต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานหลักๆ 4 ท.

1. ท. สถานที่ ต้องประกอบด้วยสถานที่ เป็นศูนย์กลาง การขับเคลื่อนงานพระศาสนามันต้องมีกลุ่มก้อน เป็นศูนย์รวมคน เพื่อที่จะกระจายหรือเพื่อสร้างเครือข่าย เพื่อส่งต่อให้กับโลก ดังเช่นสถานปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนี่คือศูนย์ที่จะส่งต่อให้กับโลก ส่งต่อให้กับสังคม ในวงกว้างตามพุทธประสงค์ของพระพุทธเจ้า สถานที่ต้องมีและต้องสัปปายะ

2. ท. ทีมงาน ทีมบุคลากรเครือข่าย MOU ไม่จำเป็นต้องทำทั้งหมดแต่ใช้ร่วมมือกันทำงาน รวมถึงพระวิปัสสนาจารย์ก็ต้องมีทีม ต้องสร้างเครือข่าย ทุกวันนี้เราก็ต้องหากลุ่มเป้าหมายทุกวันนี้คนต้องการเรียนสมาธิเชิงพุทธ

การปฏิบัติโดยไม่กินน้ำกินข้าว อยู่ได้ยังไง 5 วัน 10 วัน และที่สำคัญมีความสุข สีหน้าท่าทางที่บ่งบอกถึงความสุข ไม่คิดว่านี่คือคนที่ไม่ได้กินอาหาร เพียงแต่ร่างกายเท่านั้นที่สุดผอม เพราะไม่มีอาหาร เราต้องหาสถานที่ แสดงธรรมะเพื่อส่งต่อ บอกกล่าวเล่าเรื่องว่าทำอย่างนี้นะ จะได้อย่างนี้ ณ เวลานี้โลกตามจริงเขาเป็นแบบนี้ นี่คือบุคลากร ที่เรียกว่าทีมงาน

3. ท. ทุน ขับเคลื่อนงานทุกอย่าง แม้กระทั่งสถานที่ก็ต้องอาศัยทุนทรัพย์ หรือทุนทางสังคมพอสมควร แต่ถ้าเรามีทีมเราก็หาทุนได้ มีมันสมอง มีความคิด ในระดับผู้บริหารเขาต้องการคนมีความคิด ทุนมาเองไม่ยาก เขาต้องการแต่คนที่มีทักษะในเรื่องนั้นๆ

4. ท. ทมะ การฝึกใจ การข่มใจ หรือทำใจ วิปัสสนา ในยุค 4.0 นี่แหละเอาที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหา ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้นนะ ปัญหามีความหลากหลาย ระยะสั้นระยะยาว ถ้าประมวลมาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นสูตร ก. 5 การ 4 ส. 4 ท. ในขบวนการธรรมะเพื่อการดับทุกข์ เหมือนใบไม้ในกำมือ ต้องการเพียงเท่านั้นไม่ต้องเยอะ แต่ใช้แก้ปัญหาได้ จะเอาเยอะไปทำไมไม่มีความจำเป็น พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมแล้ว ตั้ง 84000 พระธรรมขันธ์ เนื้อหามากมายแต่สิ่งที่ได้นิดเดียว นี่คือสิ่งที่ต้องการเน้นย้ำว่าทำแล้วได้อะไร พอได้อะไรแล้วก็จะมีการส่งต่อ พอได้แล้วมีความรู้สึกสำนึกรู้ ขอบคุณครูบาอาจารย์กราบแล้วกราบอีกกราบด้วยปีติสุข น้ำตาไหล น้ำตาคลอกราบขอบคุณครูบาอาจารย์ในสิ่งที่ตัวเองได้ เพราะมันยิ่งใหญ่สำหรับเขา เพราะเขาได้รับความสุขทางจิตวิญญาณ เป็นครู เป็นผู้ให้ทางจิตวิญญาณ ความรู้สึกยิ่งใหญ่สำหรับเขา เขาจะมีความสำนึกเกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องบอกแต่ถ้ามีอะไรที่ผิดพลาด ก็จะกราบขอโทษกราบขอขมาว่า เขาผิดเองและที่สำคัญสิ่งที่ได้มานี้จะเก็บไว้คนเดียวไม่ได้แล้ว อยากแบ่งปัน อยากส่งต่อ อยากบอกกล่าวเล่าเรื่องราว อยากให้ผู้อื่น มาลองทำดูบ้าง งานพระพุทธศาสนาเป็นงานเพื่อส่งต่อธรรมเป็นทอดๆ

————————————–

ภาษาบาลีมีดีอย่างนี้นี่เองเพราะเป็นรากศัพท์ของภาษาไทย เราหาจุดดุลยภาพให้เจอ มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง คือความพอดีพอดี รู้ทั้งภายในภายนอก ตามจริงแล้วแต่อะไรจะปรากฏก่อน เหมือนดูหนัง ……. เอาความลงตัวเอาความพอดี เข้าใจง่ายๆอย่างนี้ ไม่ต้องเยอะ เงินทอง พ่อแม่เป็นชาวไร่ชาวนา โยมค้าขาย ไปตลาด หิ้วตะกร้าไป หาบข้าว ไปไร่ไปนา ต้องวาง คานไว้บนบ่า จะต้องวางแบบไหนล่ะ คนนั้นต้องอ่านหนังสือออกจึงวางไม้คานเป็น ต้องเขียนได้ด้วยหรือ ไม่ต้อง ต้องรู้ตามจริง รู้ง่ายๆ สู้ๆ .. ใสใสบริสุทธิ์อย่างนี้ นี่คืออารมณ์วิปัสสนาตามจริง ดูที่ตรงนี้ดูทั้งภายในภายนอกว่าจะวางจิตอย่างไรให้มันเป็นไปตามความจริง อันนี้คือประเด็น ต้องถอดจิตให้ออก ถอดออกมาดูให้ได้ จึงไม่ได้เน้นแต่ลมหายใจอย่างเดียว เน้น การทำ ต่ออารมณ์ปัจจุบันขณะ ที่เกิด ที่นี่ ขณะนี้ ต้องเข้าใจมากกว่าคนที่อยู่เฉพาะหน้า ถ้าเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่ตรึงเราอยู่ขณะนั้น เราต้องรู้ตามจริงนี่คือปรากฏการณ์ตามจริง แต่การทำภาวนา ภาวนากรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน จิตตภาวนาหรือปัญญาภาวนาอะไรก็แล้วแต่ เรียกว่าการบริหารจิตการเจริญปัญญา อะไรก็ตา มันเป็นแค่คำเรียก

จุดตั้งต้นกรรมฐาน ต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดทำตามเหตุการณ์ จะเริ่มต้นจะเน้นอย่างไรก็ได้ เน้นการแก้ปัญหาได้ เหมือนอีกามันจับเหยื่อมันฉกเหยื่อ แมวมันจับหนู ตะครุบหนู เท่านั้นเอง …….

—————————————-

ทุกขัง ก็คือหันไปรอบๆ หันไปรอบๆตัวนั่นแหละ รอบปริทนต์ ปริแปลว่ารอบๆ ทนต์ แปลว่า กัน รอบปริทนต์ แปลว่า รอบๆฟัน รอบๆฟันก็มีเหงือกนั่นแหละ หาเหงือกให้เจอ ทำให้รู้ได้ทั่ว…. ทั้งภายในภายนอกตามจริงเหมือนดูหนัง หาความลงตัวหาความพอดีเข้าใจง่ายๆอย่างนี้ ไม่ต้องเยอะ

พ่อแม่เราเป็นชาวไร่ชาวนา โยมค้าขายหรือเป็นชาวไร่ชาวนาหอบตะกร้า หอบกระจาด วางตะกร้ามาไม้คานวางบนบ่า วางแบบไหนล่ะ คนนั้นต้องอ่านหนังสือออกหรือไม่จึงจะวางคานเป็น จะต้องเขียนได้ไหม ไม่ต้อง เขารู้ตามจริง … รู้ง่ายๆซื่อๆใสๆบริสุทธิ์อย่างนี้ นี่คืออารมณ์วิปัสสนาตามจริง เราไม่ต้องรู้ทุกอย่างอยู่ที่การฝึกมีท่าทีซึ่งพร้อมเท่านั้นเอง ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา ตรวจดู ว่ามันพร่องตรงไหน เมื่อมีสถานการณ์ที่คับขัน มันไม่ได้บอกว่าจะไปซ้ายไปขวา ไปหน้าไปหลัง ตั้งนะโม 3 จบนึกถึงพ่อแก้วแม่แก้ว มันไม่ใช่ทำสมาธิก่อนสวดมนต์ก่อนไม่มีมันไม่ต้อง จะเอายังไงกับมัน มันนับเศษเสี้ยววิเท่านั้นเอง คือโลกตามจริงเป็นอย่างนั้น พระพุทธศาสนา คืองานอย่างนี้ แต่ถ้ามันมาแล้ว ก็ตามมันทัน

อาตมาจะตั้งคำถามโยม แต่ถ้าตั้งคำถามแล้วจะต้องตอบทันทีเลยนะไม่ต้องอะไรมากมาย โยมผู้หญิงอยู่บทไหนกิริยาใดอาการใดท่าใด ยืนเดินนั่งนอน ตอบได้ไหม โยมอยู่ในท่านั่ง ต้องถามเพื่อนไหม แม้ใช้ความคิดยากเหลือเกิน ต้องคิดไหมยากไหม มันหยั่งรู้ตามจริง ตามธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ใช่จะมีเหตุร้ายทุกเรื่องนะ แต่ต้องเตรียมตัวรับมือกับมันให้ทัน ถ้าเราฝึกสติจนเกิดทักษะมันจะเป็นอย่างนี้ ทักษะมาจากไหนอันนี้อาตมาไม่ได้คิดขึ้นเองนำมาจากพระพุทธเจ้า ทักษะเหมือนนักขมังธนูยิงเป้าแม่นยำ ทั้ง เป้าเคลื่อนที่ เป้านิ่ง เป้าบิน ยิงได้หมด คือ ใช้ทักษะ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ยิงได้เร็วยิงได้ไว ไวขยายความเร็วเร็วขยายความไว เขาทำได้ ที่สำคัญก็คือยิงได้ไกล ต่างหาก ยิ่งกว่านั้นคือยิงตรงตามจิต คือยิงได้แม่น ร้อนก็ปล่อยเอามือออก ทุกปรากฏการณ์ทุกท่าทีมีอยู่เนืองๆ ไม่ได้เยอะนะ ไม่ได้เยอะนะ มีมนสิการอยู่เรื่อยๆ นี่คือการภาวนานะ ยิ่งมีสติ ยิ่งมีการกำหนด นี่คือ กรรมฐานในพระพุทธศาสนา คือมีสติรู้ตัวตลอดเวลา ….. ประเด็นก็คือ มีสติรอบด้านรอบตัว อยู่ตรงนี้รู้ทั้งภายในภายนอกไม่ธรรมดานะ ไม่ธรรมดานะ จะวางจิตอย่างใด มีท่าทีอย่างไร ต้องถอดบทเรียนตรงนี้เอามาให้ได้จึงไม่ได้เน้นเรื่องลมหายใจอย่างเดียว เน้นการรู้เท่าทันเน้นอารมณ์ปฏิบัติ ในขณะนี้ และเดี๋ยวนี้ ถ้าถามเป็นอดีต เราก็อยู่ที่ปัจจุบัน ขณะนี้และเดี๋ยวนี้ ต้องเข้าใจ กับคนที่อยู่เฉพาะหน้า ถ้าเจอกับเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่อยู่ขณะนั้นตรงหน้าตามจริง นี่คือปรากฏการณ์ตามจริง แต่การทำภาวนาวิปัสสนา ภาวนาสมาธิ วิปัสสนากรรมฐานหรือจิตตภาวนาหรืออะไรก็แล้วแต่ การเจริญจิต หรือการเจริญภาวนา ก็เป็นแค่คำเรียก จุดตั้งต้นกรรมฐาน ต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ทางมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เน้นพองยุบเท่านั้น แล้วแต่โยคีถนัด มีท่าไม้ตายอันนี้ต้องศึกษาไว้เรียนรู้ไว้นะ จะนั่งเก้าอี้หรือจะนั่งอย่างไร แล้วแต่นิสิตของเราจะ เข้าใจ แต่ถ้านั่งแบบนี้น้ำหนักมันจะถ่วงดุลดี นั่งได้นานนั่งได้ทน ตัวตรง ก้มเกินไปก็จะทำไม่ได้ทน ไม่ก้มไม่เงย ไม่เอียงซ้ายเอียงขวา ลืมตาดูทั้งหมด ก็ได้ไม่ต้องหลับตานะ หรือฝากเพื่อนๆดูว่าเวลาเรานั่งเป็นอย่างไร เพราะฝึกอย่างไรก็จะได้อย่างนั้น แต่ถ้าในสมาธิถ้ามันเป็นมากกว่านั้นก็แล้วแต่สภาวะที่มันเป็น แต่เบื้องต้นต้องฝึกอย่างนี้ประเด็นก็คือ…… มีสติรอบด้านรอบตัว ทุกเหตุการณ์ทั้งภายในภายนอก อยู่ตรงนี้ถ้ารู้ทั้งภายในภายนอกก็ไม่ธรรมดานะ จะคิดว่าอย่างไรมีท่าทีอย่างไร อันนี้คือประเด็นนะต้องตีโจทย์ให้แตก ต้องถอดบทเรียนอันนี้ออกมาให้ได้ จึงไม่ได้เน้นเรื่องลมหายใจอย่างเดียว แต่เน้นการทำ รู้อารมณ์ปัจจุบันที่ปรากฏที่นี่ขณะนี้ และเดี๋ยวนี้ ถ้าถามอดีตก็เป็นปัจจุบันที่นี่ขณะนี้ ต้องเผชิญหน้ากับคนที่อยู่เฉพาะหน้า ต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่เกิดอยู่ ตรงหน้าตามจริง

นี่คือความหมาย เพราะฉะนั้นเวลาเรามาปฏิบัติ โยมภาวนาพุทโธไปหรือเปล่า บางทีเราก็ไม่ได้ภาวนาแล้ว เพราะกองลมมันละเอียดแล้ว

5 ทอ เทคนิค โยมต้องดูให้ละเอียดนะเหมือนโดนหนัง ต้องรู้ว่า ตัวพระ ตัวนาง ตัวไหนเราก็รู้หมด เมื่อดูเข้าใจเราก็จะวางโลกทิ้งโลก เป็นอิสระจากมัน ฉันไม่รับรู้ คือฉันที่อยู่ในขณะนี้ ที่ดูหนังดูละคร เป็นชั่วโมงหรือมากกว่านั้น รู้สึกค่อยยังชั่วก็ได้พัก แล้วทำงานต่อ อิ่มเอมเต็มที่กับจิตที่เขาหยุดพัก แต่มีงานให้เขาทำ นี่คือวิธี ชั้นเยี่ยมเลยนะ เหมือนดูหนังดูละคร ดูจบแล้วฉัน Happy แต่ถ้าวุ่นวาย ไปกับตัวละคร โดดเข้าไปยุ่งไปวุ่นวายกับเรื่องราวต่างๆ ในละคร ก็ดูละครไม่จบ นี่คือกรรมฐานที่พระพุทธเจ้า สอนไว้ เริ่มจากสมาทานก่อน แล้วกำหนด แล้วดู ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลาแต่อาจพร่องเผลอบ้าง ก็ไม่เป็นไร อยู่ที่การฝึก อยู่ที่ความพร้อมเท่านั้นเอง

หลอมทองหล่อทองโบราณว่า ต้องละเอียดทำได้ยาก ต้องมีขั้นมีตอน เหมือนกันรีดผ้า ก็ต้องแก้ไขไปตาม สภาวการณ์ ไม่ยับไม่ขาด การเดินจนเป็นดินเป็นร่อง สีไม้ให้ได้ไฟ สิ่งหนึ่งมันสิ้นสุดไปมันดับไป แต่มันก็จะเกิดสิ่งใหม่ขึ้นมา ทดแทน นี่คือปรากฏการณ์ตามจริง อย่างนั้นการเห็นอย่างนั้นในกาย การเห็นทั้งกายภายในและภายนอกนั้นคือ ประเสริฐที่สุด ในการปฏิบัติ ก็ต้องมีการ หยุดพักบ้าง พักผ่อนนอนหลับบ้าง สวดมนต์บ้างสาธยายมนต์บ้าง เมื่อจิตบรรลุมันก็จะ ปีติสุขนี่คือการปฏิบัติธรรม ถ้ามันได้ที่แล้ว อยู่เฉยๆก็เป็นการปฏิบัติธรรม ในที่รโหฐานคือ บุคคลภายนอกไม่ได้เข้าไป วันนั้นที่โยมได้แล้วโยมจะหกคะเมนตีลังกาก็ไม่ว่ากัน ถ้าได้ที่แล้วก็อยู่เฉยๆ เหมือนสารถีขี่ม้าหรือขี่วัวเทียมเกวียน อินทรีบารมีถ้ามันลงตัวแล้วมันถูกฝึก ได้ดุลกันแล้ว มันก็จะเกิดของมันเอง เป็นเองเห็นเองอย่างรู้เอง คิดเอง ระหว่างที่คิดนะมันมีคำตอบ ก็ต้องตอบอย่างนี้ แต่มันจะคิดออกมาได้เร็ว มันไม่จำกัดนะ ขอให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง ไม่ผิด แต่วิธีการนั้นคุณจะทำอย่างไร ก็แล้วแต่ตอบโจทย์ได้ก็พอเพียง แต่อาศัยเงื่อนเวลาต้องรู้ต้องเร็ว ต้องเท่าทันตรงสภาวะ ถ้ามันได้ดุลได้เหตุได้ปัจจัยแล้วมันอยู่เฉยๆมันก็คือการปฏิบัติธรรม ผ่อนสบายก็เป็นการปฏิบัติธรรม การเคลื่อนไหวก็เป็นการปฏิบัติธรรม ทำอาหารก็เป็นการปฏิบัติธรรม อันนี้มากอันนี้น้อยอันนี้พอ ก็เพียงแต่สักว่า บริหารไปตามความเหมาะสมอุปมาว่านายสารถีสมัยก่อนเขาเทียมเกวียนเทียมม้า เขาฝึกอินทรีย์ 5 ตัว ถ้าอินทรีย์สมบูรณ์ตอนที่คุณอยู่ นายสารถีก็ไม่ต้องไปบังคับม้า บังคับวัว ขับรถมาหรือบังคับเกวียนไม่ต้องจี้ไม่ต้องลงแส้ ไม่ต้องหวด เพียงอยู่เฉยๆ ที่ต้องทำก็คือทำให้มันลงตัว ศรัทธาคู่กับความเพียร ถ้า ศรัทธา มากไปก็ลงเหว ปัญญามากไปมันก็ฟุ้ง แต่ถ้าลงตัว มันก็ได้ดุลยภาพ ความเพียรคู่กับสมาธิ ก็ต้องได้ดุลยภาพเหมือนกัน นี่คือกฎเกณฑ์ ในเบื้องต้น มันสามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามเหตุและผล ตามสภาวะของท่านผู้นั้น ส่วนนายสารถี มีสติอยู่ตรงกลางเพราะมันรู้ทางขึ้น ก็มุ่งทางตรง จะเลี้ยวก็เลี้ยว คือ มันก็จะเป็นไปได้ตามความเหมาะสม เมื่อการปฏิบัติธรรมได้ มันก็จะรู้สึก ถึงความผิดชั่วดี ในเรื่องของมโนธรรมสำนึกความกตัญญูรู้คุณ มันจะรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์รู้ในสิ่งที่ควรที่ถูกต้อง สิ่งที่ควรก็ควรจะทำให้มาก เป็นความสุข สิ่งที่ไม่ควรเป็นทุกข์เป็นบาปเป็นโทษ ไม่ทำ ควรอยู่ห่าง จะรู้ว่าอันนี้ควรประพฤติอันนี้คนจะเว้น จะรู้เองไม่ต้องมีคนมาบอกนี่คือธรรมะของพระพุทธเจ้ามันรู้เองอย่างนี้ ถ้าเมื่อไหร่มันตกผลึก มันทัน มันก็เป็นองค์ความรู้ ก็รู้ว่าควรทำอย่างไรมันแยกแยะได้ ในเรื่องปฏิบัติก็คือความเท่าทัน ถ้าทำสมาธิก็คือความสงบ เมื่อทำสมาธิได้มันก็จะมีความสุขปีติก็จะเกิดแก่บุคคลนั้น

…….. จึงกำจัดทุกข์ทั้งหมดได้ไม่มีอะไรยากเลย ถึงจะมีอะไรก็ตามก็จะมีหลักยึด ก็จะบริหารจัดการได้ รู้เท่าทันรอบด้านรอบตัว นี่คือทักษะกลยุทธ์แผนและกระบวนการ การเปรียบเทียบเหมือนช่างทองที่มีทักษะ มันคือแผนยุทธศาสตร์เพื่อชัยชนะ แต่เราต้องยืดหยุ่นได้ในเรื่องของยุทธวิธี ต้องสามารถปรับเปลี่ยนยุทธวิธีเพื่อชัยชนะ มีแผนยุทธศาสตร์ปรับยุทธวิธีดำรงวิถี ชีวิตปัจจุบัน ก็อยู่อย่างปกตินั่นแหละ อยู่อย่างพระ ขับเคลื่อนด้วยพลังของสติทั้งสิ้น ด้วยการตัดสินใจอย่างรอบคอบด้วยกันทั้งนั้น ต้องใช้ความอดทนสูงความเพียรสูงต่อสู้ เอาชนะ จนได้ธรรมะเดียวกัน สุดท้าย มันก็แหลมคมบริหารจัดการได้รู้เท่าทันความจริง มีแผนยุทธศาสตร์ปรับยุทธวิธี ดำรงวิถีในชีวิตปัจจุบัน รู้เท่าทันโลกตามจริง ….. ยอมเข้าใจเนื้อหาตรงนี้ ยอม ก็ต้องรอเวลาตกผลึก ดังนั้น การปฏิบัติธรรมที่ให้กำหนดพองยุบ เพื่อจะดูแลผู้ปฏิบัติธรรมไม่ให้มีสมาธิเกิน อารมณ์สมาธิหรืออารมณ์สมถะ การเผชิญกับสิ่งตามจริงก็เหมือนกับเราดูหนัง สติยืดโยงกับหลักได้เราก็สามารถขับเคลื่อน เป็นกองบัญชาการใหญ่ ไปได้ทุกบริบททุกบทบาททุกหน้าที่ เขาจะต้องได้ดุลยภาพที่เหมาะสมคือจุดกึ่งกลางกาย คือ ศูนย์นาภี เหนือสะดือ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า กายานุปัสสนากรรมฐาน มี 6 หัวข้อ เช่นการเดินก็เดิน นั่งก็นั่งไม่ใช่เดิน สติทั้ง 4 และสัมปชัญญะคือจะนอนจับคู่จะ เหยียด ก็แล้วแต่ …. ใจเราตั้งอยู่ คือ อิริยาบถทั้ง 4 ดินน้ำลมไฟ และเรื่องมันเกิดขึ้นก็ดูตาม ถ้าพิจารณาป่าช้า 9 ก็ดูอสุภะ ตายจนเน่าหนอนเห็นกระดูก ถ้าเราดูกายมันก็จะเห็น ธรรมชาติ ก็กำหนด ตามให้ทัน … นี่คือประเด็นนะกายทั้ง 4 ก็ดูไป ที่ท่านเน้นวาโยธาตุ ก็ดูไป เกสาโลมา นักขา อยู่แล้วก็ดูมันไป ที่การปฏิบัติธรรมก็คือต้องกอดลมหายใจอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำมาค้าขายก็ต้องกอดลมหายใจไว้ การปฏิบัติธรรมของ พระสงฆ์องค์เจ้า ก็เช่นกัน การรู้แบบนี้รู้ลูกค้าเดินเข้าเดินออกซื้อขายของขาย รู้ทุกอย่างแบบนี้ก็คือการเจริญสติ นี่ก็คือวิปัสสนากรรมฐานที่ท่านเน้นย้ำ จริงๆก็ทำกันอยู่แล้ว ไม่เห็นมีอะไรยาก จิตตั้งมั่นอยู่ในร่มตลอดเวลาก็เป็นอัปปนาสมาธิ ไม่รู้ ว่ามีเวลาหรือเปล่า ไม่รู้ว่าโยมจะมีวาสนาบารมีหรือเปล่า บางคนบางท่านก็บอกว่าตายแล้วเกิดใหม่จะทำได้หรือเปล่า ก็เพราะความท้อถอยนี่แหละ อย่าไปมองที่สูงเกินไปมองวิถีที่จับต้องได้ประจำวันนั่นแหละ คือเราอยู่กับกองลมตลอดอยู่กะกองลมในปัจจุบันในสิ่งที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นหลักวิชาจึงต้องเน้นคำว่าวาโยธาตุ การพิจารณาอานาปานสตินั่นเอง พระพุทธองค์ทรงเน้น วาโยธาตุ ไว้ถึง 6 ประเภท คือลม 6 ฐาน 6 ที่ 6 ทิศ ที่เรียกว่าปราณนั่นแหละ คือช่องทางเดินลม 6 ช่องทางหรือ หรือ ลม 6 ฐาน 6 ที่ 6 ทิศ ที่เรียกว่าปราณ

ธาตุลมมีความสำคัญมาก เพราะถ้าขาดลม เพียงแค่ไม่กี่ นาที ก็อาจตายได้ การกำหนดลม อานาปานสติลมหายใจเข้าออกนี้ ทำให้ได้รู้ สัมผัส ของลมที่เดินในร่างกาย ถ้าพิจารณาให้ละเอียด จะรู้ว่าช่องทางเดินลมนั้น มีถึง 6 ช่องทาง คือ

1. ลมอุทธังคมาวาตา คือลมพัดขึ้นเบื้องบน จากเหนือสะดือ ถึง ศีรษะ

2. ลมอโธคมาวาตา คือลมพัดลงเบื้องล่าง ตั้งแต่ใต้สะดือ ถึงปลายเท้า

3. กุจฉิสยาวาตา คือ ลมพัดในท้อง กระบังลมนอกลำไส้

4. โกฏฐาสยาวาตา คือ ลมพัดในลำไส้ ลมในกระเพาะ

5. อังคมังคานุสารีวาตา คือ ลมพัดทั่วร่างกาย

6. อัสสาสะปัสสาสะวาตา คือ ลมหายใจเข้าออก

เมื่อรู้ลมแล้ว จะเข้าใจกายานุสติทั้งภายนอกและภายใน และก้าวไปพิจารณา อสุภกรรมฐาน ได้เร็วขึ้น ลมที่อยู่ในกระบังลม ท้องพองท้องยุบ เวลาหิวท้องร้องจ๊อกจ๊อกจ๊อก มีลมพัดในลำไส้และลมในกระเพาะ รูปที่มากระทบถูกสัมผัส ถ้าไม่มีลมก็จะไม่รู้ ทั้งนี้ อยากทำแบบไหน กำหนดแบบใดก็ได้ แต่ทีนี้ปฏิบัติพองยุบดูลมทั่วสรรพางค์กาย คู้เหยียด โยมมาเรียนกรรมฐานนี่ก็มาเรียนเรื่องนี้แหละภาพมันละเอียดก็ตรงนี้แหละ….. ลมที่มากระทบที่ริมฝีปาก บนหรือโพรงจมูก จะรับรู้ตรงไหนก็รับรู้ที่ตรงนั้น จะเข้าออก ลมก็ได้ จะพุทหรือโธก็ได้ เอากองลมไปผูกไว้กับพุทและโธ หรือ เอาพุทและโธไปผูกไว้กับกองลม นี่คือสมาธิ แต่อะไรที่มากเกินไปก็เป็นโทษ ชีวิตของโยม เกี่ยวข้องกับเรื่องราวต่างๆหลายเรื่อง จึงไม่จำเป็นต้องมีสมาธิ ตลอดเวลา แต่ตัวขับเคลื่อนคือตัวสติ ที่มีความ ต้องการทุกกระเบียดนิ้วทุกพื้นที่ ในการปฏิบัติกรรมฐานจึงไม่ต้องมี การเน้นที่สมาธิ แต่ให้มีอาตาปี คือความเพียร ในปัจจุบัน 2 ก็คือสติ ในปัจจุบัน แต่สัมปชัญญะคือตัว โฟกัส และตัวโฟกัสนี้ทำลายล้างสิ่งที่โฟกัสได้ ที่ 1 ความเพียร 2 สติ 3.สัมปชัญญะ อุปมาเหมือนชาวไร่ชาวนามองรวงข้าว ว่าจะเกี่ยวข้าวอย่างไร วิธีการเกี่ยวข้าว ต้องบอกว่ารวมเข้าเป็นแบบไหนจะจับยังไงจะเกี่ยวยังไง จะตวัดเคียวอย่างไรนี่คือสติ ถ้าขาดความเพียร มีทุพพลภาพ จะเอาเรี่ยวแรงที่ไหน ไปทำ การเกี่ยวข้าวก็จะไม่สำเร็จ ไม่เกิดผล นี่คือ นี่คืออาตาปีคือกำลัง หากโยมมีกำลัง แต่จบไม่เป็น การรวบรวมข้าววางเคียว เกี่ยวรวงข้าว ตวัดมาขาดก็คือปัญญา ทำงานร่วมกันนะไม่ได้ขาดจากกันเลย

การเจริญสติ ทำความเพียร ทำภาวนา คือตัวนี้แหละ ในวิธีนี้ เป็นวิธีที่ไม่ยาก เพราะเราเคยทำอานาปานสติมาก่อน อาตมาเคยทำมาก่อน ก็ต้องมาเรียนกับครู เป็นครูของครูอีกทีหนึ่ง ท่านอาจารย์ภัททันตะอาสภมหาเถร ท่านมหามุนีชาวพม่า ที่มาสอน การปฏิบัติ วิปัสสนา เราก็มาฝึก ตัวพองและยุบ ทำความรู้สึกว่าบทนั่ง บทนอน บทยืน บทเดินเป็นอย่างไร เราก็รู้ว่าถ้านั่งเป็นอย่างนี้เหมือนเราส่องกระจกดูตัวเราเอง มือขวาทับมือซ้ายท่านั่งขัดสมาธิมันเป็นเช่นนี้ นั่งมือขวาทับซ้าย ตั้งตรง สำรวจตัวเอง จิตมันเป็นอย่างนี้ แต่จิตชอบส่งออกไปข้างนอก ย้อนกลับมา พิจารณากาย ท่านั่งว่ามันเป็นอย่างนี้ ขนาดมันเป็นอย่างนี้สมาธิมันเป็นอย่างนี้แล้วเลื่อนความรู้สึกลงมา แล้วมองเข้าไปข้างในถึงศูนย์กลางกาย เหนือสะดือ 2 นิ้ว คือจุดโฟกัส ให้รู้พองรู้ยุบ ปรากฏตามจริงเหมือนเราดูหนังไม่ต้องปรุงแต่ง รู้เราคือผู้ดูไม่ใช่ผู้แสดง แล้วเราก็ใส่หนอพองหนอยุบหนอ เป็นคำเดียวกันกับพองและยุบพองหนอยุบหนอเป็นคำเดียวกัน ไม่ทันทั้งพองและยุบ จิตมันมาอยู่แล้ว พรุ่งนี้ถ้าโยมคิดถึงบ้านจิตมันก็ไปแล้วมันต้องฝึก ให้มันอยู่ตรงนี้ มันอยู่ที่หนูอยู่ตรงนี้ให้ได้ คนที่เข้าใจแล้วก็จะต้องจับตรงนี้ให้ได้ มันก็จะรู้ว่ามันคนละเรื่องจริงๆ เหมือนดูหนังดูละคร เราเข้าไปรู้ ไม่ได้ไปแสดง เข้าไปดูว่านมมันไปไหนไปซ้ายไปขวา ดูมันให้ได้ จนเกิดทักษะ หรือนอนเหยียดยาว ที่สำคัญคนเคยชินพุทโธยุบหนอพองหนอเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ทำจนเกิดทักษะ ใช้บทพองยุบให้ทันหายใจก็จะไม่ติดขัดเป็นวาโยธาตุ นี้คือ อุบายใหม่ หายใจยาว หายใจลึก รู้สึกยาวเป็นอาการอานาปานสติโดยอ้อม มาหายใจที่ท้องรู้ว่า เป็นธาตุลม ทำกรรมฐานได้ เราก็จะรู้ว่าเรามารู้สึกว่าไทยใจที่ท้องตั้งแต่เมื่อไหร่ คนที่หายใจถึงท้องเป็นคนที่หายใจลึกหายใจยาว ลึกก็รู้ว่าลึกยาวก็รู้ว่ายาวก็คือเข้าออก ยาว ก็คือเป็นอานาปานสติโดยอ้อมนั่นเอง เมื่อก่อนเราหายใจเข้าหายใจออกเป็นคนละเรื่อง แต่เดี๋ยวนี้มันเป็นเรื่องเดียวกัน แต่ก่อนเราเหนื่อยเราจุก รู้สึกปวดเศียรเวียนเกล้า หนักเนื้อหนักตัว แต่ทำไมมันเบาสบายเย็นหายใจนิดเดียวก็ถึง หายใจอิ่ม เบาสบาย นี่หัดทักษะโดยอ้อมไม่ต้องแบกลมทันทีที่สัมผัส ที่เป็นวิธีการของพระพุทธเจ้า จับทันอาการเหมือนโยนก้อนหินกระแสน้ำ ตูม กระเพื่อมเป็นเรื่องของมัน มองตามเฉยๆ มันไปกระทบหทัย กระทบลิ้นปี่ ไม่ต้องสนใจมัน อยู่ตรงกลาง เหมือนมองผู้หญิง ไม่ต้องเหลียวซ้ายแลขวา เป็นวิธียืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปสู่เป้าหมาย รู้เท่าทันตามจริง นี่เป็นศาสตร์มหัศจรรย์ที่พระพุทธเจ้าส่งต่อให้ชาวโลก พอทำได้ไม่จำเป็นต้องเป็นชาวพุทธ ก็ทำได้เพียงให้มีหิริ โอตัปปะ รู้ว่า อะไรควร ไม่ควร จึงเป็นธรรมคุ้มครองโลก ให้มนุษย์มีความสุขสงบภายใน …. เป็นการกำจัดนิวรณธรรม เป็นธรรมที่ พระตถาคตบอกทางไว้ นัตถิ สันติ ปะรัง สุขัง…….. งานส่งต่อธรรมคืองานกรรมฐาน 4.0 ทำแล้วเกิดสุขสุขแท้ พระพุทธเจ้าบอกชี้ทางอยากได้ทำเอง

ทำที่ส่งต่อไปให้กับชาวโลก ให้มีความสุขสงบสันติ มีความเย็นภายใน และรู้จักแบ่งปัน นี่แหละ เมื่อมีสติ ก็รู้สึกอยากแบ่งปัน มีอุปการะธรรม ท่านเปิดกว้างสอนทางไว้ให้รู้เองปฏิบัติเอง การจำกัดนิวรณธรรม ที่เรามาปฏิบัตินี้ คือการเดินยืนนั่งนอน ในที่นี้ให้เดินก่อนเป็นเบื้องต้น ถ้าเข้าใจก็จะทำได้ พระพุทธองค์ตรัสว่าทางมีอยู่ ตถาคตมีอยู่เป็นกัลยาณมิตรบอกทาง นิพพานก็มีอยู่นัตถิ สันติ ปะรัง สุขังความสุขยิ่งกว่าความสงบไม่มี หาคนเป็นผู้บอกทางถ้าเธอไม่เดินไปตามทางนี้เธอจะ รู้ได้อย่างไร พระองค์ยังตรัสว่า ทางเดินนี้ ต้องอาศัยกัลยาณมิตรด้วย การทำความเพียรการปฏิบัติวิปัสสนาเป็นหน้าที่ ของท่านทั้งหลาย พระองค์ทรงเป็นกัลยาณมิตรบอกทาง ความสุขอื่นยิ่งกว่าความสงบเป็นไม่มี เมื่อมีสุขวิหาร ก็อยากบอกต่อ อยากเล่าเรื่อง สิ่งนี้คืองานเผยแผ่พระกรรมฐานในยุค 4.0 ดำเนินวิถีปัจจุบันรู้เท่าทันโลกตามจริง

จิตสงบ สุขแท้ ทุกคน

จิตวุ่น จิตสับสน สุขลี้

มุ่งสุข หมั่นฝึกฝน จิตอยู่เสมอนา

พระพุทธเจ้า เพียงบอกชี้ อยากได้ทำเอง

————————————————————————————-

บรรยายธรรมในโครงการฝึกอบรมปฏิบัติธรรม ราชธรรม ราชทัณฑ์
ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรม มหาจุฬาอาศรม ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ระหว่างวันที่ 20 – 24 สิงหาคม 2506
โดย พระครูศรีนิคมพิทักษ์ พระวิปัสสนาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

————————————————————————————

 

Close