กิจกรรมข่าวประชาสัมพันธ์

บัณฑิตวิทยาลัยจัดรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนิสิตระดับปริญญาโท-ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กำหนดให้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน – วันที่ 15 ธันวาคม 2559 ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 

mahachula

 

maha1 maha2 maha4 maha5

บัณฑิตวิทยาลัยจัดรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนิสิตระดับปริญญาโท-ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กำหนดให้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน – วันที่ 15 ธันวาคม 2559 ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 

ขอเล่าประวัติความเป็นมาของครูบาอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐานท่านหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญในการเผยแผ่วิปัสสนากรรมฐานในเมืองไทย คือ พระอาจารย์ภัททันตะ  อาสภเถระ  ธัมมาจริยะ เพื่อเป็นวิทยาทาน ดังนี้

ชาติภูมิ

พระอาจารย์ภัททันตะ  อาสภเถระ  ธัมมาจริยะ มีนามเดิมว่า หม่องขิ่น  ถือกำเนิดในสกุลตวยเต้าจี้  ซึ่งเป็นสกุลขุนนางชั้นสูงของเมียนม่าร์  บิดามีนามว่า  อุโพอ้าน  มารดามีนามว่า  ด่อเปียว  ท่านเป็นบุตรคนใดท้องในจำนวนพี่น้อง ๓ คน  เกิดที่บ้านตำบล  จวนละเหยียน  อำเภอเยสะโจ  จังหวัดปะคุกกู่  สหภาพเมียนม่าร์  เมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๒ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๕๔ เวลา ๑๐.๔๕ น.

คันถธุระ

ครั้นเจริญวัยมีอายุได้ ๗ ปี คือ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๑ โยมบิดามารดาได้พร้อมใจกันนำไปฝากให้เรียนหนังสือ ที่วัดจวนละเหยียนเหนือ ซึ่งมีท่านพระภัททันตะ ปุญญมหาเถระ เป็นเจ้าอาวาสและเป็นพระอาจารย์ ได้รับการศึกษาเริ่มต้นตั้งแต่ นโม พุทฺธาย สิทฺธํ ตลอดไปจนกระทั่งถึงทศมหาชาดก ซึ่งเป็นพื้นฐานการศึกษาทางพระพุทธศาสนาของเยาวชนชาวพม่า ขณะที่กำลังศึกษาทศมหาชาดกอยู่นั้น ท่านพระภัททันตะ ปุญญมหาเถระ ผู้เป็นพระอาจารย์ ได้ถึงมรณภาพลง จึงจำเป็นต้องย้ายไปศึกษาต่อที่วัดโชติการาม อำเภอเยสะโจ จังหวัดปะคุกกู่ โดยมีท่านพระภัททันตะ ญาณมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดโชติการาม เป็นพระอาจารย์ให้การอบรมสั่งสอนต่อไป

เมื่อเจริญวัยมีอายุได้ ๑๕ ปี คือ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๙ ได้บรรพชาเป็นสามเณรโดยมีท่านพระภัททันตะ ญาณมหาเถระ เจ้าอาวาสวัดโชติการาม เป็นพระอุปัชฌาย์ให้บรรพชา มีฉายาว่า อาสโภ ครั้นบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว พระอุปัชฌาย์ได้ให้การอบรมสั่งสอนระเบียบวินัยข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ตลอดจนให้ศึกษาไวยากรณ์บาลีมหากัจจายน์และพระอภิธัมมัตถสังคหะอรรถกถา อันเป็นพื้นฐานการศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกบาลีของคณะสงฆ์พม่า

มหาวิสุตารามมหาวิทยาลัย

กาลต่อมา ท่านอาจารย์พระภัททันตะ ญาณมหาเถระ ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ พิจารณาเห็นว่าสามเณรอาสภะมีสติปัญญาสามารถที่จะศึกษาพระปริยัติธรรมชั้นสูงได้อย่างแน่นอน จึงนำไปมอบถวายตัวให้กับ ท่านพระภัททันตะ ปัญญามหาเถระ อัครมหาบัณฑิต ปัญจนิกายปารคู สะยาด่อร์ ผู้เป็นคณะปาโมกข์ ณ มหาวิสุตารามมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์พม่า  มีนักศึกษามากมายนับเป็นจำนวนพันทีเดียว สามเณรอาสภะก็ตั้งหน้าศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมอยู่ที่นั่นเป็นการถาวร โดยศึกษาพระคัมภีร์ต่างๆ เช่น พระคัมภีร์อภิธานฉันปกรณะ        อลังการะ รูปสิทธิ สัททนีติ พระคัมภีร์กังขาวิตรณีอรรถกถาและพระคัมภีร์อภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา เป็นอาทิ ตามลำดับหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้

ครั้นเจริญวัยมีอายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ สมควรที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้แล้ว จึงหยุดพักการศึกษาชั่วคราว เดินทางกลับไปเข้าพิธีอุปสมบทที่ตำบลบ้านเกิด ในการอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดจวนละเหยียน อำเภอเยสะโจ จังหวัดประคุกกู่ เมื่อ  ปีมะแม จุลศักราช 1293 ตรงกับวันอาทิตย์ ที่ 21 เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช 2473 โดยมีพระสงฆ์เข้าร่วมในพิธีอุปสมบทกรรม คือ

  1. พระภัททันตะ ญาณมหาเถระ เป็นพระอุปัชฌาย์
  2. พระภัททันตะ อูเกลาสมหาเถระ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
  3. พระภัททันตะ อูปัญญามหาเถระ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

นอกจากนี้ ยังมีพระสงฆ์เถรานุเถระเข้าร่วมเป็นการกสงฆ์อีก ๑๕ รูป เสร็จญัตติ        จตุตถกรรม เวลา 09.20 น.

ธัมมาจริยะ

เมื่ออุปสมบทเรียบร้อยแล้ว พระภิกษุอาสภะนักศึกษา จึงเดินทางกลับมาศึกษาต่อ ณ มหาวิสุตารามมหาวิทยาลัย คือ พระไตรปิฎกบาลี พร้อมทั้งพระคัมภีร์อรรถกถา ฎีกาอนุฎีกา โยชนา และพระคัมภีร์อื่นอีกหลายพระคัมภีร์ โดยมีพระมหาเถระผู้ทรงคุณวุฒิชั้นสูง เป็นพระคณาจารย์ให้การสั่งสอน คือ

1.พระภัททันตะ ปัญญามหาเถระ อัครมหาฐัณฑิต คณะปาโมกข์

2.พระภัททันตะ สุนทรมหาเถระ อภิธชมหารัฐคุรุ คณะปาโมกข์

  1. พระภัททันตะ นันทวังสมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต คณะปาโมกข์

พระภิกษุอาสภะนักศึกษา พยายามศึกษาพระคัมภีร์ทางพระพุทธสาสนาอยู่กับพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิสูงเยี่ยมชั้นอัครมหาบัณฑิต และอภิธชมหารัฐคุรุ ณ มหาวิสุตารามมหาวิทยาลัย ด้วยอุตสาหะวิริยะเป็นอย่างยิ่ง จวบจนถึงปีพุทธศักราช 2480 คือ เมื่อท่านเจริญวัยมีอายุได้ 27 พรรษา 7 ก็ได้สำเร็จการศึกษาชั้น ธัมมาจริยะ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดแห่งการศึกษาคณะสงฆ์เมียนม่าร์

การศึกษาพิเศษ

แม้ว่าจะได้ศึกษาพระปริยัติธรรมมากมายหลายพระคัมภีร์ จนจบหลักสูตรชั้นสูงสุดแห่งการศึกษาคณะสงฆ์พม่าแล้วก็ตาม ถึงกระนั้น พระภัททันตะ อาสภะ ธัมมาจริยะยังมีความประสงค์ที่จะแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มพูนความเป็นพหูสูตให้ยิ่งขึ้นไปจึงออกเดินทางจากมหาวิสุตารามมหาวิทยาลัยไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาวิชาความรู้กับพระมหาเถระผู้มีชื่อเสียงเกรียงไกร ดังต่อไปนี้

1.พระคุณท่านภัททันตะ  นารทมหาเถระ  อัครมหาบัณฑิต  ปัญจนิกายปารคู            วัดทักขิณาราม นครมัณฑเล

2.พระคุณท่านภัททันตะ โกญทัญญมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต  วัดพญาจีใต้  พระนครย่างกุ้ง

3.พระคุณท่านภัททันตะ  นันทิมามหาเถระ  อัครมหาบัณฑิต  ปัญจนิกายปารคู  สันจองสะยาด่อร์ วัดขิ่นมะกัน นครมัณฑเล

4.พระคุณท่านภัททันตะ นันทิยมหาเถระ วัดตูมอง นครอมรปุระ ท่านผู้นี้มีกิตติศัพท์บันลือในสมญานามว่า พระอาจารย์ใหญ่สะย่าด่อร์ดัง  “ญะหวา”  (ทไวไลท์)  หมายความว่า    พระคุณท่านเป็นผู้แตกฉานชำนาญในการสอนพระอภิธรรมและข้อความลึกซึ้งรู้ได้ยากอย่างยิ่ง ทั้งวิธีการสอนของท่านก็ผิดแตกต่างจากพระคณาจารย์ทั่วไป คือ ท่านทำการสอนในเวลากลางคืนที่เงียบสงัดโดยไม่ต้องใช้แสงไฟและไม่ต้องใช้หนังสือตำราหรือพระคัมภีร์ ทั้งผู้เรียนและผู้สอน

5.พระคุณท่านภัททันตะ วิมลมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต วัดมงคลเก่านครอมรปุระท่านรูปนี้มีสมญานามว่า ท่านอาจารย์ใหญ่โมกุกสะยาด่อร์ มีคุณวิเศษสามารถสอนพระพุทธวจนะได้อย่างแม่นยำและถูกต้องถ่องแท้ ทั้งเป็นผู้ทรงคุณธรรมสูงส่ง เมื่อท่านถึงมรณภาพไปแล้ว ปรากฏมีเหตุอัศจรรย์หลายอย่างเกิดขึ้นให้เป็นที่ประจักษ์แก่มหาชนทั่วไป

พระภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ ใช้เวลาแสวงหาความรู้เพิ่มเติม โดยฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาอยู่กับพระมหาเถระผู้มีชื่อเสียงโด่งดังเหล่านี้ เป็นเวลานานถึง 3 ปี จวบจนท่านมีอายุได้ 30 พรรษา 11  จึงเดินทางกลับมาสำนักเดิม  คือที่มหาวิสุตารามมหาวิทยาลัยอีกครั้งหนึ่ง   บรรดาพระมหาเถระคณะปาโมกข์ฝ่ายคันถธุระในมหาวิทยาลัยเมื่อได้ทราบความเป็นไปของท่านแล้ว ต่างมีความพออกพอใจเป็นอย่างมาก ในวิริยะอุตสาหะและความเฉลียวฉลาดแตกฉานในด้านพระปริยัติธรรมของท่าน จึงมีมติเป็นเอกฉันท์แต่งตั้ง พระภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ ให้ดำรงตำแหน่งที่ คณะวาจกะสะยาด่อร์ คือเป็นพระคณาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ประจำมหาวิทยาลัย มีหน้าให้การศึกษาพระไตรปิฎกบาลี อรรถกถา ฎีกา และพระคัมภีร์ต่างๆ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2483 เป็นต้นไป

จึงเป็นอันรวมความได้ว่า  ขณะนี้  พระอาจารย์ภัททันตะ  อาสภเถระ  ธัมมาจริยะ   คณะวาจกะสะยาด่อร์  ท่านได้ก้าวขึ้นมาถึงความสุดยอดการบำเพ็ญหน้าที่ด้านคันถธุระโดยสมบูรณ์แล้ว หลังจากตั้งอกตั้งใจเฝ้าเล่าเรียนศึกษาวิชาการทางพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ปฐมวัย ตราบเท่าถึงจุดหมายปลายทางได้เป็นผู้บอกพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกบาลีตลอดจนพระคัมภีร์ต่างๆ ในฐานะพระอาจารย์ใหญ่ระดับคณะวาจกะรูปหนึ่ง ในบรรดาคณะวาจกะประจำมหาวิสุตารามมหาวิทยาลัย ซึ่งมีอยู่เพียง 7 รูปเท่านั้น

วิปัสสนาธุระ

พระภัททันตะ  อาสภเถระ  ธัมมาจริย  คณะวาจกะสะยาด่อร์  อุตสาหะบำเพ็ญหน้าที่พุทธสาวกด้านคันถธุระ  ด้วยการให้การศึกษาพระไตรปิฎกบาลี  อรรถกถา  และนานาพระคัมภีร์  ที่มหาวิสุตารามมหาวิทยาลัย  ตามที่ได้รับมอบหมายจากบรรดาท่านคณะปาโมกข์ทั้งหลาย  อันเป็นการธำรงไว้  ซึ่งพระปริยัติศาสนาอยู่เป็นเวลาช้านาน  ประมาณ ๑๐ ปี คือ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2483  จนถึงปีพุทธศักราช 2493

ในปีพุทธศักราช 2493 นั้น  ก็ให้มีอันเป็นเกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในวิถีชีวิตของท่าน คือ วันหนึ่งท่านได้มีโอกาสพบกับพระภัททันตะ  คันธมามหาเถระ อัครมหาบัณฑิต  ผู้มีเกียรติคุณสูงเด่นในด้านวิชาการชั้นสูง  ซึ่งเป็นที่ยอมรับของมหาชนทั่วไป  เมื่อสนทนาปราศรัยกันพอสมควรแล้ว  ท่านพระคันธมามหาเถระได้มอบหนังสือให้เล่มหนึ่ง  พร้อมกับสั่งกำชับว่าจงอ่านให้ได้     เย็นวันนั้น  ครั้นท่านเดินทางมาถึงที่พักส่วนตัว  ณ มหาวิสุตารามมหาวิทยาลัย  หลังจากสรงน้ำชำระร่างกายเป็นที่สบายแล้ว  นึกถึงหนังสือเล่มนั้นขึ้นได้จึงนำเอามาพิจารณา  ปรากฏว่าหนังสือเล่มนั้น มีชื่อว่า แนวปฏิบัติวิปัสสนา รจนาโดย พระอาจารย์ภัททันตะ โสภณมหาเถระ  อัครมหาบัณฑิต  หรือพระอาจารย์มหาสี  สะยาด่อร์  เมื่อตั้งใจอทานจนจบ  ตามตำกำชับของท่านพระคันธมามหาเถระแล้ว  ก็ให้เกิดความพิศวงชขึ้นในใจว่า  ในสมัยปัจจุบันนี้ วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาที่ถูกต้องและได้ผลยังปรากฏมีอยูในโลกจริงหรือ? เมื่อปฏิบัติวิปัสสนาแล้ว  พระวิปัสสนาญาณจักปรากฎขึ้นในสันดานของผู้คนในโลกปัจจุบันนี้จริงหรือ?  หากว่าเรื่องเหล่านี้ไม่เป็นความจริงแล้ว เหตุไฉนพระอาจารย์ภัททันตะ  โสภณมหาเถระ  จึงเขียนไว้อย่างชัดเจรในหนังสือนี้เล่า  จะว่าพระอาจารย์มหาสี  สะยาด่อร์เขียนไว้ด้วยความงมงาย  หรือท่านเขียนไว้ด้วยความประสงค์จะให้เป็นเล่ห์เป็นกลหรือให้ผู้คนหลงเชื่อเลื่อมใส  ก็ยากที่จะคิดเห็นให้เป็นไปเช่นนั้น  เพราะว่าท่านมหาเถระผู้รจนาหนังสือนี้  เมื่อพิจารณากันตามฐานะทีเป็นจริงแล้วพระคถุณท่านเป็นผู้มีชื่อสเยงเสียงโด่งดังในด้านที่มีคุณธรรมสูงส่งระดับเป็นปูชนียบุคคล  เป็นที่เคารพบูชาของมหาชนเป็นอันมาก  ทั้งเป็นผู้ทรงสมรณศักดดิ์สชั้นสูงระดับอัครมหาบัณฑิตอันพระสงฆ์ที่จะดำรงสมณศักดิ์เป็นอัครมหาบัณฑิตในประเทศพม่านั้น  ย่อมเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องเป็นผู้ผ่านการศึกษาฝ่ายพระปริยัติธรรมหรือคันถธุระมามากมายหลายพระคัมภีร์จนมีความรู้เชี่ยวชาญจบหลักสูตรสูงสุดการศึกษาชั้นธัมมาจริยะ  มาก่อน  แล้วประกอบคุณงามความดีเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาให้เป็นที่ประจักษ์  จังจะมีโอกาสได้รับสมณศักดิ์ชั้นสูง เป็นอัครมหาบัณฑิตได้

บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน

ครั้นเกิดความพิศวงสงสัยขั้นมาในใจเช่นนี้  พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระธัมมจริยะผู้เป็นพระคณาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ในตำแหน่งคณะวาจกะ  แห่งมหาวิสุตารามมหาวิทยาลัยก็พลันตัดสินใจ  จะเข้าบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน  เพื่อพิสูจน์ให้พบข้อเท็จริงว่าจะเป็นเช่นใดกันแน่  จึงเดินทางมุ่งหน้าไปสำหนักปฏิบัติกรรมฐาน  วัดสวนลน  จังหวัดเมียนฉั่น  เข้าไปขอกรรมฐานกับท่านอาจารย์ภัททันตะ  กวิมหาเถระ  ปธานกัมมัฏฐานจริยะ  แล้วเริ่มตั้งใจปฏิบัติทันใด  ในขณะที่ปฏิบัติอยู่นั้น ได้รับความอุปถัมภ์จากอุบาสิกาท่านหนึ่ง  มีนามว่า อุบาสิกาด่อร์มะมะ  อุตสาหะปฏิบัติบำเพ็ญอยู่เป็นเวลานาน ๔๕ วัน

เมื่อเข้าปฏิบัติกรรมฐานกับทานอาจารย์พระภ้ททันตะ กวิมหาเถระ  เป็นแนวทางเบื้องต้นแล้ว  จึงเดินทางไปยังสำนักวิปัสสนากรรมฐานวัดมหาสี  ตำบลเชตโข่น  เมืองสวยะโบ่  อันเป็นสักนักของพระมหาสี สะยาด่อร์   ผู้รจนาหนังสือแนวปฏิบัติวิปัสสนา  โดยตรง  ครั้นถึงสำนักวิปัสสนาวัดมหาสี ก็เริ่มขอกรรมฐานและลงมือปฏิบัติวิปัสสนาตามคำสอนทันที  โดยมีท่านพระภัททันตะ  โสภณมหาเถร อัครมหาบัณฑิต  และท่านพระภัททันตะ สวยะเจตีย์ สะยาด่อร์ อัครมหาบัณฑิต  เป็นพระวิปัสสนาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน  ตั้งใจปฏิบัติบำเพ็ญด้วยความเข้มงวดกวดขันเป็นอย่างยิ่ง  เมื่อปฏิบัติไปก็ให้อัศจรรย์ในในผลของการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมยิ่งขึ้นทุกวัน  แล้วในที่สุดก็ได้ผลสมความมุ่งหมาย คือ ความสงสัยในใจในกรณีที่ว่า วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาที่ถูกต้องและได้ผลยังปรากฏมีอยู่ในโลกนี้จริงหรือ  ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า  วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  ที่ท่านอาจารย์มหาสี สะยาด่อร์สอนอยู่ในปัจจุบันนี้  เป็นวิธีการที่ใช้สอนวิปัสสนากรรมฐานมานานช้า  โดยสืบวิปัสสนาวงศ์มาแต่องค์พระอรหันต์  ผู้เป็นสัทธิวหาริกของท่านพระมหาโมคคัลลีบุตรสังฆวุฒาจารย์  ที่พากันนำพระพุทธศาสนามาประดิษฐาน ณ สุวรรณภูมิประเทศโดยแท้

วิปัสสนาวงศ์

จริงอย่างนั้น  กาลเมื่อองค์อรหันต์ท่านพระโมคคัลลีบุตรสังฆเถรเจ้า  ได้ชักชวนพระสงฆ์องค์อรหันต์ จำนวน ๑,๐๐๐ ให้ช่วยกันกระทำการตติยสังคายนา ณ กรุงปาฏลีบุตรแดนชมพูทวีป  เสร็จลงเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๕ แล้ว  พระผู้เป็นเจ้าก็มีจิตผ่องแผ้วค่อยพิจารณาดูความเป็นไปของพระพุทธศาสนาก็เห็นแจ้งชัดด้วยพระอนาคตังสญาณว่า ในอนาคตกาลพระพุทธศาสนาอันมีคันถธุระและวิปัสสนาธุระเป็นหลัก  จักประดิษฐานอยู่ด้วยดีสืบไป  ก็แต่ในปัจจันตชนบทประเทศเท่านั้น  พระคุณท่านจึงมีบัญชาให้เรียกประชุมสงฆ์  ล้วนแต่องค์พระอรหันต์มากมายเป็นมหาสังฆสันนิบาตทันใด  แล้วมีประกาศิตสั่งพระอรหันต์ผู้ทรงคุณวิเศษให้เดินทางไปประดิษฐานพระพุทธศาสนายังประเทศต่างๆ เช่น ให้พระมัชฌันติกเถระอรหันต์ไปประดิษฐานพระพุทธศาสนา ณ กัสมิรนคร  คันธารัฐ  และให้พระมหาเทวเถระอรหันต์ไปประดิษฐานพระพุทธศาสนา ณ รัฐมหิสถมณฑล เป็นต้น

แล้วท่านพระมหาโมลคัลลีบุตรสาวกองค์สำคัญของสมเด็จพระทศพลเจ้า  ซึ่งเป็นพระอรหันต์ผู้เฒ่าเข้าวัยชรา ๗๒  พรรษา  จึงกวักหัตถ์เรียกสองพระอรหันต์หนุ่มนามว่าพระโสณะอรหันต์และพระอุตตระอรหันต์  ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกรับใช้ใกล้ชิดของตน  ให้เข้ามานั่งในท่ามกลางสังฆมณฑล  แล้วมีประกาศิตสั่งว่าเธอทั้งสองเป็นผู้ที่เราเฝ้าสอนให้บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน  จนได้สำเร็จเป็นอรหันต์วิเศษแล้ว  ครั้งนี้ขอเธอทั้งสองจงเห็นแก่พระพุทธศาสนาและเห็นแก่เราผู้เป็นพระอุปัชฌาย์จงพากันเดินทางไปยังรัฐสุวรรณภูมิช่วยกันประดิษฐานพระพุทธศาสนา  และสั่งสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานให้มหาชนในเมืองนั้นได้บรรลุมรรคผลนิพพานจงได้

พระโสณะอรหันต์และพระอุตตระอรหันต์ เมื่อได้ฟังคำสั่งของท่านพระมหาโมลคัลลีบุตร  ผู้เป็นใหญ่  ก็น้อมรับเอาด้วยใจยินดีปรีดา  อภิวันท์อำลาองค์พระอุปัชฌาย์และพระสงฆ์ในมหาสันนิบาตนั้น  ชักชวนพระอรหันต์สหายกัน ๕ รูป  เดินทางมุ่งหน้ามาสุธรรมนคร  รัฐสุวรรณภูมิโดยพลัน

วิปัสสนา

ยุคพระโสณุตตระอรหันต์

สมัยนั้น สุธรรมนครหรือเมืองสุธรรม รัฐสุวรรณภูมิ ปกครองโดยพระราชาพระองค์หนึ่ง ซึ่งทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าสิริมาโสกราชธิบดี สภาพบ้านเรือนในเมืองสุธรรมโดยมากมีสัณฐานเหมือนบ้านเรือนของคนเผาโอ่ง ฉะนั้น ผู้คนทั้งหลายที่ได้ไปพบเห็นจึงเรียกเมืองสุธรรมนั้นอีกชื่อหนึ่งว่าเมืองเผาโอ่ง สถานที่ตั้งเมืองสุธรรมหรือเมืองเผาโอ่งนี้ อยู่ใกล้ชิดติดกับมหาสมุทรสุดลึกล้ำ จึงปรากฏว่า มักมีพวกนางยักขิณีผีเสื้อน้ำ พากันขึ้นมาจับทารกแรกเกิดในพระบรมมหาราชวัง เอาไปบริโภคเป็นภักษาหารอยู่เสมอนานมาแล้ว เรื่องนี้เป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไป

ในวันที่ท่านพระโสณะและพระท่านอุตตระสองพระอรหันต์ พร้อมกับคณะของท่านเดินทางมาถึงเมืองสุธรรมนั่นเอง  บังเอิญสตรีชาววังนางหนึ่งคลอดบุตรออกมาเป็นชาย  ผู้คนชาวเมืองทั้งหลายเห็นคณะพระเถระเจ้า  ซึ่งนุ่งห่มผิดแผกต่างจากคนธรรมดา  ก็เข้าใจว่าเป็นแนวหน้าหรือเป็นสหายของพวกนางยักขิณีผีเสื้อน้ำ  จึงตกอกตกใจตะโกนก้องร้องบอกกันต่อๆ ไปว่า ชาวเราทั้งหลาย จงระวังตัวไว้  สหายของพวกนางผีเสื้อน้ำล่วงหน้ามาแล้ว  จงระวังทารกแรกเกิดใหม่ไว้ให้ดีๆ อย่าให้มันชิงเอาไปได้  พระโสณะอรหันต์ผู้เป็นหัวหน้าคณะได้ยินเสียงตะโกนแปลกประหลาดเช่นนั้น จึงได้เข้าไปไต่ถามว่าเป็นประการใด  ครั้นทราบความเป็นไปโดยตลอดแล้ว     ก็บอกว่า  พวกเราเป็นสมณะในพระพุทธศาสนา ถือศีลมั่นในศีลไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตทั้งเป็นผู้มี        กัลยาณธรรม  จะเป็นพรรคพวกของเหล่านางยักขิณีผีเสื้อน้ำได้กระไรเล่า

พระโสณะอรหันต์เถรเจ้ากล่าวมิทันจะขาดคำ  เหล่านางยักขิณีผีเสื้อน้ำก็พากันขึ้นมาจากมหาสมุทร  แล้ววิ่งดาหน้าจะเข้าไปจับทารกในพระบรมมหาราชวัง  เอามาเป็นภักษาของตนเสียเช่นเคยทำมา  สมเด็จพระราชาธิบดีและชาวเมืองทั้งหลายเห็นเหตุร้ายเช่นนั่น ก็พลันตกใจกลัวตัวสั่นร้องเอะอะโวยวาย วิ่งเข้าไปยุดชายจีวรทรงขององค์พระอรหันต์  ปากก็ร้องลั่นขอให้ช่วยป้องกันอันตรายอันจะเกิดจากพวกนางผีร้ายเหล่านั้นด้วย

เหล่าพระอรหันต์ผู้ทรงญาณอภิญญา  ท่านหันหน้ามาปรึกษากันซุบซิบ แล้วก็พากันรีบหยิบเอาดินมาปั้นเป็นรูปมนุสีหะ คือ เป็นรูปมนุษย์ติดกันสองตัว แต่มีหัวเป็นราชสีห์หัวเดียว แล้วอธิษฐานด้วยอรหันตฤทธิ์  ให้มนุสีหะนั้นวิ่งไล่ขบกัดเหล่านางยักขิณีผีเสื้อน้ำเป็นพัลวัน  ไม่ช้าไม่นานพวกนางตัวร้ายก็พากันวิ่งหนีเตลิดเปิดเปิงลงไปในมหาสมุทรทั้งโขยง

สมเด็จพระเจ้าสิริมาโสกราชาธิบดีพร้อมทั้งชาวเมืองสุธรรม ประสบพบเห็นปาฏิหาริย์มหัศจรรย์เพียงเท่านี้  ก็มีจิตเคารพเลื่อมใสเป็นหนักหนา  จึงเมื่อคณะพระอรหันต์ท่านจะว่าสั่งสอนสิ่งใด  ก็ตั้งใจเคารพเชื่อฟังด้วยดี  เลยมีกฎประเพณีสืบต่อกันมาแต่ครั้งนั้น  ให้เขียนรูปมนุสีหะลงในใบตาลหรือใบเสม็ด  มอบให้ทารกแรกเกิดติดประจำกายไว้เพื่อป้องกันภัยจากนางยักขิณีผีร้ายจงทั่วทุกคน

ครั้นเมื่อพิจารณาเห็นมหาชนเคารพเลื่อมใสด้วยดีแล้ว  พระโสณะและพระอุตตระอรหันต์ผู้ทรงฌานอภิญญาก็ถือโอกาสแสดงพระธรรมเทศนาพรหมชาลสูตรในเมืองสุธรรมนั้น  พอจบพระธรรมเทศนาอันวิจิตรพิศดารมีเหล่ากุลบุตรเลื่อมใสศรัทธา  ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมากมายถึง 60,000 ท่าน  ในบรรดาผู้ที่อุปสมบทใหม่เหล่านี้  ปรากฏว่ามีผู้ที่ทรงศักดิ์สูงชั้นพระราชวงศ์ถึง 1,500 พระองค์

เมื่อได้จัดการให้กุลบุตรผู้มีศรัทธาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสมปรารถนาแล้ว  สองพระอรหันต์ก็อุตสาหะสั่งสอนอบรมวิปัสสนากรรมฐานให้พระภิกษุผู้บวชใหม่เหล่านั้น  ตามวิธีการบำเพ็ญวิปัสสนาที่ตนได้เล่าเรียนมาจากสำนักพระมหาโมคคัลลีบุตรองค์พระอุปัชฌาย์  โดยยกเอาอัปปมาทธรรมขึ้นเป็นประธาน  ตั้งสติมั่นมากมายให้เป็นมหาสติปัฏฐาน ดำเนินการพิจารณาในอนุปัสสนาทั้ง ๔ คือ

๑.กายานุปัสสนา

๒.เวทนานุปัสสนา

๓.จิตตานุปัสสนา

๔.ธัมมานุปัสสนา

ทิวาราตรีผ่านไป  ไม่ช้านานเท่าใด  พระภิกษุผู้บวชใหม่จำนวนมากมายเหล่านั้นซึ่งพากันตั้งใจบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ตามคำสั่งสอนของสองพระวิปัสสนาจารย์คือ พระโสณะอรหันต์และพระอุตตระอรหันต์ผู้ทรงคุณใหญ่ ก็ได้บรรลุมรรคผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา  ตามบุรพวาสนาบารมีของตนๆคือ

บางพวก ก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันอริยบุคคล

บางพวก ก็ได้สำเร็จเป็นพระสกิทาคามีอริยบุคคล

บางพวก ก็ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีอริยบุคคล

บางพวก ก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคล

 

ครั้นสอนวิปัสสนากรรมฐานให้บรรดาภิกษุผู้เป็นศิษย์ได้บรรลุมรรคผลจนได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลสูงสุดถึงพระอรหันต์แล้ว  สององค์พระอรหันต์ท่านก็อุตสาหะสั่งสอนพระไตรปิฎกบาลีอันเป็นฝ่ายคันถธุระต่อไป  ทั้งนี้อยู่ในความอุปถัมภ์บำรุงของมหาชนชาวเมืองสุธรรม  ซึ่งมีสมเด็จพระเจ้าสิริมาโสกราชาธิบดีทรงเป็นประธาน

จึงเป็นอันว่า ขณะนี้ สุธรรมบุรีหรือเมืองสุธรรม ก็รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยอานุภาพพระพุทธศาสนา ประดับประดาไปด้วยพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดถึงพระอรหันต์ ซึ่งนั้นก็หมายความว่า บัดนี้ พระโสณะอรหันต์และพระอุตตระอรหันต์ได้ประกาศพระพุทธศาสนาและประดิษฐานวิปัสสนาวงศ์ลงไว้ ณ รัฐสุวรรณ เมืองสุธรรม ตามคำบัญชาใช้ของพระมหาโมคคัลลีบุตรองค์พระอุปัชฌาย์ของท่าน สำเร็จลงเรียบร้อยทุกประการแล้ว  กาลต่อมาเมื่อถึงอายุขัย  สององค์พระอรหันต์ผู้ทรงคุณใหญ่  ก็ล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานไป

มาตรว่าพระโสณะอรหันต์และพระอุตตระอรหันต์ ผู้นำพระพุทธศาสนามาประดิษฐานที่รับสุวรรณภูมิ จะล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานไปตามธรรมดาพระอรหันต์แล้ว  แต่วิปัสสนาวงศ์อันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วหาได้ล่วงลับดับสูญไปไม่  เพราะว่าบรรดาพระอรหันต์ผู้เป็นศิษย์ของท่านมากมาย ได้พากันเฝ้ารักษาอย่างกวดขัน  และเผยแผ่ให้ไพศาลกว้างขวางออกไปทั่วผืนแผ่นดินสุวรรณภูมิ  ซึ่งประกอบด้วยนครต่างๆ มากหลาย เช่น อริมัททนนคร และไชยปุระนครเป็นต้น เหล่าพระสาวกรุ่นหลังขององค์สมเด็จพระทศพลเจ้าเหล่านั้น ต่างก็ช่วยกันประกาศพระพุทธศาสนา โดยสืบต่อวิปัสสนาวงศ์หรืวิธีการบำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน  สั่งสอนตามลำดับกันมาเป็นเวลาช้านาน  นับด้วยร้อยด้วยพันปี ตราบเท่าจนถึงยุคของพระธรรมทัสสีอรหันต์

วิปัสสนา

ยุคพระธรรมทัสสีอรหันต์

พระพุทธศาสนายุกาลล่วงได้ ๑,๐๐๐ ปีเศษแล้ว ขณะนี้ ที่สุธรรมนรคือสุธรรมบุรีปรากฎว่า ยังมีพระมหาเถระอรหันต์องค์หนึ่ง ซึ่งมีนามว่า พระอโนมทัสสีอรหันต์ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในอภิญญาฌานสมาบัติ ทั้งเป็นพระวิปัสสนาจารย์บอกกรรมฐานแก่ศิษยานุศิษย์มากมายหลายร้อยรูป ดำรงตำแหน่งที่คณะปาโมกข์เป็นใหญ่อยู่ ณ มหาวิหารสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เมืองสุธรรมนั้น วิธีการบอกกรรมฐานของท่าน สืบเชื้อสายวิปัสสนาวงศ์ขององค์พระโสณะอรหันต์และพระอุตตระอรหันต์อย่างเข้มงวดกวดขัน เป็นผลให้บรรดาศิษย์ผู้เป็นโยคีบุคคลบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลจำนวนมากมาย เมื่อถึงกาลอายุขัย ท่านก็ล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานไป

ครั้นพระอโนมทัสสีมหาเถรอรหันต์ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานไปแล้ว พระอรหันต์ผู้เป็นศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ของท่าน ซึ่งมีนามว่า พระอธิสีลอรหันต์มหาเถระ ก็ดำรงตำแหน่งที่คณะปาโมกข์ และเป็นพระวิปัสสนาจารย์บอกกรรมฐานในมหาวิหารแห่งนั้น โดยรักษาวิปัสสนาวงศ์อย่างมั่นคงสืบต่อมา ตราบเท่าจนถึงชนมายุขัย ท่านก็ล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานไป

เมื่อพระอธิสีลอรหันต์ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานไปแล้ว พระอรหันต์ศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ของท่านรูปหนึ่งซึ่งมีนามว่า พระปุราณทัสสีอรหันต์มหาเถระ ก็ได้ดำรงตำแหน่งที่คณะปาโมกข์ และเป็นพระวิปัสสนาจารย์บอกกรรมฐาน โดยรักษาวิปัสสนาวงศ์ดั้งเดิมสืบต่อมาอีกทั้งมีความเคารพเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระโลกเชษฐสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นยิ่งนัก ทุกวารวันเพลาเช้าตรู่ เจ้ากูจะต้องเข้าฌานอธิษฐานอภิญญา เหาะทะยานขึ้นฟ้าจากธรรมบุรีอันเป็นที่อยู่ของท่าน ดั้นด้นตรงไปยังต้นพระศรีมหาโพธิพุทธมณฑล ณ ประเทศพุทธคยา ชมพูทวีปแล้วพระผู้เป็นเจ้าก็เฝ้าปัดกวาดบรริเวณมณฑลต้นพระศรีมหาโพธินั้น จนแลดูสะอาดสะอ้านเป็นที่พอใจแล้ว จึงเหาะกลับมาบิณพบาตในหมู่บ้านที่เมืองสุธรรมบุรี นี่คือกิจวัตรประจำวันของท่าน

วันหนึ่ง เมื่อท่านพระปุราณทัสสีกลับจากบิณฑบาตในหมู่บ้าน หลังจากฉันภัตตาหารและเข้าที่พักผ่อนสบายในกลางวันแล้ว พระผู้เป็นเจ้าก็เข้าฌานอธิฐานอภิญญา เพื่อตรวจดูความเป็นไปของพระพุทธศาสนา ก็เห็นแจ้งด้วยพระอนาคตังสญาณว่า ในอนาคตกาลอันใกล้นี้ จักมีภัยอันตรายบังเกิดขึ้นแก่พระพุทธศาสนาในถิ่นสุวรรณภูมินี้ คือ จักมีพวกสมณกุตตกะทั้งหลาย พากันก่อความวุ่นวายจลาจล ทำให้ศาสนาสมเด็จพระทศพลเจ้าเศร้าหมองเสื่อมลงไปเป็นแม่นมั่น เมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น ท่านจึงพลันด่วนออกมาจากที่พักกลางวัน ไปชักชวนพระอรหันต์ผู้ได้ฌานอภิญญา คือ พระมหากาฬเถระและพระสีลพุทธิเถระเป็นต้น แล้วพากันเหาะดั้นด้นไปทางวิถีอากาศเวหาหาว ครั้นถึงดาวดึงส์เทวโลกแล้วก็ตรงไปยังไพชยนต์พิมานปราสาท เข้าไปเฝ้าสมเด็จพระอมรินทราธิราชผู้เป็นใหญ่แล้ว ทูลว่า

“ดูกรมหาบพิตรผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ในอนาคตอันใกล้นี้ จักมีพวกสมณกุตตกะคือพระอลัชชีมากมายหลายร้อยพัน พากันประพฤติชั่วทำตัวต่ำ เที่ยวย่ำยีพระธรรมวินัย แสดงพระพุทธวจนะให้วิปริตผิดแผกไป ก็จะเป็นอันตรายแก่พระพุทธศาสนาทั้งวิปัสสนาวงศ์ก็คงจะเสื่อมสูญหรือเศร้าหมองไป ขอถวายพระพร”

สมเด็จพระอมรินทราธิราชผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเคยทรงเจริญวิปัสสนากรรมฐาน โดยตั้งพระสติกำหนดมั่นในอรูปกรรมฐาน คือ เวทนานุปัสสนา จนได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา เมื่อได้ทรงสดับว่าวิปัสสนาวงศ์จักเสื่อมสูญไป ก็ทรงหวั่นไหวในพระทัยอยู่ จึงตรัสถามเจ้ากูเหล่านั้นว่า

“ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย เมื่อภัยจักบังเกิดขึ้นแก่พระพุทธศาสนาและวิปัสสนาวงศ์เช่นนี้ จะมีวิธีป้องกันแก้ไขฉันใด ขอให้พระผู้เป็นเจ้าผู้มีสติปัญญาจงกรุณาบอกมาเถิด โยมนี้ยินดีจะกระทำตามคำพระผู้มีพระผู้เป็นเจ้าทั้งสิ้น เพื่อยกย่องศาสนาขององค์พระชินสีห์เจ้าให้ตั้งมั่นถาวร ตราบเท่าถึงกาลที่ทรงพยากรณ์กำหนดไว้”

พระอรหันต์ผู้ทรงคุณวิเศษทั้งหลาย จึงทูลถวายอุบายวิธีดำเนินการในขั้นต้น คือ ขอให้พระองค์ทรงค้นหาเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้องค์ใดองค์หนึ่ง ซึ่งมีบุรพาธิการเคยเจริญวิปัสสนากรรมฐานและมีอรหัตตูปนิสัยรุ่งเรืองอยู่ในขันธสันดาน ควรจะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในอนาคตกาลอันใกล้ ทั้งมีสติปัญญาว่องวสามารถที่จะทรงจำพระไตรปิฏกอรรถกถาได้โดยเร็วพลัน แล้วอาราธนาให้เทพบุตรองค์นั้น จุติจากสรวงสวรรค์ลงไปเกิดในมนุษย์โลก เพื่อปกป้องแก้ไขภัยอันตรายที่จะบังเกิดขึ้นแก่พระพุทธศาสนา เทพบุตรผู้มีบุรพาธิการเช่นที่ว่ามานี้  จะมีอยู่บ้างหรือว่าไม่มี

“มีอยู่องค์หนึ่ง..เทพบุตรสุดประเสริฐผู้มีบุรพาธิการตามที่พระผู้เป็นเจ้าพรรณนามานั่น ในดาวดึงส์สวรรค์ของโยมนี้ ขณะนี้ ปรากฏว่ามีอยู่องค์หนึ่ง เธอมีนามว่า พระธรรมทัสสีเทพบุตร ดีแล้ว ไปเถิด เราไปหาเทพบุตรองค์นั้นเดี๋ยวนี้กันเถิด”

สมเด็จพระอมรินทราธิราชตรัสฉะนี้แล้ว ก็ทรงพาพระอรหันต์ทั้งปวงนั้นไปยังวิมานของพระธรรมทัสสีเทพบุตร แจ้งความเป็นไปให้ทราบสิ้นทุกประการ ครั้นพระธรรมทัสสีเทพบุตร เธอรับคำอาราธนาว่า จักลงไปเกิดเพื่อขจัดภัยพระพุทธศาสนาด้วยความยินดีแล้ว พระองค์ก็ทรงพระกรุณาส่งพระอรหันต์เหล่านั้น ให้กลับมายังมนุษย์โลกเรานี้

เมื่อกลับมาถึงมนุษย์โลกที่เมืองสุธรรมบุรี ท่านพระปุราณทัสสีผู้มีความห่วงใยในพระพุทธศาสนา ก็เข้าฌานอธิษฐานอภิญญาแล้วก็เห็นแจ้งด้วยพระอนาคตังสญาณอีกเล่าว่า อายุสังขารแห่งอาตมาจะพลันด่วนสิ้นไป ก่อนที่จะได้ทันเห็นพระธรรมทัสสีเทพบุตรเธอจุติลงมาช่วยปกป้องยกย่องพระพุทธศาสนาเป็นแม่นมั่น จึงเรียกพระอรหันต์ผู้เป็นศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ของตนมาพร้อมหน้า แล้วมีประกาศิตสั่งว่า

“กาลเมื่อพระเทพบุตรสุดประเสริฐองค์นั้น เธอจุติจากสวรรค์มาบังเกิดในมนุษย์โลกแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของพระสีลพุทธิอรหันต์ จงบากบั่นพยายามชักนำให้เธอเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาจงได้ ต่อจากนั้น ให้เป็นภาระหน้าที่ของพระมหากาฬอรหันต์ ในการที่จะสั่งสอนพระบาลีไตรปิฎกอรรถกถา และให้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจนเธอได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์จงได้”

ท่านพระปุราณทัสสีมหาเถรผู้มีคุณใหญ่ สั่งเสียความสำคัญแก่ศิษย์ผู้เป็นพระอรหันต์ฉะนี้แล้ว ต่อกาลไม่นานเท่าใด ท่านก็ล่วงดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพานไปตามธรรมดาของสังขาร

ครั้นท่านดับขันธ์ไปตามธรรมดาของสังขารแล้ว พระมหากาฬอรหันต์ซึ่งเป็นศิษย์ชั้นผู้ใหญ่ก็ได้รับการยกย่องให้ดำรงตำแหน่งที่คณะปาโมกข์ และเป็นพระวิปัสสนาจารย์บอกกรรมฐาน โดยรักษาวิปัสสนาวงศ์ขององค์พระโสณะและพระอุตตระอรหันต์อย่างกวดขันมั่นคงสืบต่อมา

ฝ่ายว่าพระธรรมทัสสีเทพบุตรผู้รับอาราธนา เสวยทิพย์สมบัติอยู่ในดาวดึงส์สวรรค์พอควรแก่การเวลาแล้ว ก็จุติจากสวรรค์ดาวดึงส์ ลงมาปฏิสนธิในคัพโภทรแห่งคหปตานีนางหนึ่ง ณ         รัฐสุวรรณภูมิ เมืองสุธรรม สถิตอยู่ในครรภ์มารดาครบกำหนดทศมาสแล้ว ประสูติออกมาเป็นกุมารงามบริสุทธิ์โสภา ครั้นเจริญวัยวัฒนาก็ได้ศึกษาศิลปวิทยา จนมีความรู้ในโลกิยวิชาพอสมควรแล้ว ต่อมาเกิดความเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา ด้วยอุบายเทศนาวิธีของท่าน                 พระสีลพุทธิอรหันต์ จึงขอบรรพชาปรากฏนามว่า สามเณรธรรมทัสสี

เมื่อได้ฝ่ายพยายามดำเนินการให้สามเณรธรรมทัสสสีได้บวชในพระพุทธศาสนาแล้วท่านพระสีลพุทธิอรหันต์ก็อุตสาหะสั่งสอนสามเณรนั้น ให้เรียนรู้สิกขาวินัยขั้นพื้นฐานแล้วก็นำตัวไปมอบให้พระมหากาฬอรหันต์คณาจารย์ใหญ่ ตามที่พระปุราณทัสสีผู้เป็นพระอาจารย์สั่งกำชับไว้ทันที จึงเป็นอันว่าสิ้นภารหน้าที่ของพระสีลพุทธิอรหันต์เพียงแค่นี้

ฝ่ายพระมหากาฬอรหันต์คณาจารย์ใหญ่ ซึ่งมีภาระหน้าที่สำคัญที่จะต้องดำเนินการต่อไป เมื่อรับตัวเจ้าสามเณรธรรมทัสสีไว้แล้ว ก็บังคับให้เล่าเรียนพระบาลีพระไตรปิฎกอรรถกถาฎีกาอย่างกวดขัน ต่อกาลไม่นานเท่าใด สามเณรผู้มีปัญญาไว ก็สามารถเรียนได้จนจบสิ้น เป็นที่พอใจของพระอาจารย์เป็นยิ่งนัก แล้วจึงให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา และบังคับให้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน โดยตัวท่านเองเป็นพระวิปัสสนาจารย์บอกกรรมฐานไปตามครรลองของวิปัสสนาวงศ์ อันสืบเนื่องมาแต่วงศ์ของพระโสณุตตระอรหันต์ครั้งบุรพกาล โดยเหตุที่พระธรรมทัสสีนั้น เป็นผู้มีบุรพาธิการทั้งมีอรหัตตูปนิสัยรุ่งเรืองอยู่ในขันธสันดาน เมื่อเข้าบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานไม่นานเลย พระวิปัสสนาญาณตามลำดับชั้น จึงบังเกิดขึ้นแก่ท่านอย่างรวดเร็ว จนท่านได้บรรลุพระอริยมรรคพระอริยผลสำเร็จเป็นพระโสดาบันอริยบุคคล พระสกิทาคมีอริยบุคคล พระอนาคามีอริยบุคคล แล้วในที่สุดได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์อริยบุคคลผู้ทรงคุณวิเศษสุดในพระพุทธศาสนา

เมื่อพระธรรมทัสสีได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ออกจากการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานมาช่วยพระมหากาฬอรหันต์ผู้เป็นพระอาจารย์ทำหน้าที่สั่งสอนทั้งในด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ กาลต่อมา ปรากฏว่าพระธรรมทัสสีอรหันต์นั้น ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงเกรียงไกร เป็นที่ยอมรับของมหาชนทั่วไป เกียรติคุณของท่านรุ่งเรืองไพโรจน์สูงเด่น ดุจพระจันทร์วันเพ็ญอยู่ในสุธรรมบุรีนั้น

แล้ววันหนึ่ง ท่านพระมหากาฬอรหันต์ผู้เป็นพระอาจารย์ซึ่งหยั่งทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ด้วยพระอนาคตังสญาณ ก็เรียกตัวพระธรรมทัสสีนั้นเข้ามาในมหาสังฆสันนิบาตมีประกาศิตสั่งให้เดินทางยกย่องพระพุทธศาสนาสืบต่อวิปัสสนาวงศ์ ณ อริมัททนนครอันเป็นนครหนึ่งในผืนแผ่ดินสุวรรณภูมิ ซึ่งท่านก็น้อมรับเอาคำบัญชาด้วยดี อภิวันท์อำลาพระสงฆ์และองค์พระมหากาฬผู้เป็นพระอาจารย์แล้วก็ออกเดินทางมุ่งหน้าไปยังนครนั้นทันที

เมื่อได้ทำหน้าที่ส่งพระธรรมทัสสีอรหันต์ใหม่อดีตเทพบุตรผู้มีปัญญาไว ให้เดินทางไปยกย่องพระพุทธศาสนาสืบต่อพระวิปัสสนาวงศ์ ณ อริมัททนบุรี ก็เป็นอันว่าสิ้นภารหน้าที่ของท่านพระมหากาฬอรหันต์มหาเถรผู้เป็นใหญ่ ตามที่ปุราณทัสสีอาจารย์สั่งกำชับไว้เพียงเท่านี้

สมัยนั้น เป็นปีพุทธศักราช ๑๕๔๑ ที่เมืองอริมัททนบุรี ปรากฏมีพระราชาธิบดีทรงพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าอนุรุทธบรมกษัตริย์ พระองค์ทรงปกครองบ้านเมืองให้มหาชนในฝ่ายราชอาณาจักร อยู่เย็นเป็นสุข แต่ในฝ่ายพุทธจักรเกิดกลียุคสับสนวุ่นวายในคำสอนทางพระพุทธศาสนา ด้วยว่า ได้เกิดมีสมณะอลัชชีพวกหนึ่ง ซึ่งถูกเรียกว่าพวกสมณกุตตกะเพียงหวังแต่จะได้ลาภสักการะ ก็กล้าประพฤติชั่วล่วงพระธรรมวินัย พากันย่ำยีสิกขาบทน้อยใหญ่ เช่นประพฤติตนประจบคฤหัสถ์เอาอกเอาใจเจ้านายเศรษฐีมีทรัพย์ รับจ้างชกมวยและจ้างทำการงานอันผิดวิสัยสมณะเป็นต้น ซ้ำมิหนำ กลับกล้าบิดเบือนพระพุทธวจนะ

 

 

 

 

ผู้ใดทำปาณาติบาต เมื่อต้องการพ้นจากบาป ผู้นั้นจะต้องให้

                        พระสมณะสวดพระคาถานนี้ แล้วก็จักพ้น

                        จากบาปนั้นได้

ผู้ใดทำอทินนาทาน เมื่อต้องการพ้นจากบาปมหันต์ ผู้นั้นจะต้องให้

                         พระสมณะสวดพระคาถาบทนี้ แล้วก็จัก

                        พ้นจากบาปนั้นได้

……………………   ………………………………………………………………….

                       ………………………………………………………………..

ผู้ใดทำอนันตริยกรรม เมื่อต้องการพ้นจากบาปมหันต์ ผู้นั้น

                          จะต้องให้พระสมณะสวดพระคาถาบท

                          นี้ แล้วจักพ้นจากบาปมหันต์นั้นได้

                           สวดพระคาถาบทนี้ แล้วจักพ้นจากบาปมหันต์นั้นได้

ตั้งแต่แสดงบทบัญญัติเป็นมิจฉาวาทนั้น วัน ๆ ก็เป็นอันไม่ต้องทำอะไรด้วยว่าไว้ ก็นำเอาทรัพย์ไปว่าจ้างให้สวดพระคาถาตามที่กำหนดนั้น พวกสมณกุตตกะก็พากันสวดรับจ้างแก้บาปกรรมให้เพลิดเพลินไป ยิ่งนานวันยิ่งร่ำรวยใหญ่ สมณกุตตกะทั้งหลายเพิ่มขึ้นจำนวนมากมายนับด้วยจำนวนหมื่น เป็นสาเหตุให้พระพุทธศาสนาเสื่อมเศร้าหมองลงอย่างน่าสังเวชสลดใจ

สมเด็จพระเจ้าอนุรุทธบรมกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในอริมัททนบุรี เมื่อได้ทรงสดับลัทธิที่เป็นมิจฉาวาทนั้น ก็ให้ทรงอัดอั้นอึดอัดในพระทัย แต่ก็ไม่สามารถที่จะจัดการให้เด็ดขาดลงไปอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ทั้งนี้ ก็เพราะไม่ทรงแน่ในพระทัยว่า ข้อบัญญัติเพิ่มเติมใหม่ที่เป็นมิจฉาวาทเหล่านั้น จะเท็จจริงถูกต้องตามครรลองพระธรรมวินัยเป็นประการใดจวบจนถึงสมัยที่พระธรรมทัสสีอรหันต์เดินทางมาถึงอริมัททนบุรี ได้แสดงพระธรรมเทศนาตามพระพุทธฎีกาที่แท้จริงให้ได้ทรงสดับแล้ว ก็สิ้นความเคลือบแคลงกินแหนงในพระทัย จึงมีพระบรมราชโองการโปรดให้พวกสมณกุตตกะเลิกประพฤติเหลวใหล ชักชวนให้พศกนิกรของพระองค์ปฏิบัติตามพระพุทธฎีกา และช่วยกันทำลายข้อบัญญัติมิจฉาวาทเสียให้สิ้นเสมือนหนึ่งได้ภาชนะทองคำแล้วทำลายภาชนะดินสียฉะนั้น

พระธรรมทัสสีผู้มีปรีชาญาณทรงคุณวิเศษระดับพระอรหันต์ ซึ่งจุติจากสวรรค์ลงมาเพื่อการยกย่องปกป้องพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ เมื่อได้โอกาสเหมาะด้วยสมเด็จพระราชาธิบดีทรงให้ความร่วมมือร่วมใจเช่นนี้ ก็เริ่มทำหน้าที่อันเป็นส่วนศาสนกิจสำคัญคือ ในเบื้องต้นนั้น องค์พระอรหันต์ท่านอุตสาหะสั่งสอนพระไตรปิฎกบาลีอรรถกถาแก่บรรดาพระภิกษุสงฆ์ผู้มาสมัครเป็นศิษย์มากมาย ซึ่งเป็นการฟื้นฟูพระธรรมวินัยฝ่ายคันถธุระก่อน แล้วจึงย้อนกลับมาทำหน้าที่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ โดยองค์พระอรหันต์ท่านเองเป็นพระวิปัสสนาจารย์บอกกรรมฐาน ตามวิธีการสืบเนื่องมาแต่เนื่องมาแต่วิปัสสนาวงศ์อย่างมั่นคงเข้มงวดกวดขัน ไม่นานเท่าใด การสืบต่อวิปัสสนาวงศ์ก็ได้ผลสมความมุ่งหมาย คือ บรรดาผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเหล่านนั้น มีจำนวนมากท่านได้บรรลุพระอริยมรรคอริยผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดถึงขั้นพระอรหันต์ เป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาตั้งมั่นรุ่งเรืองไพศาลในอริมัททนบุรีสุดพรรณนา จึงเป็นอันว่า ขณะนี้    พระธรรมทัสสีอรหันต์อดีตเทพบุตรชั้นดาวดึงส์ ผู้ซึ่งรับอาราธนาให้ลงมาช่วยยกย่องปกป้องพระพุทธศาสนาได้ทำหน้าที่ของท่านเสร็จสิ้น ตามความปรารถนาขององค์สมเด็จพระอมรินทราธิราชและองค์พระอุปัชฌาย์อาจารย์ ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกประการแล้ว

โดยเหตุที่พระธรรมทัสสีอรหันต์นี้ เมื่อครั้งที่ท่านเดินทางมาถึงอริมัททนบุรีใหม่ ๆ สมเด็จพระราชาธิบดีอนุรุทธตรัสเรียกด้วยความเลื่อมใสว่าพระอรหันตะ แม้ในกาลต่อมาก็มักตรัสเรียกนามท่านด้วยติดพระโอษฐ์ว่า พระอรหันตะ อยู่เสมอทุกครั้งไป มหาชนพุทธบริษัททั้งหลายในกรุงอริมัททนบุรี ก็ให้มีอันเป็นเห็นดีเห็นงาม ประพฤติตามสมเด็จพระราชาธิบดีของพวกเขา เมื่อจะเอ่ยนามพระผู้เรียกท่านว่า พระอรหันตะ ด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อท่านทำการฟื้นฟูยกย่องพระพุทธศาสนา สืบต่อวิปัสสนาวงศ์ มีพระสงฆ์ศิษยานุศิษย์เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นจำนวนมากมายไพศาลแพร่หลายขยายออกไป เป็นคณะใหญ่ในสุวรรณภูมิ คณะของท่านจึงถูกเรียกชื่อว่า คณะพระอรหันตะ หรือ  อรหันตคณะ ซึ่งหมายถึงคณะของพระธรรมทัสสีอรหัต์นั่นเอง

พระธรรมทัสสีอรหันต์ผู้มีคุณใหญ่ เฝ้าอุตสาหะบำเพ็ญศาสนกิจประดิษฐานพระพุทธศาสนา ให้ดำรงมั่นถาวรในอริมัททนบุรีนั้นเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงกาลอายุขัยท่านก็ล่วงลับดับขันธ์เข้าสู่นิพพานไป

ครั้นพระธรรมทัสสีอรหันต์

 

 

วิปัสสนา

ยุคพระเขมมหาเถรอภิญญา

กาลเมื่อวิปัสสนาวงศ์  ประดิษฐานมั่นคงอยู่ในผืนแผ่นดินสุวรรณภูมิ ยั่งยืนมาเป็นเวลาได้เกือบ 2,000 ปี คือตั้งแต่สองพระอรหันต์คือพระโสณะและพระอุตตระนำมาประดิษฐานไว้เป็นเบื้องแรก พุทธบริษัทศิษยานุศิษย์ผู้มีจิตหวั่นเกรงภัยในวัฏสงสาร  ปรารถนาจะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน  ก็พากันอุตสาหะบำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐานสืบต่อกันมาตลอดไม่ขาดสายจวบจนถึงสมัยพระธรรมทัสสีอรหันต์ ทำการยกย่องปกป้องพระพุทธศาสนา และขยายวิปัสสนากัมมัฏฐานให้กว้างขวางออกไป ในปีพุทธศักราช ๑๕๔๑ ซึ่งในตอนนี้นิยมเรียกวิปัสสนาวงศ์

ดั้งเดิมเพิ่มเติมเป็นว่าวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะ แล้วก็มีพระสงฆ์เถรานุเถระพากันสืบต่อวิปัสสนาวงศ์นั้น โดยเข้มงวดกวดขันตลอดมาอีกเป็นลำดับ ตราบเท่าจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าสุธรรมราชามหาธิบดี แห่งกรุงรตนปุระธานี เมื่อปีพุทธศักราช ๒๑๘๓ ก็ยังปรากฏนามพระสงฆ์ที่สืบเชื้อสายวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะ ในราชทินนามที่สมเด็จพระเจ้าสุธรรมราชมหาธิบดีผู้เป็นใหญ่พระราชทานให้ว่า พระชมพูทีปธชมหาเถระ

ครั้นพระชมพูทีปธชมหาเถระล่วงลับดับขันธ์ไป บรรดาพระสงฆ์บรรดาพระสงฆ์ที่สืบ         เชื้อสายวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะ ก็ยังคงมีกระจัดกระจายในประเทศต่างๆ แถบสุวรรณภูมิอยู่บ้าง     เช่นเหล่าพระสงฆ์สำนักจตุภูมิกวิหารคือวิหารสี่ชั้น ซึ่งประดิษฐานอยู่ริมฝั่งอิรวดีมหานทีในปีพุทธศักราช ๒๑๙๐ เป็นต้น แต่ไม่มีผลการปฏิบัติวิปัสสนาปรากฏให้เป็นที่ประจักษ์ชัดออกมาเลยว่า ท่านเหล่านั้นปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนได้บรรลุมรรคผลสำเร็จเป็นพระอริยะบุคคลชั้นนั้นชั้นนี้ ซึ่งเป็นเครื่องชี้ให้เห็นเป็นไปของวิปัสสนาธุระว่ามีสภาวะค่อยเสื่อมถอยน้อยลงไปทุกที          มิหนำซ้ำในช่วงระยะเวลานี้ความเป็นไปในด้านคันถธุระกลับมีสภาวะเจริญขึ้นแพร่หลายขยายเป็นวงกว้างออกไป ทั้งนี้ ก็เพราะว่า บรรดามหาชนตลอดจนสมเด็จพระราชาธิบดีในประเทศทั้งหลาย ต่างพอใจสนับสนุนยกย่องพระสงฆ์ที่เอาใจใส่ในด้านคันถธุระ พระสงฆ์รูปใดมีอุตสาหะศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎกบาลีจนมีความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์แล้วท่านรูปนั้นย่อมไม่แคล้วที่จะได้รับเกียรติยศชื่อเสียงและลาภสักการะใหญ่ในระยะนี้จึงปรากฏว่าพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ทุกรูปทุกนาม ต่างก็ทำความพยายามในด้านคันถธุระ จนบางท่านมีสมรรถนะสูงเด่นเป็นผู้ทรงจำพระบาลีไตรปิฎก ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ไว้ได้ และบางท่านมีปัญญาแจ่มใสสามารถปริวรรคบาลีภาษาออกมาเป็นภาษาของตนๆ ตลอดจนบางท่านสามารถรจนาพระคัมภีร์ไว้ให้เป็นประโยชน์ในพระพุทธศาสนา เช่นนี้ก็มีอยู่ เมื่อพระภิกษุทั้งหลายกลับมาเห็นค่านิยมในคันถธุระยิ่งกว่าวิปัสสนาธุระไปเสียอย่างนี้ จึงหาผู้ที่สนใจในการบำเพ็ญวิปัสสนาได้ยากเต็มที สภาพการณ์เป็นเช่นนี้นานวันเข้า วิปัสสนากัมมัฏฐานก็ค่อยๆ ซบเซาเสื่อมลงไปและเสื่อมลงไป แล้วในที่สุดก็เสื่อมลงไปจนเกือบไร้ร่องรอย เมื่อเอ่ยถึงเรื่องวิปัสสนาขึ้นคราใด ก็พลอยให้เกิดความพิศวงสงสัยขึ้นในใจว่า วิปัสสนาวงศ์คงจะเสื่อมสูญไปจากโลกนี้แล้วหรือไฉน

สมัยนั้น ปรากฏมีพระภิกษุสองรูปเป็นสหายกัน รูปหนึ่งมีนามว่าพระเขมภิกขุกับอีกรูปหนึ่งมีนามว่าพระติรงคภิกขุ ตั้งแต่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เธอทั้งสองได้ตั้งใจศึกษาพระบาลีไตรปิฎกอรรถกถาตลอดจนนานาพระคัมภีร์ จนมีความรู้สูงสุดตามหลักสูตรในสมัยนั้น แล้วปรึกษากันว่า ต่อไปนี้ เราทั้งสองจะทำอะไรกันดีพระเขมภิกขุผู้มีบุรพวาสานาก็กล่าวว่า เราทั้งสองควรจะตั้งหน้าบำเพ็ญวิปัสสนาธุระต่อไป เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานในชาตินี้จงให้ได้ พระติรงคภิกขุได้ฟังก็หัวเราะแล้วค้านว่า อะไรกัน มรรคผลนิพพานสมัยนี้จะมีแต่ที่ไหนกัน มรรคผลนิพพานเป็นของไกลเกินฝัน หากจะมีอยู่ก็มีแต่ในพระคัมภีร์เท่านั้น  ปัจจุบันนี้ไม่มีใครเขาสนใจเรื่องวิปัสสนาหรือมรรคผลนิพพานกันแล้ว เรามาเป็นพระอาจารย์ด้านคันถธุระบอกคัมภีร์กันดีกว่า ต่อไปภายหน้าจะได้เป็นใหญ่มีเกียรติยศชื่อเสียงเกรียงไกร พระเขมภิกขุหนุ่มผู้มีใจหนักแน่นประดุจภูผา ได้ฟังดังนั้นก็ส่ายหน้ากล่าวย้ำว่า มรรคผลนิพพานในสมัยนี้ จะมีหรือไม่ ใครเล่าจะรู้ได้ หากว่าไม่มีการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน กล่าวเท่านั้นแล้ว ท่านก็เดินทางออกจากมหาวิหารบ่ายหน้าเข้าป่าไป

ฝ่ายพระติรงคภิกขุสหายผู้ใฝ่ใจในด้านคันถธุระ หวังจะเป็นผู้เกียรติยศชื่อเสียงในวันข้างหน้า ก็อุตสาหะทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์บอกคัมภีร์ในมหาวิหาร ซึ่งมีพระสงฆ์นักศึกษานับจำนวนเป็นพันๆ ทิวาวารผ่านไปหลายสิบปี ท่านก็ได้เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นมาเรื่อยๆ จนเป็นพระคณาจารย์ชั้นมหาเถระ บรรดาศิษย์พากันยกย่องว่าท่านเป็นผู้มีความรู้สูงเด่นหนักหนา เมื่อพระมหาเถระผู้เป็นคณะปาโมกข์ปกครองสงฆ์ ในมหาวิหาร ถึงมรณกาลล่วงลับดับสังขารไป พระติรงคมหาเถระก็ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นคณะปาโมกข์ ปกครองสงฆ์สืบแทนท่านคณะปาโมกข์องค์เก่าที่ล่วงลับเข้าไปสู่ปากพญามัจจุราชนั้น กาลต่อมาปรากฏว่าท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงกว้างไกล เป็นพระคณาจารย์ใหญ่ที่มีศิษยานุศิษย์มากมายหลายรุ่นหลายสมัย เป็นที่เคารพสักการะของมหาชนทั่วไป จึงเป็นอันว่า บัดนี้พระติรงคมหาเถระได้ก้าวขึ้นถึงความสุดยอดด้านคันถธุระ โดยเป็นพระคณาจารย์ใหญ่มีเกียริยศชื่อเสียงเกรียงไกรสมใจปรารถนาแล้ว

วันหนึ่งในเวลาตอนเย็น พระติรงคมหาเถระผู้เป็นใหญ่ บัดนี้เข้าวัยชรา ๗๐ พรรษาเศษ ท่านได้มีโอกาสต้อนรับอาคันตุกภิกขุผู้มีพรรษาเสมอกันรูปหนึ่งซึ่งเป็นสหายจากกันไปนานหลายสิบปี อาคันตุภิกขุรูปนี้ไม่ใช่ใครอื่นไกลที่ไหนโดยที่แท้ก็คือพระเขมภิกขุที่บอกว่าจะบำเพ็ญวิปัสสนาแล้วหายหน้าเข้าป่าไปนั่นเอง เมื่อได้พบปะสนทนากัน ณ ที่รโหฐานโดยลำพังตัวต่อตัวแล้ว แทนที่จะสนทนากันให้สนุกสนานด้วยเรื่องเก่าๆ สมัยยังหนุ่มอยู่ แต่พระเขมภิกขุผู้มาจากป่ากลับชักชวนให้เข้าปฏิบัติวิปัสสนาท่าเดียว โดยอ้างว่า ตนเองแก่แล้ว เกิดมาชาตินี้ได้มีเกียรติยศชื่อเสียงเท่านี้ ก็เป็นที่พอใจแล้วจะเอาอะไรกันอีก เมื่อเห็นว่าสุดที่จะเขี้ยวเข็ญให้สหายกันเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้แล้ว พระเขมมหาเถระ จึงกล่าวว่าถ้าเช่นนั้นก็ไม่เป็นไรแต่ขอร้องให้จดจำวิธีปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จะได้บอกกล่าวได้อย่างถูกต้องโดยบอกเขาไปทำนองนี้ว่า

“เราพระเขมภิกขุ เรียนเอาวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมาจาก

วิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระโสณะอรหันต์

และพระอุตตระอรหันต์ กับทั้งพระธรรมทัสสีอรหันต์ แต่ครั้งบุรพกาล

วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะ คือ การตั้งสติกำหนดอย่างแรงกล้า

ในอนุปัสสนาทั้ง ๔ มีกายานุปัสสนาเป็นต้น ตามที่สมเด็จพระทศพลเจ้า

ทรงพระกรุณาประทานไว้ในสูตรต่างๆ โดยเฉพาะพระมหาสติปัฏฐานสูตร

เมื่ออินทรีย์ทั้ง ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นอาทิ เสมอกันเป็นอันดีแล้ว

พระวิปัสสนาญาณอันประเสริฐจักเกิดขึ้นในสันดานของผู้ปฏิบัติ

วิปัสสนากรรมฐานที่มีวาสนาบารมี ตั้งแต่พระวิปัสสนาญาณขั้นต้น

จนถึงมรรคญาณผลญาณ และปัจจเวกขณญาณเป็นที่สุด”

 

               พระเขมมหาเถระพุทธบุตรผู้ชำนาญในพระวิปัสสนาญาณ บอกวิธีการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานอย่างย่อๆ ฉะนี้ แล้วก็อธิบายวิธีปฏิบัติตลอดจนสภาวะพระวิปัสสนาญาณโดยพิสดารพอสมควร เสร็จแล้วจึงถามขึ้นว่า จำได้หรือไม่เล่า ที่เราบอกมานี่  เมื่อเห็นสหายเก่ารับคำด้วยดี ก็ลุกขึ้นจัดแจงห่มจีวรอันเก่าคร่ำคร่าพร้อมกับบอกว่า จะขอลาจากไปแล้วต่อไปคงไม่ได้พบกัน เพราะฉะนั้น จึงขอให้เดินไปส่งที่ชายป่าใกล้มหาวิหารด้วย

พระติรงคมหาเถรคณาจารย์ใหญ่ผู้มีวัยชราตกกระ ซึ่งมีสรีระอ้วนพีสีกายและเกสาขาวงามสง่า ตามปกติธรรมดาชอบนั่งบนอาสนะบอกพระคัมภีร์ ไม่ชอบเดินเหินไปไหนทั้งถือว่าตนเป็นผู้มีเกียรติยศใหญ่ ไม่เคยเดินออกไปส่งอาคันตุกะผู้ใดใครมาก่อน เมื่อได้ฟังสหายเก่ามาอ้างว่า ต่อไปภายหน้าคงจะไม่ได้พบกันเช่นนั้น ก็จำต้องพยุงสังขารอันชราเดินตามมาส่งถึงบริเวณชายป่าแล้วพระเขมมหาเถระก็หยุดเดินหันหลังมามองหน้าจ้องๆ แล้วถามขึ้นอีกว่า จำได้แน่นอนแล้วหรือ วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาที่เราบอกไว้นั่นน่ะพระติรงคมหาเถระก็รับรองว่า จำได้สิ เอาเถอะน่าไม่ต้องห่วง ขอให้เดินทางโดยสวัสดีเถิด

พระเขมมหาเถระผู้มาจากแดนไกล จึงกล่าวเป็นครั้งสุดท้ายว่าจำได้ก็ดีแล้ว นั่นเป็นวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อให้ได้บรรลุมรรคผลนิพพานอันประเสริฐ เอาเถิดต่อจากนี้ เราจะแสดงผลดีผลพลอยได้เล็กน้อย ของผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนบรรลุมรรคผลนิพพานว่าจะเป็นประการใด ขอจงตั้งใจดูให้ดีๆ ว่าเท่านี้แล้ว พระเขมมหาเถระผู้เชี่ยวชาญในอภิญญาณ ก็อธิฐานให้เกิดอิทธิวิธีอภิญญา เหาะทะยานขึ้นฟ้าหายวับไปต่อหน้า ท่านพระคณาจารย์ใหญ่ได้เห็นอิทธิปาฏิหาริย์นั้น ก็ให้มีอันเป็นพลันผงะหงายดวงตาโต  เพ่งมองอยู่ด้วยอาการตกตะลึง นึกไม่ถึงว่าจะเป็นไปได้เช่นนี้  เมื่อกลับมาถึงมหาวิหารแล้ว ก็มีบัญชาให้มีการประชุมใหญ่โดยพลัน มอบหมายหน้าที่การงานให้แก่ท่านผู้สมควรสิ้นแล้ว ก็บอกว่า เราจะเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนกว่าจะถึงวันตายในมหาวิหารแห่งนี้ หากไม่มีกิจจำเป็นจริงๆ แล้วไซร้ ขออย่าให้ใครจงอย่าได้มารบกวน แล้วท่านก็เริ่มต้นบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ตามวิธีการวิเศษในวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะ ที่ท่านพระเขมมหาเถระกรุณาบอกไว้ให้นั้น ส่วนผลของการปฏิบัติจะเป็นประการใด ใครเล่าจะกล้าเข้าไปถามท่านได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พระอาจารย์นโมอรหันต์

 

กาลครั้งนั้น  ยังมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง  นามว่า  พระนโมภิกขุ  อายุเพิ่งได้ ๒๕ ปี  พรรษา ๕  เป็นผู้มีวาสนาบารมีที่สั่งสมอบรมมา  แต่ปางบรรพ์  นับเป็นเวลานานได้เป็นพันมหากัปขึ้นไป  เกิดมาในชาตินี้  จึงมีโอกาสเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา  หลังจากเรียนพระไตรปิฎกบาลีอรรถกถา  จนมีความรู้เชี่ยวชาญดีแล้ว  วาสนาบารมีที่เคยสั่งสมไว้ก็เข้ามาตักเตือนใจให้มีความปรารถนาใคร่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  จึงออกเดินทางจากมหาวิหารเมืองใหญ่ในอมรปุระธานี  มุ่งหน้าไปยังปัจจันตชนบท  เพื่อแสวงหาสถานที่สำหรับปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  พบเห็นถ้ำใกล้วิหารแห่งหนึ่ง  จึงกำหนดไว้ในใจแล้วเข้าไปในวิหารเพื่อขอพักอาศัยชั่วคราว

พระภิกษุเจ้าถิ่นที่อยู่ในวิหารนั้น  มีนามว่า  พระมิงกุลโตญภิกขุ  ซึ่งยังเป็นพระนวกะอยู่  เมื่อเห็นพระอาคันตุกะมาขออาศัย  ก็ให้การต้อนรับด้วยความยินดี  กาลต่อมา  พอได้ทราบว่าพระนโมภิกขุที่มาขอพักอาศัยนั้น  ท่านเป็นผู้มีความรู้ระดับพระอาจารย์  ผ่านการศึกษาพระบาลีไตรปิฎกอรรถกถาแล้ว  ก็ยิ่งยินดีปรีดาฝากตัวเป็นศิษย์เรียนพระธรรมวินัย  และมอบถวายความเป็นใหญ่ในวิหารนั้นให้ท่านด้วยความเต็มใจ

ท่านพระนโมภิกขุซึ่งมีแผนการอย่างหนึ่งอยู่ในใจ  เมื่อรับมอบความเป็นใหญ่ในวิหารแห่งนั้นแล้ว  ก็อุตสาหะทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา  ด้วยการแสดงพระธรรมเทศนาในบุญกิริยาวัตถุกถาเป็นต้น  บอกทางบุญทางกุศลและทางสวรรค์  ให้แก่ชาวบ้านปัจจันตชนบทถิ่นนั้นอยู่เนืองๆ โดยเหตุที่ท่านเป็นผู้มีความรู้สูง  ทั้งมีปฏิภาณโวหารกล้าในการแสดงพระธรรมเทศนา  ไม่ช้านานเท่าใด  ประชาชนพุทธบริษัทในละแวกบ้านนั้น  ก็มีความเคารพเลื่อมใสท่านอย่างสนิทใจ  พากันออกปากปวารณาว่า  หากพระผู้เป็นเจ้าต้องการสิ่งใด  ขอจงอย่าได้เกรงอกเกรงใจ  จงกรุณาบอกมาเถิด  จะจัดการถวายให้ตามความประสงค์ทั้งสิ้น  ท่านก็รับคำปวารณาไว้ด้วยความยินดี

วันหนึ่ง  เมื่อถึงกาลอันสมควรแล้ว  พระนโมภิกขุ  จึงจัดให้มีการประชุมชาวบ้านทายกทายิกาพร้อมหน้า  แล้วบอกความประสงค์ว่า  การที่ท่านเดินทางมาที่นี่  มีความประสงค์จะเข้าไปบำเพ็ญวิปัสสนาอยู่ในถ้ำใหญ่ใกล้วิหาร  แต่ขัดข้องด้วยอาหารบิณฑบาต  หากญาติโยมพุทธบริษัทเห็นคุณงามความดีของท่านอยู่บ้างแล้ว  ขอจงสงเคราะห์ท่าน  ด้วยการผลัดเปลี่ยน  เวียนเวรกันนำอาหารไปให้ที่ถ้ำนั้น  จงทุกวันเถิด  จะได้หรือไม่  ชาวบ้านทั้งหลายที่เคยปวารณาไว้  ก็พากันให้คำตอบว่า  การเพียงเท่านี้จะเป็นไรไปเล่า  ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าจงเข้าถ้ำไปบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานตามประสงค์เถิด  เรื่องอาหารบิณฑบาตนั้นไม่ต้องห่วง  จะช่วยกันจัดการส่งไปถวายทุกวันมิให้ขาดได้  ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา  พระอาจารย์นโมภิกขุก็เดินทางเข้าถ้ำ  ไปบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานง่วนอยู่เพียงผู้เดียว

ทิวาวารผ่านไปประมาณ  ๓  ปี  พระนโมภิกษุผู้มีวิริยะอุตสาหะในการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน  ก็ออกจากถ้ำมายังวิหารด้วยอาการหม่นหมองของคนผิดหวัง  เพราะการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานของท่านไม่ประสบผลสำเร็จสมความมุ่งหมาย  คือว่าไม่ได้ผลพระวิปัสสนาญาณแม้แต่สักญาณหนึ่งเดียวไม่บังเกิดขึ้นเลย  ก็จะเกิดขึ้นอย่างไรได้เล่า  เพราะท่านปฏิบัติเอาเอง  ไม่มีครูบาอาจารย์แนะนำให้  จริงอยู่แม้ว่าท่านจะมีความรู้สูง  เรียนจบพระบาลีไตรปิฎกอรรถกถา  แต่นั่นเป็นเรื่องของคันถธุระ  สำหรับวิปัสสนาธุระแล้วจะต้องมีครูบาอาจารย์แนะนำหลักการปฏิบัติที่ถูกต้องให้จึงจะปฏิบัติได้ผลสมความมุ่งหมาย

เมื่อได้พักผ่อนที่วิหารนั้นพอสมควรแล้ว  พระนโมภิกขุผู้มีจิตมุมานะไม่ท้อถอย  ก็ออกเดินทางจากวิหารปัจจันตชนบท  มุ่งหน้าไปหน้าพระอาจารย์ของตน  ณ มหาวิหารในเมืองอมรปุระ  เล่าเรื่องให้ท่านฟังโดยตลอดแล้ว  ก็กราบเรียนถามว่า  จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างไรจึงจะได้ผลสมใจ  ท่านพระคณาจารย์ใหญ่ผู้มีวัยชราอายุเกือบ 80 พรรษา  ก็ตอบว่าเราก็ไม่รู้เหมือนกัน  แต่ได้ฟังมานานแล้วว่า  พระสงฆ์ที่สืบเชื้อสายวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะ  พากันอาศัยในวิหาร จตุภูมิกะริมฝั่งน้ำอิรวดี   เธอจงเดินทางไปสืบความที่วิหารจตุภูมิกะ  กรุงรัตนปุระนั่นเถิด  อาจจะพบวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแบบวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะก็ได้  ไปสืบถามได้ความอย่างไรแล้ว  จงกลับมาแจ้งแก่เราด้วย

พระนโมภิกขุผู้มีความปรารถนาจะได้วิธีการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน  ก็จำต้องเดินทางจากสำนักมหาวิหารตามคำแนะนำของพระอาจารย์  มุ่งหน้าไปยังกรุงรัตนปุระธานี  เมื่อถึงแล้วก็เข้าไปที่สำนักจตุภูมิกะวิหาร  พบหมู่พระสงฆ์ที่นั่นไต่ถามได้ความว่า  เป็นพระสงฆ์ที่สืบเชื้อสายวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะแท้จริงแล้ว  ก็ให้ดีอกดีใจยิ่ง  เมื่อได้สนทนากันถึงเรื่องวิชาความรู้ทางพระพุทธศาสนา  ก็เห็นว่าท่านเหล่านั้นเป็นผู้มีปัญญาว่องไว  สามารถทรงจำพระไตรปิฎกบาลีโดยเฉพาะพระวินัยปิฎกไว้ได้ทั้งสิ้น  แต่เมื่อไต่ถามถึงวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะ  ว่ามีวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะ  ว่ามีวิธีปฏิบัติอันอย่างไร  พระสงฆ์เหล่านั้นก็ให้มีอาการซื่อบื้อ  คือ นั่งนิ่งอัดอั้นตันปัญญา  ไม่สามารถหาคำตอบมาให้ได้ด้วยกันทุกรูป  ครั้นค่อยสอบถามความเป็นไปว่าเหตุไรจึงไม่ทราบ  ก็ได้ความว่า  พระสงฆ์ในจตุภูมิกะวิหาร  แม้จะเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะก็จริง  แต่บัดนี้ต่างก็พากันมาละทิ้งวิปัสสนาธุระเสียนานแล้ว  ทุกรูปหันมาสนใจในคันถธุระ  ไม่มีผู้ใดปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามเยี่ยงท่านบุรพาจารย์เลย  เมื่อเป็นเช่นนี้  จึงไม่ทราบว่ามีวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะนั้น  ท่านทำกันอย่างไร  ครั้นเมื่อได้ความอย่างนี้  พระนโมภกขุจึงต้องแบกเอาความผิดหวังเดินทางกลับมายังมหาวิหารตามคำสั่งของพระอาจารย์อีกครั้งหนึ่ง  แล้วกราบเรียนให้ท่านทราบความทุกประการ

พระอาจารย์มหาเถระเฒ่าผู้มีจิตกรุณานั่งนิ่งฟังความจบแล้วจึงกล่าวว่า  ถ้าเป็นเช่นนั้นก็แล้วไป  แต่ไม่เป็นไร  อย่าเพิ่งท้อถอย  เราอยู่ทางนี้ก็พยายามสืบถามอยู่  บังเอิญมีผู้มาบอกว่า  พระอาจารย์ติรงคมหาเถระผู้มีเกียรติยศใหญ่  เป็นคณะปาโมกข์ปกครองคณะสงฆ์อยู่ที่มหาวิหารไกลโพ้น  และเป็นสหายกับเราเมื่อเร็วๆนี้  เขาปลงภาระในด้านคันถธุระเสียทั้งสิ้น  หันมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างเข้มงวดกวดขัน   นัยว่าได้พระอาจารย์ดีถึงขั้นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญาญาณเหาะเหิรเดินอากาศได้  มาแนะนำวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาให้  ถ้ากระไรเธอจงรีบเดินทางไปพบพระติรงคมหาเถระสหายเรานั้นเถิด  บางทีอาจจะได้วิธีการปฏิบัติวิปัสสนาที่แท้จริงก็ได้

เมื่อสดับความจากพระอาจารย์ใหญ่ดังนี้  พระนโมภิกขุผู้มีวาสนาบารมีที่อบรมสั่งสมมาแต่ปางก่อนก็จำต้องบทจรเดินทางไปพบพระติรงคมหาเถระอีกครั้งหนึ่ง  แต่พอไปถึงก็แทบสิ้นศรัทธา  ด้วยว่าบรรดาศิษยานุศิษย์ของพระมหาเถระต่างพากันกีดกันไม่ให้เข้าพบ  โดยบอกเป็นคำขาดว่า  เข้าพบไม่ได้  พระมหาเถระผู้ใหญ่ท่านสั่งไว้  ไม่ให้ใครเข้าไปรบกวนเนื่องด้วยท่านกำลังบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานงานใหญ่  พระนโมภิกขุผู้มีปัญญาไว  จึงให้เข้าไปกราบเรียนกับท่านว่า  ที่มาขอเข้าพบนี่  ก็เพราะมีกิจสำคัญเนื่องด้วยวิปัสสนากรรมฐานงานใหญ่เหมือนกัน  ไม่ทันนานเท่าใด  ก็มีคำสั่งจากพระติรงคมหาเถระคณาจารย์ใหญ่อนุญาตให้เข้าพบได้  เมื่อสนทนาปราศรัยทราบความเป็นไปโดยตลอดแล้ว  พระนโมภิกขุก็ฝากตัวเป็นศิษย์ขอเรียนกรรมฐานกับท่านทันที  พระติรงคมหาเถระก็มีจิตกรุณา  สั่งสอนวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะ  ที่ตนรับมาจากท่านพระเขมมหาเถระผู้ทรงอภิญญานั้นให้ด้วยความเต็มใจ

พระนโมภิกษุปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่ที่นั่นไม่นานเท่าใดพิจารณาเห็นว่าไม่เป็นที่สัปปายะ  จึงนมัสการละพระอาจารย์ติรงคมหาเถระผู้มีคุณใหญ่  เดินทางมุ่งหน้าไปแวะสำนักมหาวิหารของพระอาจารย์ผู้เฒ่า  บอกเล่าความเป็นไปให้ท่านหายห่วงใยก่อน  แล้วจึงบทจรบ่ายหน้าไปยังวิหารปัจจันตชนบท  ที่ท่านเคยพักอาศัยเป็นสุขสบาย  ด้วยความตั้งใจว่า  จะเข้าถ้ำบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน  ให้สำเร็จผลจงได้  ครั้นเดินทางมาถึงวิหารนั้นแล้ว  ก็แจ้งความให้พระมิลกุลโตญผู้เป็นศิษย์และประชาชนชาวบ้านได้ทราบทั่วกัน  พร้อมกับขอความกรุณาให้ช่วยอนุเคราะห์ในเรื่องอาหารบิณฑบาตเหมือนเช่นเดิม  แล้วก็รีบเข้าถ้ำที่เคยอยู่มา  เริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทันที

ทิวาราตรีล่วงไปช้านาน  นับได้ประมาณ 7 ปี  วันนี้เป็นวันธรรมสวนะ  ที่วิหารปัจจันตชนบทใกล้ถ้ำนั้น   มีชาวบ้านทายกทายิกาพากันมาทำบุญถวายทานมากมายในขณะที่เขาเหล่านั้น  กำลังจัดแจงภัตตาหารล้วนแต่ประณีต  เพื่อนำไปถวายพระนโมเถระผู้เป็นเจ้า  ที่เข้ากรรมฐานอยู่ในถ้ำ  อันเป็นกิจวัตรประจำวันที่ช่วยกันทำมานานหลายปี  แล้วอยู่ๆ พวกเขาก็ได้เห็นพระผู้เป็นเจ้า  พระนโมเถระนั้น  ท่านเดินเข้ามายังวิหารด้วยอาการผ่องใส  ก็เกิดโกลาหกตื่นเต้น  ยินดีปรีดากันยกใหญ่  ต่างพากันเข้าไปกราบนมัสการท่านอย่างชุลมุนวุ่นวาย   บ้างก็ไต่ถามความเป็นไปอยู่อึงคะนึง   เมื่อการถวายทานให้พระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จสิ้นลงแล้ว  ท่านก็บอกว่า  ต่อไปนี้  ทุกๆ วัน ธรรมสวนะ  ท่านจะออกจากถ้ำมาแสดงธรรมแก่ชาวบ้าน  ณ  ที่นี่   เพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณ  ที่เฝ้าผลัดเปลี่ยนเวียนเวรส่งภัตตาหารไปให้ท่านเป็นเวลานานหลายปี  และโดยเหตุที่พระธรรมเทศนาที่จะแสดงนี้  จะมีประโยชน์แก่ชาวโลกต่อไปในวันข้างหน้า  ฉะนั้น  จึงขอให้พระมิงกุลโตญศิษย์ของท่าน  ช่วยจดบันทึกข้อความสำคัญในพระธรรมเทศนาไว้ด้วย

นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา  พอถึงวันธรรมสวนะ  ท่านพระอาจารย์นโมเถระก็ออกจากถ้ำมาแสดงพระธรรมเทศนาว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนา  ตามวิธีการวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะซึ่งใจความที่เป็นสาระสำคัญว่า  เมื่อโยคีบุคคลผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร  พระวิปัสสนาญาณจักเกิดขึ้น  ในขันธสันดานตามลำดับ  นับตั้งแต่นามรูปปริจเฉทญาณ  จนกระทั่งถึงมรรคญาณ  ผลญาณและปัจจเวกขณญาณเป็นที่สุด  และพระพุทธบุตรนโมเถระก็อธิบายสภาวะแห่งวิปัสสนาญาณเหล่านั้น  ออกไปอย่างกว้างขวางพิสดารยิ่งนัก  โดยยกเอาพระคัมภีร์วิสุทธิมรรค  และข้อความที่ปรากฏมีในพระบาลีมหาสติปัฏฐานสูตร  พร้อมทั้งอรรถกถาฎีกา  มาเป็นหลักใหญ่  แล้วก็ลงท้ายด้วยคำว่าพระปริยัติธรรมและพระปฏิบัติธรรมจะต้องตรงกัน  พระปฏิเวธธรรมคือมรรคผลนิพพานจึงจะเกิดขึ้นได้  ชาวบ้านปัจจันตชนบททั้งหลายที่ประณมมือแต้ฟังพระธรรมเทศนาว่าด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอันลึกซึ้งอยู่นั้นก็ฟังรู้เรื่องบ้าง  ไม่รู้เรื่องบ้าง  แต่ว่าฟังไม่ค่อยรู้เรื่องเสียมากกว่า  ก็ไม่มีใครเคยเข้าปฏิบัติวิปัสสนา  ….ถึงกระนั้น  พวกเขาก็ไม่ว่าอะไร  พยายามสดับตรับฟังอยู่ได้ทุกวัน  ด้วยความเคารพเลื่อมใสในองค์พระอาจารย์นโมเถระเป็นสำคัญ

ในวันธรรมสวนะสุดท้าย  เมื่อจบการแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว   พระอาจารย์นโมเถระก็กวักมือเรียกพระมิงกุลโตญผู้เป็นศิษย์ให้นำเอาบันทึกพระธรรมเทศนาเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนา  ที่ท่านแสดงติดต่อกันหลายวันธรรมสวนะนั้น  มาพิจารณาตรวจตราแก้ไข  จนถูกต้องดีแล้ว  ก็บอกว่า  จงเก็บรักษาไว้ให้ดี  นี่คือวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะ   แล้วก็หันมาถามชาวบ้านที่ประชุมกันอยู่ที่นั่นว่า  บรรดาท่านทั้งหลายเคยได้ยินคำว่า พระอรหันต์  กันบ้างหรือไม่  ครั้นได้รับคำตอบว่า  เคยได้ยินครับ (เคยได้ยินเจ้าค่ะ)  ท่านจึงถามต่อไปว่า  แล้วท่านทั้งหลายมีใครเคยเห็นองค์พระอรหันต์กันบ้างหรือไม่ เมื่อได้รับคำตอบว่า  ไม่เคยเห็นครับ (ไม่เคยเห็นเจ้าค่ะ)  ท่านจึงถามต่อไปว่า  ขณะนี้อยากจะเห็นองค์พระอรหันต์หรือไม่  เขาเหล่านั้นก็ตอบพร้อมกันว่า  อยากเห็นครับ (อยากเห็นเจ้าค่ะ)  ท่านจึงบอกว่า

ถ้าเช่นนั้น  เพลาปฐมยามราตรีนี้  ขอให้ท่านทั้งหลายไปประชุมกันดู  ที่ปากถ้ำก็คงจะได้เห็นองค์พระอรหันต์

ราตรีนั้น  ครั้นถึงเพลาปฐมยาม  ท่านพระมิงกุลโตญพร้อมกับประชาชนชาวบ้านมากหลาย  ได้พากันมายืนอออยู่ที่ปากถ้ำ  สนทนาไต่ถามกันพึมพำอยู่ว่า  องค์พระอรหันต์ที่ท่านอาจารย์พระนโมเถระบอกให้มาคอยดูนั้น  จะเป็นท่านใด  มาจากไหน  รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร  บางคนก็ว่า  คงจะเป็นพระอรหันต์ท่านเหาะมาจากฟากฟ้าป่าหิมพานต์โพ้น  และบางคนก็ว่า  ไม่ใช่  คงจะเป็นท่านอาจารย์นโมเถระพระผู้เป็นเจ้าของเราเสียกระมัง  เพราะว่าท่านเท่าที่สังเกตดูวันนี้เห็นเจ้ากูมีกายินทร์ผ่องใสยิ่งนัก  ในขณะที่ชาวบ้านกำลังวิพากษ์วิจารณ์อยู่กันนั้น  ก็ให้อันเป็นไปเกิดโอภาสแสงสว่างจ้าขึ้นมาในบริเวณถ้ำแล้วในท่ามกลางแสงสว่างนั้น  ก็พลันปรากฏร่างของพระอาจารย์นโมเถระ  กำลังนั่งตั้งกายตรงดำรงสติมั่น  และหลับตาในท่านั่งกรรมฐานอยู่แลดูงามสง่าน่าเคารพบูชาเลื่อมใสยิ่งนัก  ปรากฏให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่ตามหาชนอยู่ชั่วครู่ใหญ่  แล้วก็เกิดเตโชธาตุ  คือ ไฟลุกขึ้น  เลียมไหม้ชายจีวรและกายของท่านอย่างน่าตกใจ  ผู้คนทั้งหลายเห็นเหตุร้ายเช่นนั้น  ก็พากันวิ่งถลันเข้าไปเพื่อจะช่วยดับไฟ  แต่ก็สายไปเสียแล้ว  ด้วยว่า  เตโชธาตุนั้น  เมื่อตั้งขึ้นและเลียมไหม้อยู่ชั่วอึดใจแล้ว  ก็ไพโรจน์โชติช่วงชัชวาลเข้าสังหารเผลผลาญสรีระกายของท่านอาจารย์นโมเถระพระผู้เป็นเจ้า  ให้ย่อยยับยุบลงโดยเร็วพลันทันใด  เมื่อผู้คนทั้งหลายวิ่งเข้าไปถึงนั้น  ก็ได้เห็นแต่เพียงอัฐิธาตุของท่านเหลือเป็นกองขาวโพลนอยู่

ในกรณีนี้  ถึงแม้ว่าผู้คนเหล่านั้น  จะพากันวิ่งถลันเข้าไปทันการ  ก็คงไม่สามารถที่จะช่วยกันดับไฟที่เผาผลาญได้อย่างเด็ดขาด  เพราะว่าเตโชธาตุนั้นมิใช่ไฟธรรมดา  แต่เป็นเตโชธาตุที่เกิดจากปาฏิหาริย์ของพระอรหันต์  ที่ท่านอธิษฐานไว้ก่อนจะดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน  แท้จริงพระอรหันต์ทั้งหลาย  ไม่ว่าจะเป็นพระอรหันต์ผู้ได้ฌานอภิญญา  หรือพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสกะธรรมดา  เมื่อคราที่ท่านดับขันธ์เข้าพระนิพพานย่อมเกิดปาฏิหาริย์ขึ้นแก่บรมศพของท่านได้ด้วยอำนาจอธิษฐาน ๓ ประการ  คือ  มนุษย์อธิษฐาน๑   เทวดาอธิษฐาน๑ อรหันตอธิษฐาน๑  ….

บรรดาอธิษฐานตามที่กล่าวมาคือ  มนุษย์อธิษฐาน  เทวดาอธิษฐาน  และอรหันตอธิษฐานนั้น  เตโชธาตุที่เกิดขึ้นเผาผลาญท่านอาจารย์นโมเถระอรหันต์จนสรีระกายของท่านย่อยยับยุบลงไป  โดยพลัน  นับได้ว่าเป็นเตโชธาตุที่บังเกิดจาก  อรหันตอธิษฐาน  อันศักดิ์สิทธิ์โดยแท้  คือ  เมื่อท่านอาจารย์นโมเถระบำเพ็ญวิปัสสนา  กรรมฐานอยู่ในถ้ำ  จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์  แล้วออกไปแสดงธรรมเทศนาที่วิหารทุกวันธรรมสวนะ  เพื่อทดแทนคุณของชาวบ้านที่อุตส่าห์นำภัตตาหารไปถวายท่านเป็นเวลานานหลายปี   แต่จะมีผู้ใดใครรู้ผู้หนึ่ง  ซึ่งรู้ว่า  ท่านเป็นพระอรหันต์  ก็ไม่มีเลย  เพื่อที่จะเฉลยให้ผู้มีบุญคุณเหล่านั้นได้ทราบว่าท่านเป็นพระอรหันต์  จะเกิดศรัทธาปสันนาการในทานที่พวกเขาอุตส่าห์กระทำมา  และเกิดศรัทธาปสันนาการในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้นไป  จวบจนอายุของท่านกษัยกาลลงพอดี  ในราตรีปฐมยามนั้น  ก่อนที่จะดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน  ท่านจึงกระทำอรหันตอธิษฐานอันศักดิ์สิทธิ์  ให้บันดาลฤทธิ์เกิดเตโชธาตุขึ้นเผาไหม้สรีระกาย  เพื่อให้ผู้คนทั้งหลายได้เห็นปาฏิหาริย์มหัศจรรย์  ก็ในเมื่อเตโชธาตุเกิดจากอรหันตอธิษฐานอันศักดิ์สิทธิ์ฉะนี้  บรรดาผู้ที่วิ่งเข้าเพื่อจะช่วยดับเตโชธาตุขณะนั้น  ใครเล่าจะวิ่งถลันเข้าไปดับทัน

ฝ่ายพระมิงกุลโตญศิษย์ของท่านเมื่อได้เห็นปาฏิหาริย์มหัศจรรย์เกิดขึ้นกับตาเช่นนั้น  ก็ทราบได้ทันทีว่า  พระนโมเถระอาจารย์ของตนเป็นพระอรหันต์  ก็เกิดโสมนัสปสันนาการยิ่งหนักหนา  จึงประกาศแก่ประชาชนชาวบ้านเหล่านั้น  ซึ่งล้วนแต่เป็นญาติโยม  ของท่านให้ได้ทราบโดยทั่วกัน  ครั้นกลับมาถึงวิหารแล้ว  ก็นำเอาบันทึกพระธรรมเทศนาว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะ  มาพิจารณาศึกษาจนเป็นที่เข้าใจดีแล้ว  จึงบอกลาญาติโยมชาวบ้าน  เดินเข้าถ้ำไปบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน  อันเป็นการเจริญรอยตามพระอาจารย์นโมเถระอรหันต์ทันที

การบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน  ของท่านพระมิงกุลโตญนี้ปรากฏว่าท่านอุตสาหะบำเพ็ญอยู่นานหลายปี  โดยมีญาติโยมทายกทายิกา  ผลัดเปลี่ยนเวียนเวรกัน  นำเอาภัตตาหารไปถวายท่านที่ถ้ำเช่นเดียวกับที่เคยนำไปถวายพระนโมเถระอรหันต์ทุกวัน  เมื่อบำเพ็ญวิปัสสนกรรมฐานอยู่นานจนได้ผลเป็นที่พอใจแล้ว  ก็ออกจากถ้ำที่บำเพ็ญกรรมฐานมายังวิหาร  ตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานขึ้นโดยตัวท่านเองเป็นพระวิปัสสนาจารย์บอกกรรมฐาน  ตามวิธีการวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะ  ที่ท่านบันทึกไว้และเคยปฏิบัติมา  ประชาชนชาวบ้านต่างพากันศรัทธาเลื่อมใส  มาเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมากมาย  ไม่นานเท่าใดชื่อเสียงสำนักวิปัสสนากรรมฐานของท่านอาจารย์พระมิงกุลโตญ  ก็ค่อยขจรขจายแผ่กว้างออกไป

สมัยนั้น  ยังมีภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งนามว่า  พระนารทภิกขุ  เป็นผู้มีบุรพวาสนาควรแก่การบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน  ครั้นบรรพชาอุปสมบทแล้ว  ก็ตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยฝ่ายคันถธุระ  จนมีความรู้ในวิชาการทางพระพุทธศาสนาเชี่ยวชาญดี  แต่แทนที่จะมีความพิใจใฝ่หาเกียรติยศชื่อเสียงในด้านคันถธุระ  กลับมีความพอใจใคร่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  อันเป็นการนำตนออกจากทุกข์ในวัฏสงสาร  เพื่อไม่ให้เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา  ก็พอได้สดับข่าวอันเป็นมงคลว่า  พระอาจารย์มิงกุลโตญตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานขึ้นแล้ว  จึงเดินทางไปพบกับพระอาจารย์มิงกุลโตญ  เพื่อสอบถามให้แน่ใจก่อนว่า  สำนักปฏิบัติกรรมฐานที่ตั้งขึ้นมานี้  เป็นสำนักปฏิบัติสมถกรรมฐาน  หรือปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  ครั้นได้ความแจ้งชัดว่า  เป็นสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  ตามวิธีการวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะ  ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระโสณะอรหันต์และพระอุตตระอรหันต์ตั้งแต่ครั้นบุรพกาล  พระนารทภิกขุก็ให้ดีอกดีใจสุดประมาณ  รีบอภิวันท์ขอกรรมฐานจากพระอาจารย์แล้วก็เริ่มบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานทันที

พระนารทภิกขุผู้มีบุรพวาสนา  อุตสาหะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่เป็นเวลาช้านานนับด้วยจำนวนปี  โดยมีพระอาจารย์มิงกุลโตญเป็นพระวิปัสสนาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน  และเป็นผู้ควบคุม  ในขณะปฏิบัติอย่างเข้มงวดกวดขัน  ในที่สุดก็ได้ผลสมความมุ่งหมาย  ทำให้ท่านหมดความสงสัยในวิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  เพราะว่าพระวิปัสสนาญาณต่างๆ  ปรากฏอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง  จนท่านได้บรรลุอมตธรรมในพระพุทธศาสนา  พระอาจารย์มิงกุลโตญพิจารณาเห็นว่า  พระนารทภิกขุผู้เป็นศิษย์ของท่านรูปนี้  มีสติปัญญามาก  ทั้งสภาวะพระวิปัสสนาญาณก็ปรากฏขึ้นในขันธสันดานชัดเจนแจ่มใสควรจะเป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนาด้านวิปัสสนาธุระต่อไปภายหน้า  จึงมีคำสั่งกำชับให้ท่านทบทวนพระวิปัสสนาญาณ  จนเชี่ยวชาญแม่นยำในสภาวะพระวิปัสสนาญาณอยู่เป็นเวลานาน  เมื่อเป็นที่พอใจท่านแล้ว  ก็ให้ออกจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  เพื่อสอนวิชาวิปัสสนาจารย์ให้ต่อไป

พระนารทภิกขุผู้มีความเชี่ยวชาญในสภาวะพระวิปัสสนาญาณ  เมื่อออกจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมาเรียนวิชาวิปัสสนาจารย์ก็ตั้งอกตั้งใจศึกษาเล่าเรียนด้วยความเอาใจใส่  ไม่นานเท่าใด  พระอาจารย์มิงกุลโตญก็ถ่ายทอดวิชาวิปัสสนาจารย์ให้จนหมดสิ้น  ครั้นได้วิชาวิปัสสนาจารย์อันมีคุณค่ามหาศาลติดตัวแล้ว  พระนารทภิกขุก็อภิวันท์อำลาพระอาจารย์ผู้มีคุณใหญ่ไม่นานเท่าใดก็ตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานขึ้นที่เมืองสะเทิม  หรือเมืองสุธรรมบุรีในอดีตกาลนั่นเอง

กาลต่อมา  ปรากฏว่า  พระอาจารย์นารทเถระนั้น  ท่านเป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่มีชื่อเสียงลือชาเป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนาด้านวิปัสสนาธุระ  ตามที่พระอาจารย์มิงกุลโตญคาดหวังไว้ทุกประการมหาชนเรียกท่านอีกนามหนึ่งว่า  พระมิงกุลเชตะวัน  สะยาด่อร์  ที่สำนักปฏิบัติวิปัสสนาของท่าน  มีศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์มากมาย  ในบรรดาศิษยานุศิษย์จำนวนมากนั้น  ปรากฏว่ามีศิษย์บรรพชิต  ที่สำคัญที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยปัจจุบันอยู่รูปหนึ่ง  นามว่า  พระโสภณมหาเถระ  อัครมหาบัณฑิต  ซึ่งมีกิตติประวัติอันเลื่องลือไปทั่วโลกในด้านวิปัสสนาธุระ
พระอาจารย์โสภณมหาเถระ  อัครมหาบัณฑิต

   ท่านพระอาจารย์โสภณมหาเถระ อัครมหาบัณฑิตนี้ ท่านเกิดเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๗ โยมบิดามีนามว่า อูกันถ่อ โยมมารดามีนามว่า ด่อร์ ซวยออก เกิดที่บ้านตำบล เชตโข่นซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองสวยะโบ่ ออกไปประมาณ ๗ ไมล์ เมืองสวยะโบ่นี้เคยเป็นราชธานีของพม่าครั้งหนึ่งในสมัยราชวงศ์อลองพญาซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้าย  ของพม่า

   ประวัติด้านการศึกษาหรือคันถธุระ ปรากฏว่าท่านได้รับการศึกษามาตั้งแต่ครั้งยังเป็นกุมารอยู่ คือ เมื่อมีอายุได้ ๖ ปี ก็เข้าเรียนหนังสือที่วัดประจำหมู่บ้านที่ท่านเกิด ณ เมืองสวยะโบ่นั้นครั้นอายุได้ ๑๒ ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณร และศึกษาวิชาวิชาการทางพระพุทธศาสนาสูงขึ้นตามลำดับ ตราบเท่าจนถึงอายุครบปีบวชจึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา มีนามฉายาว่า โสภณภิกขุ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๖

ครั้นอุปสมบทและจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านเกิดพอประมาณแล้ว จึงออกเดินทางเพื่อไปศึกษาต่อ ณ นครมัณฑล ราชธานีเก่าแห่งหนึ่งของพม่า ได้ศึกษาพระบาลีไตรปิฎกอรรถกถาฎีกา และนานาพระคัมภีร์ ที่สำนักเรียนวัดขิ่นมะกัน กับพระอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในวิชาการทางพระพุทธศาสนาหลายรูป จนมีความรู้สามารถสอบผ่านหลักสูตรการศึกษาตามลำดับชั้น คือ ชั้นปฐมแง ชั้นปฐมลัต และชั้นปฐมจี แล้วในที่สุดก็ได้สำเร็จการศึกษาชั้น ธัมมาจริยะ ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดการศึกษาของคณะสงฆ์พม่า

เมื่อจบการศึกษา และสามารถพูดภาษามคธได้ คล่องแคล่วเป็นพิเศษแล้วท่านจึงเดินทางไปยังเมืองมระแหม่ง ประเทศพม่า เพื่อทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์สอนพระคัมภีร์บาลีไตรปิฎกอรรถกถา ณ สำนักเรียนวัดตองไวกาเล พร้อมกับดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการสอบพระบาลีนักศึกษาในเมืองนั้นด้วย วึ่งท่านก็ทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายด้วยดีจึงเป็นอันว่า บัดนี้ พระโสภณภิกขุ ได้ทำหน้าที่การศึกษาหรือคันถธุระ โดยสมบูรณ์ทุกประการ

ประวัติในด้านวิปัสสนากรรมฐานหรือวิปัสสนาธุระ ปรากฏว่า ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๔ ขณะที่ท่านมีอายุได้ ๒๘ พรรษา ๘ ท่านพระโสภณภิกขุ กำลังทำหน้าที่เป็นพระอาจารย์สอนพระคัมภีร์บาลีไตรปิฎกอรรถกถา อยู่ที่เมืองมระแหม่งนั้น เมื่อถึงเวลาปิดภาคการศึกษา ด้วยบุรพวาสนาที่สั่งสมมาควรแก่การบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน จึงปรึกษาหารือกับภิกษุสหายกันรูปหนึ่ง เห็นพ้องต้องใจกันเป็นอันดีแล้ว ก็เตรียมการเดินทาง เพียงนำเอาบริขารที่จำเป็น เช่น บาตรและไตรจีวรเป็นต้นติดตัวไปเท่านั้น ออกเดินทางจากเมืองมระแหม่งเพื่อแสวงสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องถ่องแท้ พบสำนักปฏิบัติกรรมฐานใดแม้จะประกาศไว้ว่าเป็นสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน แต่มีหลักการเลือนรางค่อนข้างไปทางสมถกรรมฐาน ท่านก็เดินทางผ่านไปไม่ปรารถนา ทั้งนี้ก็เพราะว่า พระอาจารย์โสภณภิกขุและสหายของท่านนั้น เป็นผู้ทรงวิชาการในด้านคันถธุระสูงส่ง จึงพอที่จะทราบว่าอะไรคือ สมถกรรมฐาน และอะไรคือวิปัสสนากรรมฐาน ตราบจนเดินมาถึงสำนักวิปัสสนากรรมฐานของท่านอาจารย์พระนารทมหาเถระ หรือเรียกอีกนามหนึ่งว่า พระอาจารย์มิงกุลเชตะวันสะยาด่อร์ ซึ่งตั้งอยู่  ณ เมืองสะเทิม  หรือเมืองสุธรรมบุรีนั่นแล้ว  จึงเข้าไปหาพระอาจารย์นารทมหาเถระผู้เป็นใหญ่  สอบถามได้ความแน่ชัดว่า  สำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแห่งนี้เป็นสำนักที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างแจ้งชัด  มีหลักการปฏิบัติต้องตามพระบาลีอรรถกถา  ทั้งสืบเนื่องมาจากวิปัสสนาวงศ์พระอรหันตะ  จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใส  น้องอภิวันท์ขอกรรมฐานจากพระอาจารย์แล้ว  ก็เริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานทันที

ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของท่านพระโสภณภิกขุนี้  ท่านจำเป็นที่จะต้องปลุกระดมอินทรีย์ทั้งห้ามีสัทธินทรีย์เป็นต้น  ให้บังเกิดขึ้นกับตนอยู่ตลอดทุกวัน  ด้วยการอุตสาหะปฏิบัติย่างคร่ำเคร่งอยู่ตลอดเวลา  ทั้งนี้ก็เพราะว่า  ท่านอาจารย์พระนารทมหาเถระผู้เป็นวิปัสสนาจารย์นั้น  ท่านเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในสภาวะพระวิปัสสนาญาณต่างๆ ทั้งมีน้ำใจห่วงใยพระพุทธศาสนาและวิปัสสนาวงศ์  เมื่อพิจารณาเห็นว่า  พระโสภณภิกขุศิษย์ของท่านรูปนี้  เป็นผู้มีความรู้ในด้านปริยัติหรือคันถธุระเป็นอย่างสูง  มีสติปัญญามากทั้งพระวิปัสสนาญาณก็บังเกิดขึ้นในขันธสันดานโดยชัดเจน  ควรจะเป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนาในด้านวิปัสสนาธุระต่อไปในภายหน้า  ฉะนั้น ท่านอาจารย์พระนารทมหาเถระเจ้าสำนัก  แม้ตามปกติจักต้องสอนศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์เป็นจำนวนมากอยู่ทุกวันแต่ท่านก็มีเวลาให้เป็นพิเศษสำหรับศิษย์บรรพชิตสำคัญรูปนี้  โดยมีคำสั่งว่าจะต้องมาสอบอารมณ์กรรมฐานกับท่านทุกวัน  และท่านก็คอยควบคุมดูแลอยู่อย่างกวดขันใกล้ชิด  จึงทำให้พระโสภณภิกขุผู้เป็นศิษย์ต้องปฏิบัติอย่างเคร่ำคร่งอยู่ตลอดเวลา  สมจริงตามที่ท่านพรรณนาเหตุการณ์ตอนนี้ไว้  ในเมื่อท่านได้เป็นพระวิปัสสนาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่แล้ว  โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า

“เราจะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามสติปัฏฐานทั้ง ๔ กันอย่างไร? ในมหาสติปัฏฐานสูตร  สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระมหากรุณาตรัสไว้ว่า  เฝ้าตามดูกายในกายอยู่  เฝ้าตามดูเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่  เฝ้าตามดูจิตในจิตอยู่  เฝ้าตามดูธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ดังนี้

สำหรับโยคีบุคคลโดยทั่วไป  ถ้าปราศจากพระอาจารย์ที่ดีคอยให้คำแนะนำพร่ำสอนแล้ว  จะไม่สามารถปฏิบัติในการเฝ้าตามดูอาการเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องตามหลักธรรม  ทั้งจะไม่สามารถปฏิบัติให้เจริญก้าวหน้าในการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานได้เลย

ข้าพเจ้าเอง  เมื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานในความควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดโดยตรง  ขอท่านพระอาจารย์พระนารทมหาเถระหรือท่านอาจารย์พระมิงกุลเชตะวันนั้น  ต้องปฏิบัติสติปัฏฐานภาวนาอย่างคร่ำเคร่งที่สุด”

ท่านพระโสภณภิกขุ  อุตสาหะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  ภายใต้การสอนการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด  ของท่านอาจารย์พระนารทมหาเถระอยู่เป็นเวลานานจนเป็นที่พอใจท่านอาจารย์แล้ว  ท่านจึงสั่งกำชับให้ทำการทบทวนพระวิปัสสนาญาณ  จนมีความชำนาญแม่นยำในสภาวะวิปัสสนาญาณต่างๆ แล้วก็ให้ออกจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  เพื่อเรียนวิชาวิปัสสนาจารย์ต่อไป  เมื่อพระ..มีความเชี่ยวชาญในสภาวะพระวิปัสสนาญาณได้รับการถ่ายทอดวิชาวิปัสสนาจารย์อันมีค่ามหาศาล  จากท่านอาจารย์พระนารทมหาเถระเสร็จสิ้นแล้ว  จึงอภิวันท์อำลาพระอาจารย์ผู้มีคุณใหญ่  เดินทางออกจากเมืองสะเทิมหรือเมืองสุธรรมบุรี  ดินแดนที่สองพระอรหันต์ท่านพระโสณะอรหันต์และพระอุตตระอรหันต์นำเอาพระพุทธศาสนาและวิปัสสนาวงศ์มาประดิษฐานเป็นเบื้องแรก  แต่อดีตกาลโพ้น

เมื่อท่านอาจารย์พระโสภณภิกขุเดินทางออกจากเมืองสะเทิมแล้ว  ก็เดินทางบ่ายหน้าไปยังเมืองสวยะโบ่  อันเป็นชาติภูมิของท่าน  เพื่อแสวงหาสถานที่เหมาะใจ  ตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  หลังจากแสวงหาอยู่ไม่นาน  ก็ได้พบว่าที่วัดมหาสี  ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่บ้าน  ตำบลเชตโข่น  เมืองสวยะโบ่  ใกล้บ้านเกิดของท่านนั่นเอง  เป็นสถานที่เหมาะสมที่จะเป็นสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  จึงมีโครงการจะตั้งสำนักปฏิบัติที่นั่น  แต่ท่านยังมีภาระที่จะต้องไปเป็นอาจารย์สอนพระบาลีไตรปิฎกอรรถกถาที่เมืองมระแหม่งอยู่  จำเป็นต้องพักโครงการนั้นไว้ก่อน  แล้วออกเดินทางไปยังสำนักเรียนวัดตองไวกาเล  เมืองมระแหม่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปให้เสร็จสิ้น

ครั้นท่านอาจารย์โสภณเถระ  ผู้ผูกใจอยู่กับการตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนา  ได้ทำหน้าที่สอนพระคัมภีร์  ที่เมืองมระแหม่ง  ตามที่ได้รับมอบหมายเสร็จสิ้นลงแล้ว  ก็ออกเดินทางกลับมายังสวยะโบ่  เมื่อปีพุทธศักราช 2484

เมื่อจัดตั้งสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรฐานขึ้นแล้ว  ท่านก็เริ่มบำเพ็ญศาสนกิจในด้านวิปัสสนาธุระอย่างจริงจังในสำนักวิปัสสนาแก่งนั้น  โดยท่านเองเป็นพระวิปัสสนาจารย์ทำหน้าที่บอกกรรมฐานแก่บรรพชิตและชาวบ้านทั่วไป  ไม่นานเท่าใด  กิตติศัพท์ชื่อเสียงของท่านก็ค่อยฟุ้งขจรไปไกล  ในขณะนั้น  มหาชนมักเรียกท่านอย่างติดปากอีกนามหนึ่งว่า  พระอาจารย์มหาสี  สะยาด่อร์  การที่พวกเขาพอใจที่จะเรียกขานท่านเช่นนี้  ก็เพราะมีสมุฏฐานง่ายๆ มาจากชื่อวัดที่ท่านตั้งเป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐานนั่นเอง  คือ วัดนั้นเดิมชื่อว่าวัดมหาสี  คำว่า มหา  เป็นภาษามคธ แปลว่า ใหญ่  คำว่า สี  เป็นภาษาพม่า  แปลว่า กลอง  เมื่อนำคำสองคำนี้มารวมกันเข้า  ก็เป็นคำว่า  มหาสี  แปลว่า กลองใบใหญ่  เหตุที่วัดนั้นมีชื่อว่า มหาสี  ก็เพราะว่าที่วัดนั้นมีกลองใหญ่อยู่ใบหนึ่ง  ครั้งท่านอาจารย์มาตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานขึ้นที่วัดมหาสีนั้นได้มีกิตติศัพท์ชื่อเสียง  เป็นที่ยอมรับนับถือของคนทั่วไป  พวกเขาจึงพอใจที่จะเรียนกท่านด้วยศรัทธาเลื่อมใส  ให้เป็นที่รู้กันง่ายๆ ว่า พระอาจารย์มหาสี  สะยาด่อร์

กาลต่อมา ฯพณฯ อูนุ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศพม่า  พร้อมกับท่านเสอร์ อู สวิน ในฐานกรรมการบริหารสมาคมพุทธสาสนสังคหะ  แห่งพระนครย่างกุ้ง  ได้ทราบกิตติศัพท์อันยิ่งใหญในด้านการสอนวิปัสสนากรรมฐาน ของท่านพระโสณมหาเถรแล้ว  มีศรัทธาเลื่อมใสในองค์ท่านเป็นอย่างมาก  กอปรทั้งเกิดมหากุศลจิตคิดจะให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลกต่อไปในวันข้างหน้า  จึงดำเนินการจัดตั้งสำนักวิปัสสนาขึ้น ณ สำนักงานใหญ่ของสมาคม  ที่พระนครย่างกุ้ง  ตั้งชื่อว่า  สำนักปฏิบัติวิปสสนาสาสนยิตสา  แล้วพร้อมใจกันไปอารธนาท่านพระโสภณมหาเถระ  ธัมมาจริยะ  ให้มาเป็นพระวิปัสสนาจารย์  เมื่อปีพุทธศักราช 2492

ท่านอาจารย์พระโสภณมหาเถระ ธัมมาจริยะ  ผู้มีวิรยะอุตสาหะ ในการสอนวิปัสสนากรรมฐาน  เมื่อรับอาราธนาให้มาดำรงตำแหน่งเป็นพระวิปัสสนาจารย์  ณ สำนักข้างหน้า  จึงดำเนินการจัดตั้งสำนักวิปัสสนาขึ้น ณ สำนักงานใหญ่ของสมาคม  ที่พระนครย่างกุ้ง  ตั้งชื่อว่า  สำนักปฏิบัติวิปสสนาสาสนยิตสา  ซึ่งมีเนื้อที่กว้างใหญ่ประมาณ ๖๐ ไร่  ประกอบด้วยอาคารที่พักอาศัยประมาณกว่า ๕๐ หลังแล้ว  ท่านก็เริ่มปฏิบัติหน้าที่สอนกรรมฐานให้กับโยคีบุคคลผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย  ตามที่ได้รับอาราธนานามา  ปรากกฎว่ามีผู้เลื่อมใสพากันเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์หญิงชายเป็นจำนวนมากมาย  ไม่นานนักเลย  กิตติศัพท์ชื่อเสียงของสำนักวิปัสสนาสาสนยิตสา  แห่งพระนครย่างกุ้ง  และกิตติศัพท์ชื่อเสียงท่าน  ก็ถึงความเกรียงไกรแพร่หลาย  ฟุ้งขจรไปยังประเทศต่างๆ เช่น ประเทศไทยและประศรีลังกาเป็นต้น  เมื่อเป็นเช่นนั้น  ก็สุดที่รัฐบาลแห่งประเทศพม่า  จะนิ่งเฉยทนต่อความดีของท่านอยู่ได้  จึงมีมติให้สถาปนาท่านดำรงสมณศักดิ์สูงส่งชั้น  อัครมหาบัณฑิตเพื่อให้เป็นเกียรติศักดิ์อันยิ่งใหญ่สืบไป

ในกรณีนี้  พึงทราบเพิ่มเติมว่า  อันพระสงฆ์มหาเถรในเมียนม่าร์ที่ดำรงสมาณัศักดิ์สูงชั้นอัครมหาบัณฑิตนี้  รัฐบาลแห่งประเทศเมียนม่าร์ถือว่าเป็นพระสงฆ์ที่มีเกียรติยิงใหญ่  จึงตั้งนิตยภัตถวายเป็นประจำ   กับทั้งตั้งเงินเดือนให้แก่โยมลบิดและโยมมารดาของพระสงฆ์มหาเถรรูปนั้นด้วย

ในปีพุทธศักราช 2498  รัฐบาลแห่งประเทศพม่าได้จัดให้มีงานฉัฏฐสังคายนาครั้งที่หก ซึ่งเป็นงานยิ่งใหญ่ทางพระพุทธศาสนาขึ้น  ณ พระนครย่างกุ้ง

พระอาจารย์อาสภเถระมาประเทศไทย

ในปีพุทธศักราช 2495 สมเด็จพระพุฒาจารย์ แห่งประเทศไทย  สมัยนั้นท่านดำรงสมณศักดิ์เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะ ที่ พระพิมลธรรม  และมีตำแหน่งหน้าที่สูงเด่นเป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง  สถิตอยู่ ณ วัดมหาธาตุวยุวราชรังสฤษำฎิ์ กรุงเทพมหานคร  ท่านอนุสรณ์ถึงความเป็นไปของพระพุทธศาสนา  เกิดมหากุศลจิตคิดวจะให้มีการบำเพ็ญวิปัสสนาธุระขึ้นในประเทศ  ก็ให้บังเอิญพอดี  ด้วยปรากฏว่ามีพระสงฆ์ที่เป็นศิษย์ของท่านรูปหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพสิทธิมุนี  แต่ในสมัยนั้น  ยังใช้นามเดิมว่า พระมหาโชดก ญาณสิทธิ ป.ธ. ๙ เจ้ากูรูปนี้ เป็นผู้มีบุรพวาสนาควรแก่การบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน  และเป็นวิปัสสนาจารย์ในชาตินี้  จึงเมื่อสอบความรู้พระปริยัติธรรมบาลีได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค  หรือเรียกโดยย่อว่า ป.ธ.๙ ซึ่งเป็นความรู้ชั้นสูงสุดแห่งการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย  แล้วก็มีใจฝักใฝ่อยู่แต่การภาวนา  พระพิมลธรรม  หรือที่ชาวสยามประเทศเรียกว่า  ท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม  เห็นเป็นโอกาสเหมาะที่จุสมความปรารถนาในการก่อตั้งวิปัสสนาธุระขึ้นในประเทศไทยจึงกรุณรานำ  พระมหาโชดก ญาณสิทธิ  ป.ธ. ๙ ให้ไปเข้าวิปัสสนากรรมฐาน ณ สำนักปฏิบัติวิปัสสนาสาสนยิตสา  ซึ่งเป็นสำนักที่   ฯพณฯ อูนุ อดีตยายกรัฐมนตรีแห่งประเทศเมียนม่าร์จัดสร้างขึ้นไว้  ในพระนครย่างกุ้ง  โดยฝากให้อยู่ความปกครองดูแลของท่านอาจารย์พระโสภณมหาเถระ  อัครมหาบัณฑิต  หรือพระอาจารย์มหาสี  สะยาด่อร์  ซึ่งเป็นเจ้าสำนักใหญ่อยู่ในขณะนั้น

ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธิมุนี หรือพระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ. 9 ในสมัยนั้นเมื่อได้เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสมใจแล้ว ก็อุตสาหะปฏิบัติด้วยความพยายามเป็นอย่างยิ่ง  ในขณะที่ท่านปฏิบัติอยู่นั้น  โดยเหตุที่ท่านอาจารย์พระโสภณมหาเถระ  ท่านมีภารกิจมากมาย  ไม่สามารถที่จะทำหน้าที่สอนและสอบอารมณ์กรรมฐานได้ทุกวันฉะนั้น  จึงมอบให้พระอาจารย์ภัททันตะ  อาสภเถระ ธัมมาจริยะ  ทำหน้าที่เป็นผู้สอบอารมณ์และสอนกรรมฐานอยู่เป็นประจำ  ในเบื้องแรก  ก็อาจจะมีความลำบากอยู่บ้างในเรื่องภาษาเนื่องจากว่าพระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ   เป็นพระสงฆ์ไทย   จึงใช้ภาษาไทยมาแต่กำเนิด    และพระอาจารย์ ภัททันตะ  อาสภเถระ เป็นพระสงฆ์เมียนม่าร์ ก็ใช้ภาษาพม่ามาแต่กำเนิดอีกเช่นกัน  แต่ทั้งสองท่านก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้  โดยท่านบอกว่าใช้ภาษามคธเป็นสื่อในการสอนและการสอบอารมณ์กรรมฐาน  เพราะแต่ละท่านต่างก็มีความรู้ในวิชาการทางพระพุทธศาสนาสูงส่งด้วยกันทั้งคู่  แต่ก็คงอยู่บางครั้ง  ที่ท่านไม่สามารถจะสร้างความเข้าใจให้แก่กันและกันได้  ในขณะนั้น  ท่านจะจะใช้ภาษาใบ้บ้างก็ได้  ใครจะไปรู้

หลังจากปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่เป็นเวลานานประมาณ ๓ เดือน  ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธิมุนีผู้มีบุรพวาสนา  ก็ได้บรรลุผลการปฏิบัติวิปัสสนาสมความมุ่งหมาย  จึงออกจารการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  แสวงหาประสบการณ์เกี่ยวกับการวิปัสสนา  และการพระศาสนาในประเทศเมียนม่าร์อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง  แล้วจึงมีโครงการเดินทางกลับประเทศไทย  เพื่อมาจัดตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานต่อไป  ในขณะเดียวกัน  ท่านพระพิมลธรรมได้แสดงความจำนงไปยังสภาการพุทธศาสนา  แห่งประเทศพม่าขอให้นัดส่งพระวิปัสสนาจารย์ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญมาช่วยสอนวิปัสสนากรรมฐานในประเทศไทย  สภาการพุทธศาสนาแห่งประเทศเมียนม่าร์  จึงมอบให้เป็นภาระหน้าที่ของอาจารย์พระโสภณมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต  เป็นผู้พิจารณาหา พระวิปัสสนาจารย์  ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม  ตามความต้องการของท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรม  สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครองแห่งคณะสงฆ์

ท่านอาจารย์พระโสภณมหาเถระ  อัครมหาบัณฑิต   พิจารณาโดยรอบคอบแล้วจึงมีตำคำสั่งให้    พระอาจารย์ภัททันตะ  อาสภเถร  ธัมมาจริยะ  เป็นผู้รับภาระหน้าที่อันสำคัญนี้จงอย่ามีความขัดข้องหรือปฏิเสธเลย  เมื่อเป็นเช่นนี้  พระอาจารย์อาสภเถระผู้มีชะตาจะได้เดินทางมาอยู่ประเทศไทย  ก็ได้แต่นึกอยู่ในใจถึงข้องความในพระวินัยอรรถกถาวา  โส เตสํ เตสํ  ภิกฺขูนํ  ภารํ  กตฺวา  เต เต  ตตฺถ  ตตฺถ  เปเสสิ  เมื่อครั้งทำตติยสังคายนาเสร็จสิ้นใหม่ๆ นั้น  ท่านพระมหาโมคคัลลีบุตรติสสเถระผู้เป็นใหญ่ได้มีคำสั่งให้พระสงฆ์ทั้งหลายเดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนามากมายถึง ๙ สายด้วยกัน  แล้วท่านจึงตัดสินใจเดินทางมาประเทศไทย  เข้ารับหน้าที่เป็นพระวิปัสสนาจารย์บอกกรรมฐาน อยู่ ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์  กรุงเทพมหานคร  เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๖

สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม

ท่านอาจารย์ภัททันตะ  อาสภเถระ  ธัมมาจริยะ  อุตสาหะทำหน้าที่เป็นพระวิปัสสนาจารย์บอกกรรมฐาน  ให้แก่โยคีบุคคลผู้มีปกติเห็นภัยในวัฏสงสาร  และปรารถนาจะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน  อยู่ที่วัดมหาธาตุ.. เป็นเวลานานหลายปีจวบจนกระทั่งมีผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานศิษย์ของท่าน  ซึ่งเป็นชาวจังหวัดชลบุรี  คือ นายธรรมนูญ สิงคาลวณิช  และพระภิกษุเดือน  เนื่องจำนงค์  มีความประสงค์จะยกย่อง พระบวรพุทธศาสนาและการวิปัสสนาธุระ  จึงศรัทธาอุตสาหะสร้างสำนักวิปัสสนาขึ้นใหม่ที่จังหวัดชลบุรี  แล้วอาราธนาให้ท่านมาพักอยู่ ณ สำนักวิปัสสนาที่สร้างขึ้นใหม่นี้  เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๕

เมื่อท่านอาจารย์ภัททันตะ  อาสภเถระ  ธัมมาจริยะ  ได้รับอาราธนามาพักอยู่ที่สำนักวิปัสสนาที่สร้างขึ้นใหม่  ซึ่งก็ยังไม่ทราบเหมือนกันว่าชื่อสำนักอะไร  เพราะยังไม่ได้ตั้งชื่อตั้งนาม  แต่ท่านก็พำนักอยู่ด้วยความเป็นสุขสวัสดี  ชั่วเวลาไม่นานนัก  ฯพณฯ นายสัญญา  ธรรมศักดิ์  อดีตนายกรัฐมนตรี  แห่งประเทศไทย  ก็ได้เดินทางมาเยี่ยมเยียนท่านอาจารย์แล้วกรุณาตั้งชื่อสำนักวิปัสสนาที่สร้างขึ้นใหม่ว่า สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรมในพรรษาแรกที่ตั้งสำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรมนี้ คือเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ มีพระสงฆ์เข้าจำพรรษาและดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับวิปัสสนาอยู่เพียง ๔ รูป คือ

1.พระอาจารย์อาสภเถระ  ธัมมาจริยะ  เป็น พระวิปัสสนาจารย์

๒.พระมหาวิลาศ  าณวโร  ป.ธ. ๙ เป็น ศิษย์ปฏิบัติวิปัสสนา

๓.พระภิกษุปุ่น  มนฺตาคโม  (พระหลวงตา) เป็น ศิษย์ปฏิบัติวิปัสสนา

๔.พระภิกษุเดือน  เนื่องจำนงค์  เป็น ผู้บริการถวายความสะดวกทั่วไป

กาลต่อมา  สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม  ก็วัฒนาสถาพรขึ้นเรื่อยๆ จนมีสภาพเช่นที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน   ทั้งนี้ก็เพราะว่าได้อาศัยศรัทธาอุตสาหะของพระภิกษุเดือน   เนื่องจำนงค์และนายธรรมนูญ  สิงคาลวณิช  เป็นปัจจัยสำคัญ  ปัจจุบันนี้  สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรมมีการดำเนินการในรูปมูลนิธิ ชื่อว่า มูลนิธิวิเวกอาศรม  โดยมีนายธนิต  อยู่โพธิ์  เป็นประธาน กรรมการ อันว่านายธนิต อยู่โพธิ์ หรือที่ท่านอาจารย์อาสภเถระ เรียกติดปากว่าอธิบดีธนิตนี้เป็นผู้มีวิถีชีวิตแปลกประหลาด ไม่มีใครเคยคาดฝันมาก่อนว่าจะมาเกี่ยวข้องกับวงการวิปัสสนาคือว่าในตอนปฐมวัย  ท่านบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา  อุตสาหะเล่าเรียนพระปริยัติธรรม  จนมีความรู้สามารถสอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค  หรือเรียกย่อว่า ป.ธ. ๙ ซึ่งเป็นวุฒิสูงสุดการศึกษาแห่งคณะสงฆ์ไทย  ลาสิกขาไปรับราชการเสียนานหนักหนา  จนเป็นข้าราชการสูงสุดระดับกรม  โดยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร  แล้วย้อนกลับมาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  ณ  สำนักวิปัสสนากรรมฐานวิเวกอาศรมนี้  มีพระอาจารย์ภัททันตะ  อาสภเถระ  เป็นพระวิปัสสนาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน  ด้วยอำนาจวาสนาบารมีที่สั่งสมมาแต่ปางบรรพ์  พระวิปัสสนาญาณก็เกิดขึ้นในขันธสันดานตามลำดับ  ในที่สุด  ก็ได้รับผลของของการปฏิบัติวิปัสสนาสมความมุ่งหมาย  เมื่อออกจารการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแล้ว  ได้อุตสาหะ  รจนาหนังสือตำราเกี่ยวกับวิปัสสนามากมายหลายเล่ม  เฉพาะที่สำคัญ คือ วิปัสสนานิยม  สติปัฏฐานสำหรับทุกคน  และวิสุทธิญาณนิเทศ เป็นอาทิ  .ซึ่งหาได้ยากยิ่งในโลกปัจจุบัน

พระอาจารย์อาสภเถระ

พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

ท่านอาจารย์ภัททันตะ  อาสภเถระ  ธัมมาจริยะ  ได้บำเพ็ญศาสนกิจด้านวิปัสสนาธุระ  อยู่ที่สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรมนี้  โดยเป็นพระวิปัสสนาจารย์บอกกรรมฐาน  ให้แก่โยคีบุคคลผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจำนวนมากมาย  ไม่เพียงเฉพาะแต่ชาวไทยเท่านั้น  แม้ชาวต่างประเทศในทวีปยุโรป  ทวีปอเมริกา  และทวีปออสเตรเลีย  ก็เคยเดินทางมาเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอยู่กับท่าน  นอกจากนั้น  ท่านยังทำหน้าที่เป็นพระวิปัสสนาจารย์บอกกรรมฐาน  ให้แก่บรรดาพระบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์  ซึ่งพากันมาฝึกหัดการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน  ที่สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรมนี้  นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๒๖ ตราบจนปัจจุบัน  แม้ว่าท่านอาจารย์จะมีภาระหน้าที่ในด้านการบอกกรรมฐานอยู่หนักหนา  แต่ก็ยังปลีกเวลา  อุตสาหะรจนาหนังสือธรรมเกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนา  เป็นภาษาไทยไว้  ดังต่อไปนี้

๑.แว่นธรรมปฏิบัติ

๒.แนวปฏิบัติวิปัสสนา

๓.หลักการเจริญวิปัสสนา

๔.ปฏิจจสมุปปาทจักกเทศนา

๕.วิปัสสนาทีปนีฎีกา

โดยเหตุที่ท่านอาจารย์พระภัททันตะ  อาสภเถระ  ธัมมาจริยะ  ได้บำเพ็ญประโยชน์ไว้ในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก   ทั้งในด้านคันถธุระและด้านวิปัสสนาธุระ   ดังนั้นท่านอาจารย์พระโสภณ   มหาเถระ  อัครมหาบัณฑิต  หรือพระอาจารย์มหาสี  สะยาด่อร์  ซึ่งเป็นพระวิปัสสนาจารย์ของท่าน  จึงได้ประพันธ์บาลีคำฉันท์  เพื่อให้เป็นกำลังใจ  ด้วยมธุรคาถาว่า

อาสโภ  นาม  เถโรยํ                กุสโล  อาสเภ  นเย

วิปสฺสนานยํ  เทนฺโต                วิเวเก  อสฺสเม  รโต

พระภัททันตะ  อาสภเถระนี้  เป็นผู้มีความฉลาด  แตกฉาน

ในแนวปฏิบัติอย่างลึกซึ้ง  กำลังพำนักอยู่ที่สำนักวิปัสสนา

วิเวกอาศรมอย่างผาสุก  และถ่ายทอดแนวปฏิบัติวิปัสสนา

ด้วยความยินดี

นอกจากนี้  มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ในพระบรมราชูปถัมภ์  ซึ่งมีสมเด็จพระพุฒาจารย์เป็นองค์สภานายก  ได้ตระหนักถึงคุณงามความดีที่ท่านทำไว้มากมาย  นับตั้งแต่เดินทางมาสู้ประเทศไทยตราบเท่าปัจจุบัน  เป็นเวลานานนับได้ถึง ๓๓ ปี  จึงมีมติอนุมัติให้มอบถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์แก่ท่าน  ในวันที่ ๙ เดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๐ ซึ่งนับว่าเป็นเกียรติประวัติอย่างสูงในชีวิตของท่าน

การพรรณนาประวัติพระอาจารย์ภัททันตะ  อาสภเถระ  ธัมมาจริยะ  สมควรที่จะยุติลงได้แล้ว  จึงขอยุติลงเพียงเท่านี้.-

 

 

 

 

 

Close